• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 25 กันยายน 2563

    25 กันยายน 2563 | Economic News
 

·         ดอลลาร์อ่อนค่าต่อ แต่ภาพรวมรายสัปดาห์ยังดีที่สุดในรอบ 6 เดือน

 

ในวันนี้ดอลลาร์อ่อนค่าลงจากที่ทำสูงสุดรอบ 2 เดือน ท่ามกลางความหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯรอบใหม่ ที่ช่วยคลายความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นหลังจากที่ถูกเพิ่มชื่อเข้าสู่ดัชนีพันธบัตรโลก

สัปดาห์นี้เรียกได้ว่าปรับแข็งค่าขึ้นประมาณ 1.4% ซึ่งถือว่ามากที่สุดในรอบเกือบครึ่งปี  ท่ามกลางนักลงทุนที่ไม่มั่นใจต่อทิศทางการแข็งค่าของดอลลาร์ ประกอบกับการปรับฐานในสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ

ดัชนีดอลลาร์ในตลาดเอเชียวันนี้เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยทรงตัวแถว 94.351 จุด หลังจากที่วานนี้ทำแข็งค่ามากสุดรอบ 2 เดือนที่ 94.601 จุด โดยการอ่อนค่าของดอลลาร์เกิดขึ้นในขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นจากความหวังที่จะเห็นการกลับมาเจรจามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนว่าสภาคองกรสจะสามารถตกลงกันได้หรือไม่ก็ตาม

นอกจากนี้ สหรัฐฯยังมีความไม่แน่นอนทางการเมืองอยู่มาก โดยนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่าจะทำการเปิดเผยรายชื่อผู้จะมาดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลสูงสุดของสหรัฐฯ และการเคลื่อนไหวดังกล่าวดูจะเป็นความขัดแย้งระหว่างสองพรรค

นักลงทุนยังจับตาไปยังการที่นายทรัมป์ กล่าวว่าจะไม่ยอมถ่ายโอนอำนาจอย่างสันติหากเขาพ่ายแพ้การเลือกตั้ง

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าวันนี้ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับขึ้นแตะ 0.911% ถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปลายเดือนก.ค.

ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1665 ดอลลาร์/ยูโร หลังทำต่ำสุดรอบ 2 เดือนวานนี้ที่ 1.16265 ดอลลาร์/ยูโร

เงินเยนทรงตัวที่ 105.48 เยน/ดอลลาร์ ยังคงเข้าใกล้ระดับอ่อนค่ามากที่สุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์

ปอนด์ยังยืนได้เหนือต่ำสุดรอบ 2 เดือน หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษปล่อยมาตรการสนับสนุนแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยล่าสุดอยู่แถว 1.2754 ดอลลาร์/ปอนด์

เงินหยวนแข็งค่าขึ้น ขานรับ
FTSE Russell ประกาศเพิ่มพันธบัตรรัฐบาลจีนเข้าสู่กระดานเทรดพันธบัตรรัฐบาลโลกที่จะเริ่มในปี 2021

หยวนแข็งค่ามาที่ 6.8122 หยวน/ดอลลาร์ โดยภาพรวมแข็งค่าขึ้นมาได้ประมาณ 5% จากที่ทำอ่อนค่ามากที่สุดในเดือนพ.ค.

 

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางการผลักดันร่างงบประมาณช่วยเหลือในช่วง Covid-19 ครั้งใหม่ของเดโมแครต

 


อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นมาที่บริเวณ 0.6692% ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับขึ้นมาที่ 1.4077%

 

·         จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯพุ่งทะลุ 7 ล้านราย ท่ามกลางมิดเวสท์ระบาดหนัก

จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมในสหรัฐฯทะลุ 7 ล้านรายวานนี้ หรือคิดเป็นกว่า 20% ของทั่วโลก ท่ามกลางรายงานจากรัฐมิดเวสต์ที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นในเดือนก.ย.

ขณะที่ นักวิเคราะห์จากรอยเตอร์ศ กล่าวว่า พบผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวน
50 รัฐทั้งหมดในเดือนก.ย. นี้  โดยจำนวน 10 รัฐในสหรัฐฯพบว่ามีรายงานยอดติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในเดือนนี้เช่นกัน

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ระบุว่า ยอดติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่ปรับตัวลดลงไปช่วง
8 สัปดาห์ เชื่อว่าน่าจะมาจากการกลับมาเปิดทำการของสถานศึกษา, มหาวิทยาลัย รวมทั้งการจัดกิจกรรมในช่วงวันหยุดแรงงานแห่งชาติ

 

·         Novavax เริ่มทดสอบวัคซีนขั้นสุดท้ายในอังกฤษ

 

บริษัท Novavax ประกาศเริ่มการทดสอบวัคซีน Covid-19 ร่วมกับหน่วยงาน Vaccines  Taskforce ของรัฐบาลอังกฤษ ที่ส่งผลให้หุ้นบริษัทดังกล่าวปรับขึ้นได้กว่า 6% หลังมีการประกาศข่าวดังกล่าวออกมา

 

โดยคาดว่าจะมีเข้าร่วมการทดสอบวัคซีนครั้งนี้ 10,000 ราย โดยมีอายุระหว่าง 18-84 ปี ในช่วง 4 - 6 สัปดาห์จากนี้

 

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังระบุว่า ข้อมูลจากการทดสอบครั้งนี้จะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานกำกับดูแลในการออกใบรับรองในประเทศอังกฤษ, อียู และนานประเทศด้วย

 

 

·         การกู้ยืมสาธารณะในอังกฤษพุ่งขึ้นทำสูงสุดประวัติการณ์ครั้งใหม่ในเดือนส.ค.

 

อังกฤษเผยระดับกู้ยืมสาธารณะที่พุ่งขึ้นไปกว่า 3.592 หมื่นล้านปอนด์ (4.58 หมื่นล้านเหรียญ) ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็ฯระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์สำหรับของทุกๆเดือนส.ค. แต่ภาพรวมก็ยังถือว่าอยู่ต่ำกว่าระดับที่เคยทำไว้ในปีงบประมาณก่อน ท่ามกลางรัฐบาลที่ต้องมีการนำเงินมาจัดการเศรษฐกิจที่ได้รับความเสียหายจากไวรัสโคโรนา

 

 

·         ส่งออกเยอรมนีถูกคาดจะทำสูงสุดตั้งแต่ต.ค. ปี 2018

 

ยอดส่งออกเยอรมนีอยู่ในแนวโน้มเชิงบวก โดยข้อมูลล่าสุดเดือนก.ย.ออกมาที่ 10.4 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ต.ค.ปี 2018  ขณะที่เดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 5.5 จุด  โดยได้รับอานิสงส์จากกลุ่มบริษัทเวชภัณฑ์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้คาดว่าน่าจะเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4/2020

 

ด้านอุตสาหกรรมรถยนต์คาดว่าจะมียอดขายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ผลิตเสื้อผ้า, เครื่องหนัง และรองเท้า ถูกคาดว่ามีแนวโน้มจะปรับตัวลดลง

 

 

·         สมาชิกอีซีบี ระบุว่า อีซีบีควรพิจารณากำหนดของเป้าหมายเงินเฟ้อ

 

นายฟรองซัวร์ วิลเลอร์ครอย เด กาโอล สมาชิกอีซีบี กล่าวว่า อีซีบีควรพิจารณาถึงเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นตัวกำหนด ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนกรอบการดำเนินนโยบาย ซึ่ง  ณ ปัจจุบันเงินเฟ้อยุโรประยะกลางก็ยังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด แต่ก็เข้าใกล้ 2% มากขึ้น แต่การเคลื่อนไหวของเงินเฟ้อก็ดูจะต่ำกว่าระดับเป้าหมายมาเป็นเวลาหลายปี แม้ว่าจะมีการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมากเข้าสู่ประเทศ อันเป็นตัวหนุนเงินเฟ้อก็ตาม

 

 

 

·         จีน - เศรษฐกิจมีการเติบโต ด้านกำลังทหารแข็งแกร่งอาจส่งผลต่อนักลงทุนสหรัฐฯ

 

นักวิเคราะห์บางราย กล่าวกับ CNBC โดยระบุว่า เศรษฐกิจจีนมีการเจริญเติบโต และมีกำลังทางทหารที่แข็งแกร่ง จึงอาจส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลก และการดำเนินการของบริษัทต่างๆในประเทศจีนอาจประสบภาวะลำบากได้

 

ผู้ก่อตั้งสถาบันที่ปรึกษา Atlas Organization ระบุว่า  เศรษฐกิจจีนกลับมาแข็งแกร่ง ตลอดจนอำนาจทางทหาร และคิดว่านี่อาจจะเป็นอุปสรรคในการลงทุนในจีน โดยเฉพาะในหมวดอวกาศ, เทคโนโลยี รวมทั้งอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ที่ได้รับการสนับสนุนทางทหาร

 

ขณะที่ประเด็นระหว่างประเทศ รวมทั้งภาคธุรกิจ ก็ดูจะได้รับความยากลำบากมากขึ้นเพราะนักลงทุนรู้ว่าบริษัทจะถูกควบคุมโดยรัฐบาลจีน และนี่จึงกลายเป็นเรื่องยากแก่ภาคธุรกิจมากขึ้น




·         จีนเข้าร่วมดัชนีพันธบัตรโลกของ FTSE Russell ปีหน้า

 

FTSE Russell ซึ่งถือเป็นดัชนีหลักได้มีการประกาศเมื่อคืนนี้ว่าจะทำการเพิ่มพันธบัตรรัฐบาลจีนเข้าสู่กระดานดัชนีพันธบัตรโลกภายใต้  World Government Bond Index ในเดือนต.ค. ปีหน้า ซึ่งถือเป็นความคืบหน้าที่จะทำให้เกิดเม็ดเงินนับพันล้านเหรียญไหลเข้าสู่ประเทศจีน

 

