ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.32% ที่ 93.493 จุด ขณะที่ยูโรทรงตัวที่ 1.1763 ดอลลาร์/ยูโร
ค่าเงินปอนด์ทรงตัวที่ 1.2932 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังจากที่อ่อนค่าไปกว่า 3.5% เมื่อเทียบกับดอลลาร์และเยนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นมาที่บริเวณ 0.6773% ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับขึ้นมาที่ 1.4343%
· ไบเดน เตือน อังกฤษในกรณี Brexit ว่า No-Deal จะเกิดขึ้นได้เว้นแต่ว่าคุณจะเคารพข้อตกลงสันติภาพไอร์แลนด์เหนือ
นายโจ ไบเดน ตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯจากพรรคเดโมแครต กล่าวเตือนอังกฤษว่า ควรให้เกียรติข้อตกลงสันติภาพไอร์แลนด์เหนือ ท่ามกลางการแยกตัวออกจากอียู หรือการไม่มีข้อตกลงการค้ากับทางสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯไม่สามารถยอมให้ข้อตกลง Good Friday Agreement ถูกหยิบยกมาใช้ต่อรองเรื่อง Brexit
ขณะที่ข้อตกลงการค้าใดๆระหว่างสหรัฐฯและอังกฤษจะต้องขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนและการเคารพในข้อตกลงดังกล่าว รวมทั้งการจัดการกับปัญหาเรื่องพรมแดน
อย่างไรก็ดี นายบอริส จอห์นสัน นายกฯอังกฤษ เปิดเผยว่าร่างกฎหมายของเขาอาจส่งผลกระทบต่อข้อตกลงสนธิสัญญาการถอนตัวจากอียู พร้อมกล่าวหาว่าอียูตั้งกำแพงในการเจรจาการค้ากับทางอังกฤษ
· Goldman Sachs เล็งเงินหยวนมีโอกาสแข็งค่าไปแตะ 6.5 หยวน/ดอลลาร์ภายใน 1 ปี
หัวหน้านักกลยุทธ์และที่ปรึกษาด้าน Asia Macro Research จาก Goldman Sachs คาดว่าค่าเงินหยวนมีโอกาสจะปรับแข็งค่าไปแตะ 6.5 หยวน/ดอลลาร์ได้ในอีก 12 เดือน โดยเงินหยวนมีโอกาสเคลื่อนไหวในกรอบ 6.5 - 6.7 หยวน/ดอลลาร์ และเงินหยวนจะถือเป็นหนึ่งในค่าเงินในเอเชียที่มีแนวโน้มแข็งค่ามากที่สุด
· ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงดำเนินนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง และเสนอมุมมองเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเล็กน้อยกว่าในเดือนก.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่าไม่จำเป็นต้องขยายนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจในทันทีเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
พร้อมทั้งกล่าวเตือนถึงความเสี่ยงต่างๆต่อแนวโน้มและความพร้อมย้ำอีกครั้งที่จะเพิ่มการสนับสนุนทางการเงิน“ โดยไม่ลังเลใจ” หากการระบาดของไวรัสดังกล่าวจะทำให้การฟื้นตัวของญี่ปุ่นเสียหาย
· IFC จาก World Bank เตือนเอเชียแปซิฟิกเสี่ยงเผชิญวิกฤตทางการเงิน
รองประธานจาก International Finance Corp (IFC) ในเครือ World Bank ชี้ว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความเสี่ยงจะได้รับความเสียหายจากวิกฤตทางการเงิน อันเนื่องจากหนี้ Non-Performing Loans ที่เพิ่มขึ้นจากสภาวะล้มละลายที่มากขึ้น โดยคาดอาจเห็นสภาวะดังกล่าวเพิ่มสูงถึง 30% จากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหม่ที่มีสาเหตุจากวิกฤตไวรัสโคโรนา
ขณะที่หลายๆบริษัทมีการเลื่อนการชำระการจ่ายหนี้ออกไป และหลายๆธนาคารกลางต่างก็ไม่ต้องการให้สถาบันทางการเงินตรวจสอบภาวะล้มละลายของบริษัทเหล่านี้เป็นประจำ และภาวะทั้งหมดนี้ถือว่าค่อนข้างอันตราย
· OPEC+ จัดประชุมท่ามกลางราคาน้ำมันดิ่ง
กลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตรนำโดยรัสเซีย มีกำหนดการประชุมออนไลน์ในวันนี้ ประมาณ 19.00น. ตามเวลาไทย ภายใต้การประชุม Joint Ministerial Monitoring Committee (JMMC) ที่จะหารือกันถึงเรื่องข้อตกลงการผลิตน้ำมัน และแนวโน้มอุปสงค์ ท่ามกลางการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน และแนวโน้มความอ่อนแอในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
โดยในการประชุมครั้งนี้ถูกคาดว่าจะยังคงข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตเดิมเอาไว้ที่เป้าหมาย 7.7 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็นประมาณ 8% ของอุปสงค์โลก
นอกจากนี้ มีแนวโน้มที่จะเห็นอิรัก, ไนจิเรีย และสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่อาจปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยกับภาวะการผลิตล้นตลาด
· น้ำมันลดลง จากความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ที่เกิดขึ้นอีกครั้ง ขณะที่ผู้ผลิตในอ่าวเม็กซิโกเตรียมที่จะกลับมาผลิต
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลง หลังจากที่เพิ่มขึ้นได้ในช่วงก่อนหน้านี้ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความต้องการเชื้อเพลิงที่อ่อนแอเกิดขึ้นอีกครั้งและผู้ผลิตในอ่าวเม็กซิโกเตรียมที่จะกลับมาผลิตอีกครั้งหลังจากพายุเฮอริเคนแซลลี
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 67 เซนต์ หรือคิดเป็น 1.6% ที่ระดับ 41.55 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 70 เซนต์ หรือคิดเป็น 1.7% ที่ระดับ 39.46 เหรียญ/บาร์เรล