· ดอลลาร์ทรงตัวรอข่าวอัพเดต "ทรัมป์" กับ "แพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ"
ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงวานนี้ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากวันศุกร์มากนัก ท่ามกลางตลาดการเงินที่กำลังรอคอยข่าวเกี่ยวกับอาการของนายทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาแพ็คเกจช่วยเหลือเศรษฐกิจของสหรัฐฯ หลังนางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎร เผยว่ามีความคืบหน้าในการหารือร่วมกัน
ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.1% ที่ระดับ 93.785 จุด
ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น 0.3% ที่ 105.61 เยน/ดอลลาร์
ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.1% ที่ระดับ 1.17260 ดอลลาร์/ยูโร
เงินปอนด์อ่อนค่าเล็กน้อยที่ 0.2% บริเวณ 1.2917 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังจากที่นายกฯอังกฤษ และประธานฝ่ายบริหารระดับสูงของอียูเห็นพ้องเจรจาผ่านทางโทรศัพท์เกี่ยวกับข้อตกลงหลัง Brexit
ตลาดจับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์นี้
- รายงานประชุมเฟดก.ย. ในวันพุธนี้
- รายงานประชุมอีซีบีก.ย. ในวันพฤหัสบดี
- ประมาณการณ์ข้อมูลเงินเฟ้อรายปีของยูโรโซนวันศุกร์
ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันให้แก่อีซีบีในการเพิ่มการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ
· นักวิเคราะห์จาก BNP Paribas ระบุว่า เฟดมีความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับความกังวลเรื่อง "เงินฝืด"
· อาการทรัมป์ยังไม่ชัดเจน ขณะที่แพทย์เผยทรัมป์อาจออกจากรพ.ได้ในวันนี้
ทีมแพทย์ เผยว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจถูกปล่อยตัวจากโรงพยาบาลในการรักษาอาการ Covid-19 เร็วสุดอาจจะเป็นวันนี้ แม้ว่าอาการของเขายังคงไม่ชัดเจน และบรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวเตือนว่ากรณ๊ของเขาอาจเป็นกรณ๊รุนแรงได้
การกลับสู่ทำเนียบขาวของ "นายทรัมป์" ดูจะส่งผลให้เขาเผชิญกับการต่อสู้ที่ยากลำบากมากขึ้นในการชิงตำแหน่งกับ "นายไบเดน" คู๋แข่งจากพรรคเดโมแครต
ผลสำรวจจาก Reuters/Ipsos Poll เผยว่า นายไบเดนมีคะแนนนิยมในผลสำรวจเพิ่มขึ้นแซงนายทรัมป์ไปประมาณ 10 แต้ม หรือประมาณ 65% ของชาวอเมริกาที่กล่าวว่า "นายทรัมป์จะไม่ติดเชื้อ Covid-19 หากเขามีความจริงจังต่อสถานการณ์ของไวรัสได้มากกว่านี้"
· ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ตั้งข้อสงสัยต่ออาการติดเชื้อของนายทรัมป์ว่ารุนแรงแค่ไหน?
ทีมแพทย์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการรักษาของนายทรัมป์ ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา มีการตั้งคำถามถึงข้อเท็จจริงของนายทรัมป์ตั้งแต่เริ่มใช้ยา "เดกซาเมทาโซน" ในการรักษา จนถึงการใช้ "สเตียรอยด์" ที่มักใช้ในกลุ่มผู้ป่วยขั้นรุนแรงในการรักษา
การใช้วิธีรักษาล่าสุดค่อนข้างเป็นหลักฐานที่หนักแน่นว่าอาการของนายทรัมป์นั้นเข้าขั้น "รุนแรง"
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกินส์ กล่าวว่า การใช้ยาเดกซาเมทาโซนจะใช้รักษาผู้ป่วยที่ร่างกายต้องการออกซิเจนเพิ่ม และหากนายทรัมป์ ไม่ได้ต้องการอ็อกซิเจนเพิ่มเป็นเวลานาน เขาก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ และคณะแพทย์ที่รักษาอาการเขาจะต้องปล่อยตัวออกจากรพ. ได้แล้ว
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเขาอยู่ในขั้นตอนการติดตามรักษาอาการที่ดีจริงๆ หรืออยู่ในสภาวะเสี่ยงกันแน่?
