• 5 ภาพประกอบที่จะทำให้รู้ว่าเศรษฐกิจ “จีน” – “สหรัฐฯ”พึ่งพากันและกันมากแค่ไหน

    29 กันยายน 2563 | Economic News

ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน ดูจะสร้างความกังวลให้กับกลุ่มนักลงทุนและบรรดานักวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากดูจะเป็นการยากที่บริษัทต่างๆจะดำเนินการจัดการในต่างประเทศ ท่ามกลางสัญญาณที่ว่าทั้งสหรัฐฯและจีนเริ่มมีแนวทางที่แตกต่างกัน

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯเริ่มที่จะพุ่งเป้าบริษัทเทคโนโลยีหลักๆของจีนหลายแห่ง อาทิ บริษัท Huawei ที่เป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนยักษ์ใหญ่ รวมทั้งบริษัท ByteDance ที่ผลิตแอพลิเคชันวิดีโอขนาดสั้นยอดนิยมอย่าง TikTok ที่ทำให้ทั้ง 2 แห่งประสบภาวะยากลำบากในการดำเนินธุรกิจในสหรัฐฯ

ขณะที่จีนถูกคาดว่าจะทำการเพิ่มบัญชีดำบริษัทต่างประเทศ หรือ Unreliable Entity List (กลุ่มองค์กรที่ไม่น่าเชื่อถือ)

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวย้ำถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการแยก 2 ประเทศ

อย่างไรก็ดี ข้อมูลต่างๆแสดงให้เห็นถึงความท้าทายอย่างมากในการดำเนินการเหล่านั้น เนื่องจากทั้งสองประเทศมีการเชื่อมโยงกันมานานนับทศวรรษ

 

การค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน

การค้า คือ ส่วนสำคัญขนาดใหญ่ของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่ต่างฝ่ายต่างเป็นประเทศคู่ค้าหลักกันเป็นเวลาหลายปี

ข้อพิพาทกันในเรื่องภาษีระหว่างสองประเทศเริ่มตั้งแต่ปี 2018 ทั้งเรื่องสินค้าและบริการ โดยสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ระบุว่า ส่งผลให้มีมูลค่าโดยรวมสูงกว่า 6.368 แสนล้านเหรียญในปีที่แล้ว

ขณะที่ความสัมพันธ์ทางการค้า สหรัฐฯมีการนำเข้าสินค้าจากจีนมากกว่าส่งออกไปยังเอเชีย แต่กลับกันในด้านบริการ จีนมีการซื้อบริการจากสหรัฐฯมากกว่ายอดขายที่เกิดขึ้น

ขณะเดียวกัน นายทรัมป์ พยายามจะแยกเศรษฐกิจทั้งสองประเทศออกจากกัน เพื่อผลักดันให้จีนเข้าซื้อสินค้าเกษตรจากหรัฐฯเพิ่มเติม



อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ประเทศมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาทางการค้าที่ไม่สมดุลกัน โดยจีนแสดงความเห็นด้วยที่จะเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ภายใต้ข้อตกลง “เฟสแรก” ที่ลงนามร่วมกันเมื่อช่วงต้นปีนี้ (ม.ค.)

ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ปัญหาการค้าระหว่าง 2 ประเทศมีแนวโน้มจะสร้างความเสียหาต่อในปีนี้ ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ คู่กับวิกฤตไวรัสโคโรนาที่กระทบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลก

 

ภาวะห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวเนื่องกัน

สถาบัน Fitch Ratings ระบุว่า ผลกระทบโดยตรงจากปัญหาทางการค้ากระทบต่อภาวะห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อโยงกันนานนับสิบปีมากขึ้น

เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงภาคบริษัทต่างๆในการดำเนินงานร่วมกันในการจัดเตรียมวัตถุดิบ, ชิ้นส่วน หรือการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ อันรวมถึงบริการต่างๆให้แก่ประเทศนั้น หรือทั่วโลก

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าผลกระทบแต่ละบริษัทจากภาวะห่วงโซ่อุปทานเป็นเช่นไร

สถาบัน OECD เคยคาดการณ์ในปี 2015 ว่า การนำเข้าของต่างประเทศจะมียอดรวมประมาณ 12.2หรือคิดเป็น 2.2 ล้านล้านเหรียญ ของจำนวนยอดซื้อสินค้าและบริการทั้งหมดในสหรัฐฯและจีน

กลุ่มผู้ผลิตบางราย ระบุว่า สหรัฐฯค่อนข้างมีการพึ่งพาจีนเป็นพิเศษในการนำเข้าหรือการผลิตสินค้าในขั้นตอนสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผ้า, สินค้าอิเล็กทรอนิกซ์, โลหะและเครื่องจักร เป็นต้น

สำหรับจีนเอง OECD เผยว่า ซัพพลายเออร์จากต่างประเทศมีเพิ่มมากขึ้นประมาณ 14.2หรือ 1.4 ล้านล้านเหรียญ ของยอดสินค้าและบริการทั้งหมดในปี 2015

ดังนั้น ความขัดแย้งของสองประเทศจะกระทบกับ สหรัฐฯที่มีการพึ่งพาการนำเข้าในกลุ่มการผลิตจากจีน และจีนที่มีการพึ่งพาด้านบริการสหรัฐฯมากกว่า

 

เม็ดเงินลงทุน

ปัญหาทางด้านการค้าและห่วงโซ่อุปทานอาจส่งผลให้เกิดความยากลำบากเกี่ยวกับเม็ดเงินลงทุนระหว่าง 2 ประเทศให้ปรับตัวลดลงจากความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

ข้อมูลจาก Rhodium Group เผยว่าโดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ถึงมูลค่าการลงทุนโดยตรงของต่างประเทศ และจำนวนเงินร่วมลงทุนข้อตกลงระหว่างสองประเทศนั้นปรับตัวลดลง



นอกจากนี้ ยังพบว่า จีนมีการเข้าซื้อสินทรัพย์ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯลดลง ขณะที่การลงทุนของสหรัฐฯในจีนนั้นก็ดูจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

หลายๆภาคธุรกิจสหรัฐฯมีการดำเนินงานในจีน กล่าวว่า พวกเขายังไม่มีแนวโน้มจะเคลื่อนย้ายออก


ที่มา: CNBC

Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com