· หุ้นร่วง หลังเฟดไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ที่หนุนตลาด
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลง และค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น หลังจากที่เฟดให้คำมั่นว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน แต่ก็หยุดการเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อหนุนเศรษฐกิจสหรัฐที่ย่ำแย่
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ร่วงลง 1.01%
· หุ้นญี่ปุ่นร่วงลง หลังมุมมองดอกเบี้ยของเฟดหนุนค่าเงินเยน
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง โดยถูกกดดันจากหุ้นกลุ่มส่งออก หลังจากที่เฟดดอกเบี้ยไว้ใกล้ระดับ 0% ไปจนถึงปี 2023 ส่งผลให้ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าทำระดับสูงสดในรอบ 7 สัปดาห์เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์
โดยเฟดประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายใกล้ระดับ 0% ต่อเนื่องถึงปี 2022 จนกว่าเงินเฟ้อจะกลับสู่กรอบเป้าหมาย 2% เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ ส่งผลให้ค่าเงินเยนแข็งค่าไปที่บริเวณ 104.80 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา
ขณะที่การแข็งค่าของค่าเงินเยนส่งผลกระทบต่อภาคยานยนต์ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ Honda Motor ลดลง 1.5% Isuzu Motors Ltd ลดลง 5.09% และ Nissan Motor Co ลดลง 2.37%
สำหรับการประชุมบีโอเจ มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ โดยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจช่วงเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา และมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ติดลบร้อยละ 0.1
เหล่าเทรดเดอร์ ให้ความสนใจไปยังงานแถลงข่าวของนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ ซึ่งเขามีแนวโน้มที่จะเน้นย้ำถึงความเต็มใจที่จะร่วมมือกับนายโยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีคนใหม่
ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei ลดลง 0.67% ที่ระดับ 23,319.37 จุด ด้านดัชนี Topix ลดลง 0.36% ที่ระดับ 1,638.40 จุด
· หุ้นจีนปรับลง เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นกดดันหุ้นฟาร์มหมู
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลง นำโดยหุ้นกลุ่มสุขภาพและผู้บริโภค ท่ามกลางแรงกดดันจากแรงเทขายหลังจากมีการเปิดตัวรายชื่อใหม่
ขณะที่ความอ่อนแอของบริษัทที่ทำฟาร์มหมูฉุดให้หุ้นเกษตรลดลง
โดยดัชนี Shanghai Composite ลดลง 0.41% ที่ระดับ 3,270.44 ขณะที่ดัชนีกลุ่มบลูชิพ CSI300 ลดลง 0.53% ที่ระดับ 4,632.71 จุด
ด้านหุ้นกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านการดูแลสุขภาพและผู้บริโภคลดลง โดยกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคร่วงลง 2.38% และดัชนีย่อยด้านการดูแลสุขภาพลดลง 2.12%
หุ้นในบริษัทฟาร์มหมูรายใหญ่ของจีนก็ลดลงด้วยความกังวลเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหลังจากราคาข้าวโพดพุ่งสูงขึ้น ดัชนีย่อยทางการเกษตรลดลง 1.5%
· หุ้นยุโรปปรับลง ท่ามกลางตลาดที่ตอบรับกับผลการประชุมเฟด
ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง เนื่องจากเหล่านักลงทุนทั่วโลกตอบสนองต่อการประชุมเฟดครั้งล่าสุด
โดยดัชนี Stoxx600 ร่วงลง 1.2% ด้านหุ้นทรัพยากรและหุ้นเทคโนโลยีร่วงลง 2% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
· บสย.ประเมินหนี้เสียเอสเอ็มอี อาจพุ่ง10%หรือ 2 แสนล้านบาท หลังพ้นระยะพักหนี้ ในสิ้นก.ย.นี้ แนะใช้แนวทางฟื้นฟูตามกฎหมายล้มละลาย ฉบับที่ 9เพื่อให้ลูกหนี้มีระยะเวลาในการฟื้นฟูและชำระหนี้ในอีก 3 ปีข้างหน้า
· "สำนักงบประมาณ" ผวาความไม่แน่นอนทางการเมืองรุนแรงหนักถึงขั้นยุบสภา หวั่นกระทบงบประมาณปี 2564 สะดุด ก่อนร่อนหนังสือเปิดทาง ส่วนราชการใช้กรอบงบประมาณปี 2563 ไปพลางก่อน
· นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า การเลือกตั้งสหรัฐ วันที่ 3พฤศจิกายนนี้ ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ (Key Event) ที่นักลงทุนต้องติดตาม นอกเหนือจะเป็นวันชี้ชะตาว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ จะสามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อได้อีกวาระหรือไม่ ยังเป็นวันที่จะเกิดความชัดเจนในนโยบายสำคัญหลายด้านของสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การค้า นโยบายต่างประเทศ ที่ล้วนส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประเทศต่างๆ ทั่โลก ซึ่งแนวทางการดำเนินนโยบายของทั้งนายโดนัลด์ ทรัมป์ และนายโจ ไบเดน น่าจะเป็นไปใทิศทางเดียวกัน คือพลิกฟื้นเศรษฐกิจ และมุ่งการกลับมายิ่งใหญ่ของประเทศสหรัฐภายใต้รายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกัน
· ดัชนีเชื่อมั่นหอการค้าฯส.ค.ฟื้นทุกภูมิภาค หลังโควิดคลี่คลาย-คนเริ่มใช้จ่าย
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC CONFIDENCE INDEX) หรือ TCC-CI ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นจากภาคธุรกิจ และหอการค้าทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวม 364 ตัวอย่าง ในเดือนส.ค.63 พบว่า อยู่ที่ระดับ 32.6 เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค.63 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 31.8 โดยปัจจัยบวกสำคัญที่มีผลกระทบสำคัญต่อดัชนีฯ ในเดือนส.ค.นี้ คือ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% ต่อปี, รัฐบาลมีมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 5 เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ ที่ปิดไปชั่วคราวได้กลับมาเปิดกิจการได้ และประชาชนสามารถออกมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ, ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศปรับตัวลดลง 30 สตางค์/ลิตร
ส่วนปัจจัยลบ ได้แก่
1. สภาพัฒน์เผย GDP ไตรมาส 2/63 หดตัว -12.2% จากผลของการส่งออกและการบริการที่ลดลง รวมทั้งการบริโภค การลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวลดลงเช่นกันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 2. ความกังวลต่อการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไปจากเดิม
2. ความกังวลต่อสถานการณ์การเมือง และการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มเยาวชน ที่อาจส่งผลให้ประเทศไทยต้องเผชิญปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเหมือนในอดีต
3. รัฐบาลขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อบริหารจัดการและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 5. การส่งออกของไทยในเดือนก.ค.63 ลดลง -11.37% ที่มูลค่า 18,819 ล้านดอลลาร์ 6. เงินบาทปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อยจากระดับ 31.41 บาท/ดอลลาร์ในสิ้นเดือนก.ค.63 มาอยู่ที่ 31.21 บาท/ดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนส.ค.63