บรรดาแพทย์บางส่วน ระบุว่า ผู้ป่วย Covid-19 ที่มีการตอบสนองต่อกระบวนการรักษาจะสามารถออกจากรพ. ได้อย่างรวดเร็ว *แต่ทำไมกรณีของ "นายทรัมป์" จึงมีการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด"
ผู้อำนวยการสำนักงานด้านเภสัชกรณ์ของ Northwell Health กล่าวว่า สิ่งที่พอฟังได้จากเรื่องนี้ คือการที่ทีมแพทย์เผยถึงการจะปล่อยตัวนายทรัมป์ได้เร็วที่สุดในวันนี้ แต่ก็ต้องระมัดระวัง เพราะการฟื้นตัวอย่างเต็มที่จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้ป่วยที่เหมือนกับกรณีของ "นายทรัมป์" ที่ถึงปล่อยตัวออกจากรพ. ก็ยังคงต้องเฝ้าสังเกตอาการและให้เขากักตัวอย่างน้อย 14 วัน
· Baker&McKenzie คาด "Covid-19" และ "No-Deal" Brexit จะส่งผลให้อังกฤษมีค่าใช้จ่ายเพิ่มถึง 1.74 แสนล้านเหรียญ/ปี
ปัญหาการระบาดของไวรัสโคโรนาและความล้มเหลวในการหาข้อตกลงการค้า Brexit กับทางอียู มีโอกาสทำให้อังกฤษนั้นมีค่าใช้จ่ายของประเทศสูงถึง 1.34 แสนล้านปอนด์ (1.74 แสนล้านเหรียญ) ต่อปีได้ ในช่วงที่จีดีพีแย่ที่สุดในรอบกว่า 10 ปี
นายบอริส จอห์นสัน มีการกำหนดเส้นตายในการหาข้อตกลงการค้ากับอียูสำหรับกรณี Post-Brexit ไว้ในวันที่ "15 ต.ค." นี้ที่อาจส่งผลต่อการออกจากอียูอย่างเป็นทางการของอังกฤษในสิ้นปีนี้
การระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะส่งผลให้จีดีพีอังกฤษหดตัวไป -2.2% หรือต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้
กรณี Brexit หากมีข้อตกลงการค้า ก็อาจเห็นจีดีพีหดตัวลงได้ -3.1% ขณะที่ยอดส่งออกของอังกฤษอาจลดลงไป -6.3% แต่ หากปราศจากข้อตกลงการค้า อาจเห็นจีดีพีหดตัวมากถึง -3.9%
· เลขาธิการกระทรวงแรงงานและบำนาญแห่งอังกฤษ เผยว่า ข้อมูลทางเทคนิคอังกฤษล้มเหลวในการทดสอบหาผู้ติดเชื้อ Covid-19 และเวลานี้กำลังแก้ไขระบบการทดสอบและประมวลผล
· PMI ยูโรโซนชี้เศรษฐกิจยูโรโซนชะลอการฟื้นตัวในเดือนก.ย.
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนในเดือนก.ย. ชะลอตัวลงจากการกลับมาใช้มาตรการคุมเข้มกิจกรรมบางแห่งเพื่อยับยั้งการระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนร่วงลงมาที่ 50.4 จุด ในเดือนก.ย. จากระดับ 51.9 จุดในเดือนส.ค. และฉุดให้ดัชนี PMI ภาคบริการของยูโรโซนร่วงลงมาที่ 48 จุด จาก 50.5 จุดในเดือนก่อนหน้า
· เศรษฐกิจเยอรมนียังฟื้นตัวได้แม้ว่า PMI ภาคริการจะออกมาแย่
IHS Markit เผยข้อมูลดัชนี PMI ภาคบริการเดือนก.ย. ของเยอรมนีออกมาแย่ลงแตะ 50.6 จุด จาก 52.5 จุดในเดือนก่อนหน้า แต่ภาคการผลิตโดยองค์รวมในประเทศยังแข็งแกร่งเพราะได้รับอานิสงส์จากภาคเอกชนที่ช่วยให้เศรษฐกิจของเยอรมนียังฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งในช่วงไตรมาสที่ 3/2020 นี้
· PMI ภาคบริการฝรั่งเศสแย่ กดดันกิจกรรมภาคธุรกิจก.ย.
