· ดอลลาร์อ่อนค่า จากสินทรัพย์เสี่ยงฟื้น หยวนแข็ง
ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลสินทรัพย์เสี่ยง โดยตลาดคาดหวังต่อวัคซีน Covid-19 และข้อตกลงของบริษัทรายใหญ่ๆ ด้านหยวนทำระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 16 เดือน ขณะที่ออสเตรเลียดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากธนาคารกลางออสเตรียที่ยุติการส่งสัญญาณการปรับลดอกเบี้ย
ดัชนีดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงมาที่ 92.91 จุด หลังแข็งค่ามากสุดรอบ 1 เดือนที่ระดับ 93.664 จุด ด้านยูโรแข็งค่าขึ้น 0.2% ที่ 1.1889 ดอลลาร์/ยูโร โดยปรับแข็งค่าขึ้นได้ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 ขณะที่แนวต้านของยูโรคือระดับสูงสุดที่ทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้วที่ 1.1917 ดอลลาร์/ยูโร
ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 105.66 เยน/ดอลลาร์ ใกล้กับระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ทำไว้วานนี้บริเวณ 105.55 เยน/ดอลลาร์
สำหรับเงินหยวนได้รับอานิสงส์จากข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่ออกมาดีขึ้น นำโดยข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนที่ออกมาดีขึ้นมากที่สุดในรอบ 8 เดือนในเดือนส.ค. ขณะที่ยอดค้าปลีกโตขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ที่ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากวิกฤตไวรัสโคโรนา
นักกลยุทธ์อาวุโสจาก Nomura Securities กล่าวว่า เรามีหลักฐานเกี่ยวกับการส่งออกที่แข็งแกร่งจากจีน ขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีแนวโน้มจะใช้จ่ายทั่วโลกกว่า 2.6 แสนล้านเหรียญในช่วงปกติก็ดูจะไม่สามารถเดินทางได้ในปีนี้ ซึ่งประเด็นหลังอาจกดดันให้เกิดแรงขายในค่าเงินหยวนได้ ขณะที่ผู้กำหนนโยบายทางการเงินของจีนดูจะไม่พยายามควบคุมการแข็งค่าของเงินหยวนเมื่อช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินหยวนดูจะช่วยหนุนดัชนี MSCI ของตลาดเกิดใหม่ให้ปรับขึ้นทำสูงสุดรอบ 6 เดือน
ค่าเงินปอนด์ดีดกลับมาแถว 1.2855 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังจากที่อ่อนค่าไป 3.66% ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่การที่รัฐบาลอังกฤษคว้าชัยในการโหวตเสียงข้างมากของวุฒิสภาอังกฤษที่สร้างความไม่แน่นอนให้กับข้อตกลง Brexit กับทางอียูเพิ่มมากขึ้น
· FXStreet | วิเคราะห์ค่าเงินยูโรมีโอกาสทดสอบ 1.1900 ดอลลาร์/ยูโร จากดอลลาร์อ่อนค่า ก่อนทราบข้อมูล ZEW
นักวิเคราะห์จาก FXStreet กล่าวว่า ยูโรได้รับอานิสงส์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์ จากข้อมูลเชิงบวกทางเศรษฐกิจนำโดยจีน โดยดัชนีผลสำรวจภาคธุรกิจเยอรมนีของ ZEW และข้อมูลภาคแรงงานของยูโรโซนในวันนี้มีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินยูโร
ในทางเทคนิคค่าเงินยูโรมีโอกาสไปแตะ 1.1900 ดอลลาร์/ยูโร โดยคาดจะมีแนวต้านแนว 1.1935 - 1.1940 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งระยะสั้นๆหากผ่านไปได้ก็มีโอกาสไปแตะ 1.2000 ดอลลาร์/ยูโร และถ้าผ่านไปได้อีกก็มีโอกาสไปที่ 1.2100 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนที่จะขึ้นไปแนว 1.2190 - 1.2200 ดอลลาร์/ยูโร
ในทางกลับกันหากยูโรต่ำกว่า 1.1850 ดอลลาร์/ยูโร ก็มีโอกาสที่จะเป็นขาลง และมีโอกาสลงแตะ 1.1800 ดอลลาร์/ยูโร รวมทั้งอาจกลับมาที่ 1.1750 ดอลลาร์/ยูโรที่ถือเป็นแนวรับสำคัญ และหากหลุดลงมาอาจยิ่งกระตุ้นให้เกิดสภาวะหมีมากขึ้น จึงมีโอกาสเห็นยูโรกลับลงทดสอบต่ำสุดของเดือนส.ค. บริเวณ 1.1700 และ 1.1695 ดอลลาร์/ยูโร
· อัตราว่างงานอังกฤษเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่มีมาตรการ Lockdown จากไวรัสโคโรนา
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า อัตราการว่างงานของอังกฤษปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา
โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 4.1% ในช่วงไตรมาสที่ 3 จาก 3.9% ในช่วงไตรมาสที่ 2 ก่อนหน้านี้
ซึ่งสอดคล้าองกับผลสำรวจจากนักเศรษฐศาสตร์สำนักข่าว Reuters ที่คาดว่า จะเพิ่มขึ้น 4.1%
· อดีตรัฐมนตรีจีน ชี้ การแยกตัวของสหรัฐฯ-จีนแทบจะไม่มีความเป็นไปได้
