· ดอลลาร์ทรงตัวใกล้แข็งค่ามากสุดรอบ 2 เดือน จากความเสี่ยงด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
ดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นใกล้ระดับสูงสุดรอบ 2 เดือนเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ในฐานะ Safe-Haven ท่ามกลาง
1. ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
2. ความไม่แน่นอนของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ
3. การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (ที่มีการปรับขึ้นประมาณ 0.2% หลังจากที่ทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อช่วงต้นเดือน)
ขณะที่การรีบาวน์ของตลาดหุ้นเมื่อคืนวันศุกร์ดูจะช่วยจำกัดการอ่อนค่าของดอลลาร์
สำหรับวันนี้ดัชนีดอลลาร์เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ 94.53 จุด หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วทำสูงสุดรอบกว่า 2 เดือนที่ 94.745 จุด และปิดรายสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ดีที่สุดตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย.
ยูโรทรงตัวที่ 1.1635 ดอลลาร์/ยูโร หลังทำต่ำสุดที่ 1.16125 ดอลลาร์/ยูโรในวันศุกร์ที่เป็นอ่อนค่ามากสุดช่วง 2 เดือน
ปอนด์เองก็ทรงตัวบริเวณ 1.2767 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังไปทำอ่อนค่ามากสุดเมื่อวันพุธที่แล้วบริเวณ 1.2676 ดอลลาร์/ปอนด์
ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 105.46 เยน/ดอลลาร์
กรรมการผู้จัดการฝ่ายซื้อขายค่าเงินของ Mitsubishi UFJ Trust Bank กล่าวว่า ดอลลาร์แข็งค่ามากขึ้นจากการปิดสถานะ Short จาก 2 ปัจจัยหลัก คือการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร และตลาดที่เคลื่อนไหวแบบ Risk-Off
· นักลงทุนจับตาดีเบตว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯในวันอังคารนี้ ก่อนเลือกตั้ง 3 พ.ย. จะเริ่มต้นขึ้น ก่อนเกิดการดีเบต สำนักข่าว New York Times รายงานว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีการจ่ายภาษีเล็กน้อยในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ (แทบไม่เสียภาษีเลย) อันเนื่องจากบริษัทในเครือของเขาขาดทุนอย่างหนัก จึงชดเชยกับรายได้นับร้อยล้านดอลลาร์ที่มี
นักลงทุนส่วนน้อยคาดว่าคองเกรสจะผ่านแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับใหม่เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจจาก Covid-19 ได้ก่อนเลือกตั้ง
ภาพรวมตลาดมีความกังวลมากขึ้น ต่อทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากมาตรการเศรษฐกิจหลายๆตัวมีการหมดอายุลงไป จึงจำกัดการใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภค
สัปดาห์นี้ตลาดให้ความสำคัญกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้แก่
1. ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่จะประกาศในคืนวันพรุ่งนี้
2. ผลสำรวจภาคการผลิตและข้อมูลผู้บริโภค วันพฤหัสบดี
3. ข้อมูลจ้างงาน คืนวันศุกร์
· นักวิเคราะห์ ชี้ ตึงเครียดเทคโนโลยีสหรัฐฯ-จีนจะยังไม่จบ แม้ "ไบเดน" ชนะเลือกตั้ง
CNBC รายงานความเห็นนักวิเคราะห์ โดยระบุว่า ความตึงเครียดในด้านเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯและจีนจะยังดำเนินต่อไป แม้ว่านายโจ ไบเดน ผู้ลงสมัครจากพรรคเดโมแครตได้รับชัยชนะเป็นประธานาธิบดีคนต่อไปในการเลือกตั้งเดือนพ.ย. ที่จะถึงนี้
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และกรรมการผู้จัดการจาก DBS Group Research มองว่า ถึงแม้การมาของไบเดนจะมีความผันผวนน้อยกว่าในยุคของนายทรัมป์ แต่ก็จะนำมาซึ่งกฎข้อบังคับที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาพรวมความตึงเครียดของสองประเทศก็ยังมีอยู่
ขณะที่พรรครีพับลิกันย้ำถึงนโยบาย " American Frist" โดยมีจุดมุ่งหมายยกเลิกการถูกเอาเปรียบต่างๆ อันรวมถึงการค้าด้วย
แต่ "นายไบเดน" เองก็มีท่าทีจะก่อ Trade War กับจีนเช่นกัน เพราะถึงเขาจะมองว่าการเก็บภาษีได้กระทบกับภาคธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภคของสหรัฐฯ แต่เขาเองก็ต้องการให้ "มีมาตรการขั้นเด็ดขาดกับทางจีน"
ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้า กล่าวว่า นายไบเดนอาจสร้างแรงกดดันให้แก่จีนต่อจากท่าทีที่เข้มงวดกับจีน พร้อมกับแนวโน้มที่จะคงระดับภาษีไว้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็น "นายทรัมป์" หรือ "นายไบเดน" ทั้งคู่ต่างก็ไม่ต้องการให้ทางการทหารของจีนประสบความสำเร็จด้วยอุปกรณ์ Hardware ด้านเทคโนโลยีที่ผลิตโดยสหรัฐฯ แต่การออกกฎจำนวนมากก็ดูจะส่งผลต่ออุปกรณ์สื่อสารของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้ชิปหรืออุปกรณ์ที่ผลิตโดยสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้จึงอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากในการที่จะโต้แย้งเหตุด้านความมั่นคงแห่งชาติ
· สหรัฐฯคว่ำบาตรบริษัท SMIC ผู้ผลิตชิปจีน กระทบกับเป้าหมายสำคัญของจีนด้านเทคโนโลยี
การที่รัฐบาลสหรัฐฯ รายงานถึงการเพิ่มข้อกำหนดการส่งออกสินค้าให้แก่บริษัท SMIC ที่เป็นบริษัทชิปรายใหญ่ของจีน
ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการข่มขู่จีน ที่พยายามผลักดันให้เกิดการพึ่งพาประเทศตัวเองให้กลายเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง หรือสนับสนุนให้จีนเป็นอุตสาหกรรมด้านเซมิคอนดัคเตอร์ส ที่ดูจะเป็นชนวนในการเร่ง Trade War ของสหรัฐฯกับจีนนั่นเอง
ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เผยว่า มีการส่งจดหมายให้แก่ภาคบริษัทต่างๆ เพื่อให้ทราบว่า บรรดาซัพพลายเออร์ที่ขายอุปกรณ์ให้แก่ SMIC จำเป็นจะต้องได้รับใบอนุญาตด้านการส่งออกจากสหรัฐฯ โดยอ้างเหตุผลด้าน "ความเสี่ยงที่ไม่สามารถรับได้" ที่อุปกรณ์ที่สหรัฐฯขายให้จีนนั้นอาจกลายไปใช้ทางด้านการทหาร
· The Times: นายกฯอังกฤษ เตรียม Lockdown ทางตอนเหนือของประเทศ และลอนดอน
รัฐบาลอังกฤษกำลังมีแผนจะบังคับใช้มาตรการ Lockdown ทางสังคมอีกรอบ โดยเฉพาะในฝั่งตอนเหนือของอังกฤษ และมีความเป็นไปได้ที่จะรวมถึงลอนดอน เพื่อต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนาภายใต้มาตรการ Lockdown ครั้งนี้ พิจารณาในกลุ่มผับ, ร้านอาหาร และบาร์ ทั้งหมดที่ต้องปิดทำการเป็นเวลา 2 สัปดาห์
· เทรดเดอร์เงินปอนด์ยังไม่วิตกกังวลต่อ No-Deal Brexit
อังกฤษอาจออกจากอียูแบบ No-Deal ภายในอีก 3 เดือนข้างหน้า แต่เทรดเดอร์ภายในประเทศดูจะยังไม่มีความกังวลและเร่งเทขายสินทรัพย์ต่างๆ
ทั้งนี้ หลังจากที่อังกฤษมีแผนการออกจากอังกฤษที่ดูจะทำลายข้อตกลงในฉบับแรกในเดือนนี้ ก็ดูจะทำให้ตลาดคาดโอกาสที่อังกฤษจะออกจากอียูโดยปราศจากข้อตกลงในช่วงสิ้นปีนี้มีมากถึง 40-45% ขณะที่หลายๆธนาคารมองโอกาสที่สูงกว่า
ภาพรวมกระแสเงินสดหน่วยเงินปอนด์รายสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้น 35% ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนก.ย. เมื่อเทียบกับช่วงปลายเดือนส.ค. แม้ว่าจะยังอยู่ต่ำกว่าระดับเดิมในช่วงหลายๆสัปดาห์ในเดือนก.ย. ปี 2019 และต.ค. ของปี 2018 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดเคยมีความกังวลเกี่ยวกับ No-Deal Brexitก่อนกำหนดเส้นตายในการบรรลุข้อตกลงกับทางอียู
ในความเป็นจริงแล้ว เงินปอนด์อ่อนค่าลงมาประมาณ 5.8% ในเดือนนี้ จากระดับ 1.3481 ดอลลาร์/ปอนด์ เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ลงมาอยู่ต่ำกว่า 1.27 ดอลลาร์/ปอนด์ แต่นักวิเคราะห์หลายๆคนก็ยังคงคาดว่าตลาดดูจะเป็นเรื่องเกินจริง เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เลือกที่จะถือครองดอลลาร์มากกว่ากลัวเรื่องความกังวล Brexit ขณะที่ช่วงปลายเดือนก.ย.นี้ ปอนด์ทำ Low บริเวณ 1.1959 ดอลลาร์/ปอนด์
· สเปนปรับทบทวนคาดการณ์จีดีพีแตะ -10% ถึง -11%
จากกรอบเดิมที่คาดไว้ที่ -9.2% ในเดือนพ.ค. พร้อมคาดเป้าหมายงบดุลมีโอกาสขาดดุลมากกว่า 10.3% ของเป้าหมายจีดีพีที่เคยตั้งไว้ในคาดการณ์เดือนเดียวกัน
ทั้งนี้ จีดีพีไตรมาสที่ 2 ของสเปนออกมา -17.8% และหดตัวกว่า -21.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้ว
· หุ้นบริษัท China Evergrande พุ่งกว่า 10% ท่ามกลางระดับหนี้ที่ลดลง
บริษัท China Evergrande Group ปรับขึ้นกว่า 10% หลังจากที่มาตรการทั้งหมดได้ช่วยลดระดับหนี้ที่ส่งผลให้บริษัทมีผลเชิงบวก และผลประกอบการ
· กิจกรรมการผลิตจีนมีแนวโน้มโตขึ้นต่อในเดือนก.ย.