ดัชนี PMI ภาคบริการของฝรั่งเศสเดือนก.ย. ปรับตัวลงแตะ 48.5 จุด จากเดือนก่อนหน้าที่ 51.6 จุด ถือเป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา
· รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ชี้ จะไม่ทำการเพิ่มภาษีใดๆในเยอรมนีท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา และพร้อมจะคงภาษีระดับต่ำในบางพื้นที่
· ค่าเงินลีราปรับอ่อนค่าลง 8 เหรียญ ท่ามกลางเศรษฐกิจตุรกีกดดันค่าเงิน
ค่าเงินลีราอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แตะระดับ 8 ลีรา อันเนื่องจากแรงกดดันในภาคบริษัทต่างๆ และทิศทางเศรษฐกิจ ซึ่งภาพรวมปีนี้ค่าเงินลีราอ่อนค่าลงมาแล้วกว่า 80% ของมูลค่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
· บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีนเผชิญกับปัญหาภาคธุรกิจใหม่ทั่วโลก
บรรดาบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ก็ดูจะมีการเติบโตทางภาคธุรกิจได้ดีในช่วงการระบาดองไวรัสโคโรนา แต่ภาพรวมของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทั่วโลกกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและสภาวะทางการเมือง
โดยเฉพาะจีนที่ถึงแม้เศรษฐกิจจะค่อยๆเติบโต และรัฐบาลมุ่งเน้นไปยังการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ คู่กับแนวโน้มดิจิทัลอย่างรวดเร็วจากวิกฤตไวรัสโคโรนา ก็ดูจะช่วยหนุนภาคเทคโนโลยีของจีนได้ แต่ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นก็ยังไม่ได้หายไป
· ภาคบริการญี่ปุ่นก.ย. ออกมาดีขึ้นเกินคาดนับตั้งแต่ที่เริ่มเกิดการระบาดของ Covid-19
กิจกรรมภาคบริการของญี่ปุ่นหดตัวติดต่อกัน 8 เดือนในเดือนก.ย. แต่ภาพรวมเดือนก.ย. ก็มีการหดตัวน้อยกว่าช่วงเริ่มระบาดของไวรัสโคโรนา สะท้อนว่าเศรษฐกิจเริ่มก้าวออกจากภาวะถดถอย และสัญญาณอุปสงค์กำลังเริ่มมีเสถียรภาพ
ภาพรวมดัชนี PMI ภาคบริการของญี่ปุ่น พบว่าข้อมูลก.ย. ออกมาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 8 เดือนที่ระดับ 46.9 จุด ขณะที่เดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 45 จุด
· ผู้ว่าการบีโอเจ เตือน การระบาดของไวรัสจะยังทำให้เศรษบกิจมีความไม่แน่นอนในระดับที่ "สูงมาก"
นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ กล่าวว่า ความไม่แน่นอนทางเศษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นยังอยู่ในแนวโน้มที่ "สูงมาก" จากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่กดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ขณะที่การระบาดในญี่ปุ่นมีแนวโน้มดีขึ้น และหนุนให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวได้ในระดับปานกลาง
· ไต้หวันหวัง "ทรัมป์" อาการดีขึ้น และสามารถยับยั้งจีนได้
· ระดับหนี้มาเลเซียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากวิกฤตไวรัสโคโรนา
รัฐมนตรีกระทรวงการคลังมาเลเซีย ระบุว่า ระดับหนี้สินของประเทศมาเลเซียมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆเพื่อสนับสนุนภาคธุริกจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
ขณะที่ยอดขาดดุลปีนี้ขาดจะปรับขึ้น 5.8% ถึง 6% จากการอัดฉีดทางการเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 20% ของจีดีพี และคาดว่าระดับหนี้ของประเทศในเวลานี้มีมากถึง 53% ของจีดีพี และในช่วงสิ้นปีจะอยู่ที่ 56% ของจีดีพี
· ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น 2% จากสุขภาพของทรัมป์และการประท้วงของนอร์เวย์
ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นมากกว่า 2% ในวันนี้ โดยได้รับความเห็นจากแพทย์ของประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ของสหรัฐฯ ที่ชี้ให้เห็นว่าเขาสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ในวันจันทร์เพียงไม่กี่วันภายหลังจากการทดสอบรัสโคโรนามีผลเชิงบวกของเขาทำให้เกิดการความกังวลอย่างกว้างขวาง
ผลตรวจด้านสุขภาพของทรัมป์ได้ช่วยผ่อนคลายความไม่แน่นอนทางการเมืองในตลาดโลกโดยผลักดันให้ น้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้นไปที่ 40.10 เหรียญ/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 83 เซนต์หรือ 2.1% น้ำมันดิบ WTI อยู่ที่ 37.94 เหรียญ/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 89 เซนต์หรือ 2.4%
ราคาน้ำมันยังได้รับอานิสงส์จากการหยุดงานประท้วงของคนงานที่ทวีความรุนแรงขึ้นในนอร์เวย์ซึ่งได้ปิดแหล่งน้ำมันและก๊าซของ Equinor สี่แห่ง การประท้วงดังกล่าวสามารถลดกำลังการผลิตของประเทศได้มากถึง 330,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันต่อวัน หรือ 8% ของการผลิตทั้งหมดตามข้อมูลของสมาคมน้ำมันและก๊าซแห่งนอร์เวย์