นายเฉิน ลี่หมิง อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จีน มองว่า ความคืบหน้าในการแยกตัวทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯและจีนที่เริ่มต้นในช่วงก่อนการเริ่มต้นการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่ความสำเร็จในการแยกออกจากกันนั้นดูแทบจะไม่ทางเกิดขึ้นได้
เนื่องด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและจีนได้ถูกทำลายลงไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ข่มขู่จะแบ่งแยกเศรษฐกิจสองประเทศจากกัน แต่ภาคบริษัทต่างๆตั้งแต่สหรัฐฯและประเทศอื่นๆ สะท้อนถึงการก้าวออกจากจีนนั้นเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น และในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการเพิ่มการลงทุนต่างประเทศโดยตรงเข้าสู่จีนตลอดปีนี้
รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ประสานงานด้านโยบายทางสังคมอาวุโสของสิงคโปร์ กล่าวคล้ายกันว่า ค่อนข้างยากที่จะคาดคิดถึงธุรกิจโลกที่ได้รับการคุกคามจากประเทศจีน โดยที่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนที่อาจเลวร้ายมากขึ้น แต่ก็น่าจะไม่เพียงพอที่ทำให้ประเทศอื่นๆเดินหน้าหาวิธีทำการค้าแบบ Win-Win ท่ามกลางการเชื่อมโยงกันเป็นระบบทางการค้า และมีความใกล้ชิดทั้งสหรัฐฯและจีน ดังนั้น หากเราเผชิญกับภาวะที่ย่ำแย่ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนที่ทุกอย่างจะค่อยๆดีขึ้นนั่นเอง
· จีนคาด การเดินทาง-รายได้ท่องเที่ยวในประเทศปีนี้ร่วงหนักจากไวรัสโคโรนา
สถาบันการท่องเที่ยวของจีน (CTA) เปิดเผยรายงานคาดการณ์ว่า ชาวจีนจะเดินทางภายในประเทศมากกว่า 3.4 พันล้านเที่ยวในปีนี้ ลดลง 43% เมื่อเทียบปีต่อปี
ขณะเดียวกันคาดว่า ปีนี้จีนจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศราว 2.76 ล้านล้านหยวน ซึ่งลดลง 52% จากปีก่อน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
นอกจากนี้ โรงแรมและจุดชมวิวต่างๆ ของจีน กลับมาเดินหน้าธุรกิจแล้วกว่า 90%
ทั้งนี้ รายงานระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ จีนมีการเดินทางภายในประเทศราว 1.17 พันล้านครั้ง มีรายได้จากการท่องเที่ยว 6.4 แสนล้านหยวน ซึ่งลดลง 62% และ 77% ตามลำดับ เมื่อเทียบเป็นรายปี
· ADB เผย จีดีพีในประเทศกำลังพัฒนาเอเชียหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ระบุว่า ประเทศกำลังพัฒนาในแถบเอเชีย อันประกอบไปด้วย จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ที่จะหดตัวลงเป็นปีแรกในรอบกว่า 6 ทศวรรษ อันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก
รายงานแนวโน้มฉบับล่าสุดของ ADB ระบุว่า เศรษฐกิจประเทศกำลังวพัฒนาในเอเชียจะโตได้ -0.7% ปีนี้ และมีแนวโน้มจะรีบาวน์ในปี 2021 บริเวณ 6.8% ทางด้านเศรษบกิจอินเดียคาดจะโตได้ 8% ในปีหน้า
ฝั่งเอเชียตะวันออกเสียงใต้ถูกคาดการณ์ว่าจะโตได้ 1% ในปีนี้ แต่ก็คาดว่าไทยจะหดตัว -3.8% ด้านฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ คาดจะหดตัวลงไปมากกว่า -6% โดยที่ประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มีรายงานว่ายอดผู้ติดเชื้อกำลังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
จีน ซึ่งเป็นแหล่งการระบาดที่แรกนับตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว คาดว่าจะโตได้ 1.8% ปีนี้ โดยเป็นการเติบโตที่ลดลงจากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 2.3%
อินเดียถูกคาดว่าจะโตได้ -9% ในปีนี้ ซึ่งเป็นการปรับทบทวนดิ่งลงจากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ -4% หลังจากที่ช่วงไตรมาสที่ 2/2020 เศรษบกิจอินดียหดตัวลงไปมากถึง -23.9%
· น้ำมันปรับลง จากแนวโน้มความต้องการเชื้อเพลิงที่ลดลงกดดันตลาด
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวอย่างช้าๆของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลก ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 4 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.1% ที่ระดับ 39.57 เหรียญ/บารืเรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 2 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.1% ที่ระดับ 37.24 เหรียญ/บาร์เรล