• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 24 กันยายน 2563

    24 กันยายน 2563 | Gold News

ทองแตะต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ จากดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง


· ราคาทองคำปรับตัวลงทำต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ ท่ามกลางการแข็งค่าของดอลลาร์ที่วิตกกังวลต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนยอดผู้ติดเชื้อของไวรัสโคโรนาในยุโรป และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับท่าทีผ่อนคลายทางการเงินของเฟด

นอกจากนี้ การปรับตัวลดลงต่อเนื่องของตลาดหุ้นก็ดูจะทำให้ทองคำเผชิญแรงขายตามมาจากการที่นักลงทุนต้องการเงินเพื่อทำการ Cover Margin


· ราคาทองคำตลาดโลกเมื่อคืนนี้ทำต่ำสุดนับตั้งแต่ 12 ส.ค. ที่ระดับ 1,873.7 เหรียญ ก่อนที่เช้านี้จะทำ Low ใหม่บริเวณ 1,853 เหรียญ และมีการเคลื่อนไหวแถว 1,860 เหรียญในเช้านี้


· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปรับตัวลดลงกว่า 2% โดยปิดปรับตัวลดลงกว่า 39.2 เหรียญ ที่ระดับ 1,868.4 เหรียญ ท่ามกลางดัชนีดอลลาร์ที่ขึ้นไปทำสูงสุดในรอบกว่า 8 สัปดาห์

· กองทุนทองคำ SPDR เทขายทองคำออก 11.09 ตัน ปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,267.14 ตัน


· นักเศรษฐศาสตร์จาก OCBC Bank กล่าวว่า แม้ตลาดจะเผชิญกับสภาวะ Risk-Off แต่การที่ดอลลาร์แข็งค่าอย่างต่อเนื่องก็ดูจะเข้ากดดันต่อราคาทองคำในระยะสั้นๆ โดยที่ดอลลาร์ตอบกับกับถ้อยแถลงของประธานเฟดสาขาชิคาโก เกี่ยวกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการชะลอตัวหากสภาคองเกรสล้มเหลวในการเพิ่มแพ็คเกจกระตุ้น ประกอบกับถ้อยแถลงของเขาดูจะมีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการขึ้นดอกเบี้ยก่อนที่เงินเฟ้อจะเริ่มถึงค่าเฉลี่ยที่ 2%


ขณะเดียวกัน บรรดาสมาชิกสภาคองเกรงก็ดูจะเปิดกว้างต่อการช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา แต่ดูจะเป็นไปอย่างไม่เร่งรีบนั


· FXStreet คาดทองคำระยะสั้นมีโอกาสชะลอการปรับลง หากดอลลาร์มีแรงขายทำกำไร

นักวิเคราะห์จาก FXStreet กล่าวว่า ทองคำมีโอกาสปรับตัวลดลงต่อ แต่ก็มีโอกาสจะเห็นทองคำกลับขึ้นได้จากการเผชิญแรงเทขายทำกำไรในดอลลาร์หลังจากที่ทำสูงสุดในรอบหลายวันมานี้ ขณะที่ภาพรายเดือนของทองคำจะเห็นได้ว่าน่าจะยังไม่สามารถกลับไปหาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เคยทำได้

สำหรับภาพรายสัปดาห์จะเห็นได้ว่าทองคำมีโอกาสเป็นขาลงต่อ


· ราคาซิลเวอร์ปิด -4.5% แถว 23.31 เหรียญ และระหว่างวันไปทำต่ำสุดในรอบเกือบ 2 เดือนบริเวณ 23.04 เหรียญเมื่อคืนนี้

· ราคาแพลทินัมปิด -1.1% ที่ 857.17 เหรียญ ขณะที่ราคาพลาเดียมก็ปิด -1.1% ที่ระดับ 2,196.69 เหรียญ


· CORONAVIRUS UPDATES:

ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทะลุ 32 ล้านราย ล่าสุดอยู่ที่ 32.08 ล้านราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตสะสมเพิ่มขึ้นมาที่ 981,219 ราย

สำหรับสหรัฐฯยังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสูงกว่า 30,000 ราย ที่ระดับ 7.13 ล้านราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตแตะ 206,560 ราย

กังวล SECOND WAVE ในยุโรป

ในส่วนของฝั่งยุโรปที่กำลังเป็นที่น่ากังวล โดยเฉพาะในฝรั่งเศสที่ยอดผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นมาทะลุ 10,000 ราย โดยเมื่อวานนี้พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 13,072 ราย แตะ 693,000 ราย ด้านสเปนพบยอติดเชื้อรายวันที่ 11,289 ราย รวมสะสมที่ 693,000 ราย


· เยอรมนีประกาศเพิ่มรายชื่อ 11 ประเทศในยุโรปที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับไวรัสโคโรนา


· ไอเอ็มเอฟ เตือนว่าวิกฤตไวรัสโคโรนาจะกดดันเศรษฐกิจบางประเทศเป็นเวลาหลายปี และอาจใช้เวลานานกว่าที่คาดในการจะเห็นเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้

ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟ มีการเตรียมเม็ดเงิน 9 หมื่นล้านเหรียญ แก่ 79 ประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤตทางด้านสุขภาพ


· “โพเวลล์” ย้ำ เฟดและคองเกรสจำเป็นต้องร่วมมือกันหนุนการเติบทางเศรษฐกิจ

เมื่อคืนนี้ นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด กล่าวถ้อยแถลงต่อคณะกรรมาธิการกลั่นกรองของสภาผู้แทนราษฎร ว่า หากสภาคองเกรสและเฟดร่วมมือกันสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้มีการเติบโตได้เร็วขึ้น แม้ว่าจะมีความคืบหน้ามากขึ้นของข้อมูลเศรษฐกิจที่รีบาวน์ แต่ก็ดูจะต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่การจ้างงานจะกลับมาเติบโตได้เทียบเท่ากับช่วงก่อนเกิดการระบาดในเดือนก.พ.


