• การจัดการทางเศรษฐกิจจีนในอนาคต เมื่อสหรัฐฯไม่ใช่ศูนย์กลางอุปสงค์โลกอีกต่อไป!

    1 กันยายน 2563 | Economic News
 

ประเทศจีนมีแนวโน้มจะกลายเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลกภายในอีก 2-3 ปี และจีนต้องมีความพร้อมในการเปลี่ยนมาเป็นศูนย์กลางการค้าระดับนานาชาติ

ทั้งนี้ แม้ว่าทั่วโลกจะเผชิญกับวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา และความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน ที่ทำให้รัฐบาลต่างๆมีการเพิ่มนโยบายทางเศรษฐกิจในการเกื้อหนุนเศรษฐกิจภายในประเทศ และนี่เป็นช่วงเวลาภายใต้ “เศรษฐกิจวงจรคู่” (Dual Circulation) ที่เป็นการอ้างถึงสองวงจรของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ แต่จะเป็นการย้ำถึงธุรกิจภายในประเทศมากกว่า โดยเราต้องติดตามการเจรจาของรัฐบาลจีนที่กำลังจะมาถึงว่าจะใช้แนวคิดนี้หรือไม่ในการประชุมแบบพิมพ์เขียวทางเศรษฐกิจสำหรับในอีก 5 ปี (แผนเศรษฐกิจฉบับ 5 ปี ครั้งที่ 14)

ตัวอย่าง: นักเศรษฐศาสตร์จาก ICBC มีการจัดทำชุด Dual Circulation โดย 1 ในรายงานเป็นการบ่งชี้ถึงนัยสำคัญในการดำเนินนโยบายของจีนสำหรับทิศทางเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่ โดยจะเห็นได้จาก 2 ภาพประกอบด้านล่าง

รูปที่ 1 สะท้อนว่าเศษฐกิจนานาชาติให้ความสำคัญไปยังสหรัฐฯที่เป็นศูนย์กลางของอุปสงค์โลก


รูปที่ 2 จะเป็นการแบ่งแยกเป็น 3 ส่วน คือ ยุโรป, อเมริกาเหนือ และเอเชีย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค และจะเห็นได้ว่าจีนดูจะเป็นศูนย์กลางของเอเชียในระบบหมุนเวียนทางเศรษฐกิจรูปแบบนี้

นักวิเคราะห์จาก Hinrich กล่าวว่า นโยบายแบบ Dual Circulation แสดงให้เห็นว่าว่าจีนจะไม่ทำการพึ่งพาการค้าอย่างมากสำหรับช่วง 2 ทศวรรษข้างหน้า เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วง 2 ปีก่อน โดยการแสวงหาการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเชิงลึกกับจีนมีมากขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องจากการเดินยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาดของสหรัฐฯ

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Founder Securities กล่าวย้ำถึงการดำเนินนโยบายที่ยิ่งใหญ่จากตลาดจีนที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลท้องถิ่นเกี่ยวกับการดำเนินการที่ต้องมีการพัฒนาสภาวะในประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเขาคาดว่าจะเห็นนโยบายสนับสนุนเพิ่มขึ้นในกลุ่มการลงทุนต่างประเทศในประเทศจีน รวมทั้งการดำเนินการแบบ E-Commerce

ทั้งนี้ ตลาดจีนมีการเติบโตและมีความท้าทายทางการค้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงบริษัทต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และการปรับเปลี่ยนในรูปแบบกลยุทธ์ “ผลิตในจีน, เพื่อจีน” (in China, for China) ซึ่งจีนดูจะพร้อมสำหรับด้านการลงทุน และมีการผลักดันภาคธุรกิจภายในประเทศแม้จะมีความตึงเครียดทางการเมือง

กระทรวงพาณิชย์ เผย ในเดือนก.ค. จีนมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์แตะ 12.2% เมื่อเทียบรายปี ที่ระดับ 9.05 พันล้านเหรียญ และเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นับตั้งแต่ที่เผชิญกับการระบาดของไวรัสโคโรนาในช่วงต้นเดือนก.พ.

ขณะที่ OECD เผยข้อมูล การลงทุนโดยตรงของต่างประเทศทั่วโลกดูจะปรับตัวลดลงประมาณ 30% จากการระบาดของไวรัสโคโรนา

สำหรับเรื่องการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ จีนมองว่าไม่มีความจำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกหลายเดือนข้างหน้า โดยหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Hang Seng China กล่าวว่า การอุปโภคบริโภคจะไม่เป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในปีนี้หรือปีหน้าอย่างแน่นอน แต่จะขึ้นอยู่กับการลงทุนและการส่งออก ซึ่งการเพิ่มการอุปโภคบริโภค หรือการสนับสนุนการเติบโต จีนจะต้องทำการปฏิรูปเนื้อหาหลักบางอย่างในการกระจายรายได้ และความแตกต่างในการปฏิรูปวิสาหกิจภายในประเทศ

ขณะที่แรงกดดันที่กำลังเพิ่มขึ้นสำหรับจีนก็ดูจะเร่งการเปลี่ยนแปลงในตลาดจีนมากขึ้น

ที่มา: CNBC


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com