· เทคโนโลยีร่วงหนุนดอลลาร์ กังวล Brexit กดดันปอนด์
ค่าเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้นในภาพรายสัปดาห์นับตั้งแต่ช่วงเดือนพ.ค. จากนักลงทุนที่เพิ่มการเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย ทางด้านเงินปอนด์ปิดสัปดาห์ที่แย่ที่สุดตั้งแต่มี.ค. จากกรณี Brexit
สำหรับคืนนี้ตลาดให้ความสำคัญกับข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ที่ดูจะมีการฟื้นตัวและเป็นการสร้างความท้าทายให้แก่เฟดที่มีแนวโน้มจะหนุนการปรับขึ้นของเงินเฟ้อ
ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 106.14 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs กล่าวว่า เม็ดเงินในกองทุนบำนาญไหลออกจากญี่ปุ่นจึงช่วยชดเชยการปรับขึ้นของสินทรัพย์ปลอดภัยและการปรับตัวลงของตลาดหุ้น
หุ้นเอเชียทรงตัวท่ามกลางความผันผวนของตลาดจากการประชุมอีซีบี และการเจรจาระหว่างอียูกับอังกฤษเมื่อคืนนี้เรื่อง Brexit ที่ยังล้มเหลวก็ได้เข้ากดดันเงินปอนด์
ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 1% แตะ 1.1917 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ประธานอีซีบี ไม่คิดจะใช้นโยบายเรื่องตลาดแลกเปลี่ยนค่าเงิน ก่อนจะกลับอ่อนค่าลงมาที่ 1.1830 ดอลลาร์/ยูโร
อียู กล่าวว่าอังกฤษควรยกเลิกแผนการทำลายข้อตกลงสนธิสัญญาการถอนตัว แต่ดูเหมือนอังกฤษจะปฏิเสธและยังมุ่งร่างกฎหมายที่อาจบั่นทอนการเจรจา Brexit มาตลอด 4 ปี แต่อังกฤษได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยระบุว่ากฎหมายดังกล่าวมีขึ้นเพื่อสร้างความชัดเจนในข้อตกลงการแยกตัวออกจากอียู
โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้กล่าวในแถลงการณ์ โดยระบุว่า การละเมิดข้อตกลง Brexit นั้นเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกับการเจรจาของทั้งสองฝ่ายในอนาคต ซึ่งหากอังกฤษยังคงยืนยันที่จะผลักดันกฎหมายดังกล่าว อียูก็พร้อมที่จะดำเนินการทางกฎหมายกับอังกฤษต่อไป
ค่าเงินปอนด์ปรับอ่อนค่าทำต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์บริเวณ 1.2773 ดอลลาร์/ปอนด์ ก่อนจะทรงตัวแถว 1.2812 ดอลลาร์/ปอนด์
· เพโลซีหวังมาตรการ Covid-19 จะผ่านสภาฯได้ก่อนเลือกตั้ง
นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ คาดหวังว่า ร่างกฎหมายเยียวยา Covid-19 เพิ่มเติมอาจแล้วเสร็จได้ก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในวันที่ 3 พ.ย.นี้ หลังจากเมื่อวานนี้วุฒิสภาสหรัฐฯยังไม่เห็นด้วยกับร่างที่ถูกเสนอจากฝั่งรีพับลิกัน
· ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า การไม่อัดฉีดเงินด้านเทคโนโลยีสหรัฐฯถือเป็นจุดอ่อนในการแข่งขันกับจีน
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและความมั่นคงทางไซเบอร์ กล่าวว่า สหรัฐฯไม่มีความตั้งใจจะอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมากถือเป็นจุดอ่อนอย่างมากสำหรับการแข่งขันด้านเทคโนโลยีกับจีน
จากข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการสื่อสารของบริษัทด้านการสื่อสารรายใหญ่ของจีนอย่าง หัวเว่ย และคำสั่งห้ามทำธุรกรรมและการบังคับขาย TikTok ของบริษัท ByteDance ให้แก่สหรัฐฯ ดูจะเป็นปัจจัยกดดันเทคโนโลยีจีนในปีที่ผ่านมา
และในเดือนก.ย. นี้ กระทรวงความมั่นคงแห่งสหรัฐฯดูจะหารือเรื่องการออกมาตรการคุมเข้มด้านการส่งออกกับบริษัท Semiconductor Manufacturing International Corporation ซึ่งเป็นบริษัทการผลิตชิปรายใหญ่
รองประธานและผู้จัดการด้านนโยบายเทคโนโลยี CSIS กล่าวว่า ข้อเสียเปรียบที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯในเรื่องการแข่งขันด้านเทคโนโลยี คือการที่สหรัฐฯไม่ตั้งใจอัดฉีดเม็ดเงินในด้านดังกล่าว
· เศรษฐกิจอังกฤษโตได้ 6.6% ในเดือนก.ค. ค่อยๆฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากเดิมที่ระดับ 8.7% ในเดือนมิ.ย. และ -2.4% ในเดือนพ.ค. ขณะที่เดือนเม.ย. หดตัวมากสุดครั้งประวัติการณ์ -20% สำหรับภาพรวมรายปีพบจีดีพีอังกฤษ -11.7%
· อลัน กรีนสแปน ชี้ปัญหาเงินเฟ้อ-ขาดดุลงบประมาณเป็นเรื่องกังวลอย่างมาก
นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานเฟด กล่าวว่า สิ่งที่เขากังวลมากที่สุดทางเศรษฐกิจคือเรื่องเงินเฟ้อของสหรัฐฯและการขาดดุลงบประมาณ ซึ่งโดยภาพรวมเขามีมุมมองต่อเงินเฟ้อเชิงลบ ที่โดยพื้นฐานเป็นผลจากการระดมเม็ดเงินลงทุนในภาคเอกชน และประสิทธิผลด้านการขยายตัว
อย่างไรก็ดี นี่ถือเป็นครั้งแรกในการให้สัมภาษณ์ของอดีตประธานเฟดนับตั้งแต่ที่เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาในเดือนมี.ค.