· รองประธานด้านการกำกับดูแลของเฟดชี้เศรษฐกิจจะใช้เวลานานในการฟื้นตัว และเขาจะอดทนรอต่อข้อมูลเงินเฟ้

นายแรนดอล ควอเลส หนึ่งในสมาชิกบอร์ดบริหารของเฟดและเป็นรองประธานด้านการกำกับดูแลของเฟด กล่าวว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯจะยังต้องใช้เวลา และต้องได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งภาพรวมยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเป็นขาลง ดังนั้น เศรษฐกิจจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการกระตุ้นเพิ่มเติม

อย่างไรก็ดี เขาเองเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนให้เฟดคงดอกเบี้ยในระดับจนกว่าการจ้างงานจะบรรุลเป้าหมาย และเงินเฟ้อปรับขึ้นแตะ 2%


· ประธานเฟดสาขาบอสตัน ชี้ สหรัฐฯอาจเผชิญวิกฤตสินเชื่อในช่วงสิ้นปี หากสถานการณ์ไวรัสยังคงย่ำแย่

นายอีริค โรเซ็นเกร็น ประธานเฟดสาขาบอสตัน กล่าวว่า เศษฐกิจสหรัฐฯอาจเผชิญกับภาวการณ์ยึดทรัพย์สินที่จำนองไว้ และการล้มละลายของภาคธุรกิจในช่วงสิ้นปีนี้ หากการระบาดยังคงเพิ่มขึ้น และไม่มีการช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติม และอาจก่อให้เกิดความยากขึ้นต่อการให้กลุ่มผู้บริโภคและภาคธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อ


· ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก กล่าวว่า เงินเฟ้อจะเป็นตัวบ่งบอกถึงภาวการณ์จ้างงานเต็มรูปแบบ


· นักบริหารเงิน คาดวันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.45-31.70 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาททรงตัวแถวระดับ 31.50 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับ อ่อนค่าสุดในรอบเกือบหนึ่งเดือนภายหลังการลงมติ นับตั้งแต่ต้นปี ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงราว 5% ซึ่งเป็นผลจากภาวะเงินทุนไหลออก และยอด เกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลง โดยทางกนง. กล่าวย้ำว่าจะติดตามสถานการณ์ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน อย่างใกล้ชิด และประเมินความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเนื่องจากมองว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้

สำหรับการปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยครั้งล่าสุดของกนง. แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวยาวนาน และคาดว่าจะ ยังไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอีกหลายไตรมาสข้างหน้า


· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ที่ประชุมกนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 63 มีแนวโน้มหดตัวน้อยลงจากประมาณการเดิมเล็กน้อย ส่วนในปี 2564 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงกว่าประมาณการเดิม ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้าเป็นสำคั

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 63 มีแนวโน้มหดตัวน้อยลงจากประมาณการเดิมเล็กน้อย แต่ในปี 64 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงกว่าประมาณการเดิมตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้าเป็นสำคัญ โดยยังต้องระวังความเสี่ยง จากโอกาสเกิดการระบาดของไวรัสโควิดระลอกสอง สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 63 มีแนวโน้มติดลบน้อยกว่าที่ประเมินไว้ และมีแนวโน้มทะยอยเพิ่มขึ้นในช่วงปี 64 เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิ

- สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การส่งออกในเดือนส.ค.เริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากจุดต่ำสุดในเดือนมิ.ย.63 และเริ่มชะลอตัวในอัตราที่ลดลง โดยมูลค่าการส่งออกกลับมาแตะระดับ 2 หมื่นล้านเหรียญ ในรอบ 5 เดือน และเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2

- ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงกรณีมีข่าวสถาบันการเงินของไทย 4 แห่ง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมการโอนเงินที่น่าสงสัย โดยใช้ข้อมูลจากรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่รั่วไหลจากหน่วยงานเครือข่ายปราบปรามอาชญากรรมทางการเงินแห่งสหรัฐอเมริกา (US Financial Crimes Enforcement Network หรือ

FinCEN) นั้นว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่สถาบันการเงินภายใต้กฎหมายของสหรัฐอเมริกามีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมที่น่าสงสัยต่อ FinCEN เป็นปกติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดอยู่แล้วและไม่ได้หมายความว่าธุรกรรมที่ถูกรายงานจะเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายเสมอไป แต่เนื่องจากข้อกล่าวหาที่เป็นข่าวอยู่นั้น ไม่ได้มาจาก FinCEN หรือหน่วยงานทางการใดๆ เรื่องนี้จึงขอให้รอการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน


อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่: www.mtsgold.co.th


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com