นักวิเคราะห์หลายคน คาดการณ์ว่า จะมีเม็ดเงินไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านเหรียญไหลเข้าสู่จีนหลังจากที่พันธบัตรดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี FTSE Russell เป็นที่เรียบร้อย

 

 

 

·         ผลสำรวจ Reuters เผย ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 แต่ก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นที่ชะลอลง

 

ผลสำรวจจากสำนักข่าว Reuters ระบุว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นประจำเดือนส.ค.มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน แต่ก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นที่ชะลอลง

 

โดยคาดว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.จะเพิ่มขึ้น 1.5% จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่เดือนก.ค.ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 8.7% ซึ่งเร็วที่สุดเป็นประวัติการณ์เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศและทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆหลังได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา

 

ทั้งนี้ การสำรวจทางธุรกิจที่เปิดเผยในสัปดาห์นี้แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมของภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัวในเดือนก.ย. ท่ามกลางความต้องการที่ลดลง แต่คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ลดลงในอัตราที่ช้าลงและผู้ผลิตมีความมั่นใจมากขึ้น

 

 


·         ภาคการผลิตสิงคโปร์พุ่ง 13.7% เมื่อเทียบรายปี

 

ข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 13.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มขึ้น 44.2%

 

ด้านนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.6% ซึ่งการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากหดตัว 3 เดือนติดต่อกัน

 


 

·         สิงคโปร์คาดต่างชาติเดินทางเข้าประเทศลดจำนวนลงครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2003

 

รายงานจากรอยเตอร์ส ระบุว่า มาตรการจำกัดการเดินทางและคนตกงานที่เพิ่มขึ้นกดดันให้ประชากรในประเทศลดน้อยลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2003

 

โดยประชากรในประเทศภาพรวมลดน้อยลงไปประมาณ 18,000 ราย หรือ -0.3% ที่ 5.69 ล้านราย ด้านต่างชาติลดลงไปมากถึง 2% ที่ 1.64 ล้านราย  ท่ามกลางแนวโน้มการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้น ที่ส่งผลให้เกิดความท้าทาย และอุปสงค์ที่อ่อนแอ รวมทั้งการจำกัดการเดินทาง และกระทบให้การค่าจ้างแรงงานต่างชาติลดลงด้วย

 


 

·         Nomura เตือน ประท้วงในไทยอาจเป็น "อุปสรรค" ต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

 

 

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาเซียนจากสถาบัน Nomura กล่าวว่า กลุ่มผู้ประท้วงในไทยยังคงเดินหน้าประท้วงรัฐบาลทั่วประเทศ และเหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้นก็ดูจะเป็นผลลบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

 

ซึ่งหากการประท้วงเลื่อนออกไป และไม่เป็นอุปสรรคของประเทศ ก็น่าจะเห็นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ เนื่องจากจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีการควบคุมการระบาดของไวรัสได้เป็นอย่างดี

 

 

อย่างไรก็ดี เหตุความวุ่นวายทางการเมืองก็ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับประเทศไทย ภายใต้การปกครองจากการทำรัฐบาลที่ยาวนานที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ใหม่

 

 

·         เกาหลีเหนือแสดงความเสียใจต่อเหตุสังหารทหารเกาหลีใต้ เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัส

 

ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งเกาหลีใต้ เผยว่า ในวันนี้ทางเกาหลีเหนือแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์สังหารทหารเกาหลีใต้ที่ผ่านมา โดยอ้างเหตุป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสองประเทศดูจะทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับกระแสต่อต้านอย่างหนักต่อสาธารณชน

 


 

·         หนี้สาธารณะออสเตรเลียมีแนวโน้มพุ่งขึ้น จากวิกฤตไวรัสส่งผลให้มีการจ่ายเงินสนับสนุนเพิ่มขึ้น

 

โดยระดับหนี้รัฐบาลเพิ่มขึ้นไปเกือบ 25% ของจีดีพี ท่ามกลางคนว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูง และการปิดทำการในภาคธุรกิจจาก Covid-19

 

 

 

·         รัสเซียครองตำแหน่งซับพพลายเออร์น้ำมันรายใหญ่ของจีนในเดือนส.ค. ขณะที่สหรัฐฯและบราซิลมีการขนส่งน้ำมันมากขึ้น

 

รัสเซียถือเป็นซับพลายเออร์น้ำมันรายใหญ่ของจีนต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนส.ค. ที่ระดับ 5.8 ล้านตัน หรือเทียบเท่า 1.37 ล้านบาร์เรล/วัน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนจะลดลงประมาณ 3.7% และน้อยกว่าปริมาณรายวันในเดือนก.ค.ที่อยู่ที่ 1.74 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่ซาอุดิอาระเบียมีการลดการซื้อขายน้ำมันประมาณหนึ่งในสาม

 

 

·         ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง และภาพรวมรายสัปดาห์ก็ปรับตัวลงเช่นเดียวกัน จากความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิง ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับการกลับมาส่งออกน้ำมันของลิเบีย

 

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 4 เซนต์ ที่ระดับ 41.90 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 8 เซนต์ ที่ระดับ 40.23 เหรียญ/บาร์เรล


Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com