· จีนขยายการแบนส่งออก สร้างความท้าทายแก่ภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีรอบใหม่
ผู้เชี่ยวชาย เผย การเพิ่มการแบนภาคการส่งออกเทคโนโลยีล่าสุดของจีนดูจะเริ่มความท้าทายครั้งใหม่ต่อบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ๆของโลกในการแยกระบบการจัดการออกจากจีน
ทั้งนี้ รายชื่อเทคโนโลยีใหม่ถูกประกาศไปเมื่อ 28 ส.ค. ดูจะยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนและความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยการเคลื่อนไหวล่าสุดจะกระทบกับการขายแอพลิเคชันวิดีโอ TikTok ของจีน
· จีนและอินเดียเห็นพ้องกันในการยุติความตึงเครียดบริเวณพรมแดน
จีนและอินเดีย กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันในการลดความตึงเครียดครั้งใหม่บริเวณเทือกเขาหิมาลัย และจะดำเนินการฟื้นฟูสันติภาพและความสงบตามการเจรจาทางการทูตระดับสูงของทั้งสองประเทศที่เกิดขึ้นในประเทศรัสเซีย
· รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นตั้งเป้าบรรลุข้อตกลงการค้ากับอังกฤษในวันนี้
นายโทชิมิทสึ โมเตกิ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น กล่าวถึงแผนการเจรจากับรัฐมนตรีด้านการค้าของอังกฤษในวันนี้ที่จะเริ่มหารือกันถึงข้อตกลงการค้าหลัง Post-Brexit และหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้
· เกาหลีใต้คาดยอดติดเชื้อ Covid-19 จะเพิ่มขึ้น จากการระบาดที่ยังดำเนินอยู่
เกาหลีใต้พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาใหม่รายวันเพิ่ม ท่ามกลางการระบาดตั้งแต่โบถส์และทางการเมือง จากการประท้วงที่ดาวน์ทาวน์ของกรุงโซลในเดือนที่แล้ว จึงจุดประกาย Second Wave อีกครั้ง โดยศูนย์ควบคุมการระบาดและโรคติดต่อของเกาหลี (KCDC) ระบุว่า มียอดติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 176 วันเมื่อวานนี้ ทำให้ยอดรวมสะสมอยู่ที่ 21,919 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 350 ราย
· น้ำมันปรับตัวลงต่อจากกลุ่มสต็อกน้ำมันดิบพุ่ง ท่ามกลางอุปสงค์อ่อนแอ
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นวัันที่ 2 ท่ามกลางแรงกดดันจากข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบที่ปรับขึ้นเกินคาด ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างต่อเนื่องที่กดดันอุปสงค์
น้ำมันดิบ Brent ปรับลง 18 เซนต์ หรือ -0.5% ที่ 39.88 เหรียญ/บาร์เรล หลังดิ่งลงกว่า 2% วานนี้ ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปรับลง 14 เซนต์ หรือ -0.4% ที่ 37.16 เหรียญ/บาร์เรล
น้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิดในสัปดาห์นี้ปรับลงมาประมาณ 6.5% และถือเป็นการปรับลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 จากความหวังเกี่ยวกับการฟื้นตัวที่ลดลงท่ามกลางสัญญาณการระบาดแบบ Second Wave
ข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบสหัฐฯเพิ่มขึ้นเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว หลังภาคการผลิตเข้าสู่ภาวะ Shutdown ในช่วงพายุพัดเข้าสู่ชายฝั่งเม็กซิโกและลามไปเป็นวงกว้างในภูมิภาค