ผลสำรวจจาก Reuters Poll สะท้อนว่า กิจกรรมภาคโรงงานจีนมีแนวโน้มจะขยายตัวได้ต่อในเดือนก.ย. ท่ามกลางทิศทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้อย่างมั่นคงจากวิกฤตไวรัสโคโรนา โดยคาด PMI น่าจะออกมาที่ 51.2 จุดในเดือนก.ย. จากระดับ 51 จุดในเดือนก่อนหน้า
ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมจีนกำลังฟื้นตัวกลับอย่างมีเสถียรภาพในช่วงก่อนที่เคยเกินการระบาดของไวรัสโคโรนา
· ผลสำรวจ Reuter Poll คาด ส่งออกเกาหลีใต้ก.ย. โตได้เป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน
ผลสำรวจจาก Reuters Poll คาดว่า ยอดส่งออกของเกาหลีใต้มีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นได้เป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ในเดือนก.ย. จากการทำงานที่เพิ่มขึ้นมากกว่าในเดือนเดียวกันเมื่อเทียบกับปีก่อน ท่ามกลางการขนส่งไมโครชิปที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากการที่สต็อกสินค้าของบริษัท Huaweiของจีนถูกสหรัฐฯคว่ำบาตร
· คาดธนาคารกลางอินเดียคงดอกเบี้ย แต่อาจมีการปรับคาดการณ์เศรษฐกิจ
ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ถูกคาดว่าจะคงดอกเบี้ย 4.0% ในการประชุมสัปดาห์นี้ และคาดว่าน่าจะคงไว้จนถึงสิ้นปี 2021 แต่นี่อาจเป็นครั้งแรกตั้งแต่ก.พ. ที่อาร์บีไอมีการเผยถึงทิศทางเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา เพราะหลังจากที่อินเดียทยอยกลับมาปิดทำการทางเศรษฐกิจ ก็ยังคงเห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่สู้ดีนัก ประกอบกับจำนวนยอดติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาอยู่ที่ลำดับที่ 2 ของโลก
· ส่งออกมาเลเซียเดือนส.ค. แย่ลงกว่าคาดที่ 2.9% เมื่อเทียบรายปี จาก 4.8%
โดยขนส่งดิ่ง คู่กับอุปสงค์การผลิตร่วง ในกลุ่มสินค้าเกษตร และเหมืองต่างๆ
ด้านยอดนำเข้าหดตัว -6.5% จากช่วงต้นปี จากเดิมที่ -8.7% ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ยอดเกินดุลการค้าลดลง 1.32 หมื่นล้านริงกิต (3.17 พันล้านเหรียญ) จากระดับสูงสุดที่เคยทำไว้ที่ 2.515 พันล้านริงกิตในเดือนก.ค.
· มาเลเซียตัดสินใจกลับมาใช้มาตรการคุมเข้ม Covid-19 ในบางพื้นที่ของแหล่งผลิตน้ำมันรายใหญ่
โดยรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงมาเลเซีย เผยถึงการประกาศใช้มาตรการคุมเข้มเพื่อเข้าควบคุม 4 อำเภอที่เป็นแหล่งผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดเพื่อจำกัดการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยจะมีการปิดชั่วคราว 14 วัน เริ่มพรุ่งนี้วันแรก
· น้ำมันดิบปรับตัวลดลง ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่กดดันการฟื้นตัวของอุปสงค์
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้นบดบังความหวังเกี่ยวกับการฟื้นตัวของอุปสงค์เชื้อเพลิง
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 23 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.6% ที่ระดับ 41.69 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 21 เซนตื หรือคิดเป็น 0.5% ที่ระดับ 40.04 เหรียญ/บาร์เรล หลังร่วงลงไป 2.1% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลดลงเป็นเดือนแรกในรอบ 6 เดือน ขณะที่ WTI กำลังเผชิญกับการสูญเสียรายเดือนครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย.