ทองคำปรับขึ้นหลังจากเลือกตั้งสหรัฐฯไม่แน่นอน และความหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ
· ราคาทองคำปรับตัวขึ้นท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และความหวังครั้งใหม่เกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แต่มาตรการกระตุ้นดังกล่าวอาจเป็นตัวเร่งเงินเฟ้อ จึงทำให้นักลงทุนมีความต้องการในสินทรัพย์เสี่ยง และทำให้ทองคำปรับขึ้นได้ไม่มากนัก
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.1% ที่ระดับ 1,889.5 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +0.2% ที่ 1,895.10 เหรียญ
· กองทุนทองคำ SPDR ถือครองทองคำเท่าเดิมที่ระดับ 1,271.52 ตัน
· หัวหน้านักกลยุทธ์สินค้าโภคภัณฑ์จาก TD Securities กล่าวว่า ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก จึงกดดันดอลลาร์ด้วย แต่การที่มีคาดการณ์ถึงเงินเฟ้อได้ช่วยหนุนราคาทองคำ
อย่างไรก็ดี หากมีปัญหาเงินเฟ้อ และความกังวลนโยบายต่อหลังเลือกตั้งก็อาจส่งผลให้ดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าอีก และอัตราดอกเบี้ยก็มีโอกาสจะปรับตัวลง
· ข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการคนว่างงานในสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลงแตะระดับ 840,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนที่ 849,000 ราย สะท้อนถึงตลาดแรงงานเริ่มมีสัญญาณเล็กน้อยจากการที่คนว่างงานนับล้านๆรายเริ่มกลับมามีงานทำอีกครั้ง แต่ภาพรวมของคนว่างงานก็จะเห็นได้ว่าคนว่างงานก็ยังอยู่ในระดับสูง
· กรรมการผู้จัดการจาก CPM Group มองว่า ราคาทองคำมีแนวโน้มจะขึ้นต่อ แต่ก็อาจเผชิญกับความผันผวนต่อ โดยเฉพาะเลือกตั้งในเดือนหน้า และอาจจะผันผวนต่อในช่วงระยะ 2 เดือนหลังเลือกตั้ง
· ราคาซิลเวอร์ปิด -0.1% ที่ระดับ 23.81 เหรียญ ด้านแพลทินัมปิด -0.2% ที่ 862.81 เหรียญ ขณะที่ราคาพลาเดียมปิด +2% ที่ระดับ 2,399.31 เหรียญ
· ทรัมป์ยังให้ความสนใจกับร่างมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ขณะที่การเพิ่มการช่วยเหลือสายการบินสหรัฐฯกลับสู่เจรจาอีกครั้ง
· นายแลรี่ คุดโลว์ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชี้ “ทรัมป์” หนุนการแยกร่างช่วยเหลือสำหรับวิกฤต Covid-19
· “เพโลซี” – “มนูชิน” หารือข้อตกลงการค้า ท่ามกลางทำเนียบขาวส่งสัญญาณผสมผสานกัน
นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯมีการเจรจาข้อตกลงกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อวานนี้ ขณะที่ นายดริว แฮมมิล ผู้ช่วยของนางเพโลซี กล่าวในทวิตเตอร์ว่า “มีโอกาสที่ใกล้จะเกิดข้อตกลงในการช่วยเหลือกัน”
พร้อมระบุว่า นายมนูชิน “ค่อนข้างชัดเจน” ว่านายทรัมป์สนใจที่จะหาข้อตกลงร่วมกันสำหรับร่างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่จะพิจารณาในกรอบที่ประกอบด้วย สวัสดิการคนว่างงาน, การจ่ายเงินโดยตรง, การช่วยเหลือรัฐบาลท้องถิ่น และการช่วยเหลือสายการบินให้ยังสามารถจ้างงานได้ต่อ
ขณะที่นางแนนซีไม่มั่นใจต่อความต้องการของนายทรัมป์ที่ดูจะเป็นวงกว้าง ขณะที่สมาชิกบางรายเผยว่า รัฐบาลสหรัฐฯต้องการเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเรื่องการจ่ายเช็ค, เงินกู้ภาคธุรกิจขนาดเล็ก และเรื่องการช่วยเหลือสายการบิน แต่ไม่ไช่เป็นส่วนหนึ่งของแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมด
· ประธานเฟดสาขาบอสตัน ไม่คาดว่าจะเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในเร็วๆนี้ และอาจกระทบการฟื้นตัว
นายอีริค โรเซ็นเกร็น ประธานเฟดสาขาบอสตัน มองว่าไม่มีแนวโน้มจะเกิดมาตรการช่วยเหลือสำหรับภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจได้ในปีนี้ ขณะที่ระดับหนี้ของภาคบริษัทดูจะมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นและจะกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯจากภาวะถดถอย
· สถาบันการเงินส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ คาดจะเห็นเฟดเริ่มลดการเช้าซื้อพันธบัตรในปีหน้า ล่าจะสิ้นสุดการเข้าซื้อได้อย่างสมบูรณ์ประมาณช่วงครึ่งปีหลังของปี 2023
· ที่ปรึกษารัดบสูงของ J.P. Morgan ชี้ ตลาดมีแนวโน้มจะเปลี่ยนมา “ถือเงินสด” มากขึ้น ท่ามกลางมาตรการเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้เป็นความเสี่ยงหลัก
· CNBC ชี้ ภาวะ Second Wave จะส่งผลให้มีคนตกงานมากขึ้น ท่ามกลางการเจรจากระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังดำเนินไป
· รายงานประชุมอีซีบีมี สะท้อนถึงความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการขยายตัวมากขึ้น
จากรายงานการประชุมของอีซีบีประจำเดือนก.ย. พบว่า อีซีบีน่าจะมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และสมาชิกอีซีบีกำลังหารือกันถึงการรับมือเพิ่มเติม และกังวลว่าอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากยูโรแข็งค่าและอัตราการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ทั้งหมดนี้สามารถกดดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อได้
· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:
WHO รายงานภาพรวมยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกรายวันปรับตัวขึ้นเป็นประวัติการณ์ นำโดยยุโรปที่ระบาดหนักสุด
โดยยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกรายวันแตะ 338,779 รายเมื่อวานนี้ เรียกได้ว่าเพิ่มขึ้นมากสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกล่าสุดรวมสูงกว่า 36.73 ล้านรายและเสียชีวิตสะสม 1.06 ล้านราย
· เจ้าหน้าที่เยอรมนี เตือน ภายในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้าก็ยัง “ไม่สามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา” ได้
· รัฐบาลสเปนกำลังพิจารณาว่าจะกลับมา Lockdown หรือ ประกาศพื้นที่ฉุกเฉิน
· องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) อนุมัติฉุกเฉินให้บริษัท GenMark ทำการทดสอบเครื่องมือการตรวจหาไข้หวัด, ไวรัสโคโรนา และไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ
· คะแนนนิยมทรัมป์เรื่องการรับมือวิกฤตไวรัสโคราดิ่งลงเป็นประวัติการณ์ ขณะที่แพทย์ประจำทำเนียบขาว ระบุว่า การรักษาอาการไวรัสโคโรนาของนายทรัมป์เสร็จสิ้นแล้ว สามารถกลับสู่สาธารณชนได้ในวันเสาร์นี้
· ทรัมป์ปฏิเสธเข้าร่วมดีเบตประธานาธิบดีรอบ 2 ในวันที่ 15 ต.ค. และอยากเลื่อนดีเบตออกไปเป็นวันที่ 29 ต.ค. ให้เป็นการดีเบตครั้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งในช่วงต้นเดือนพ.ย.
· นายไบเดน ระบุว่า 22 ต.ค. ต้องเป็นการดีเบตครั้งสุดท้าย
· ประธานคณะกรรมาธิการอียู กล่าวว่าเจรจา Brexit กำลังเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญ ก่อนที่บรรดาผู้นำอียูจะร่วมประชุมกันสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 15-16 ต.ค.
· นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.05 - 31.25 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันค่าเงินบาทแกว่งในกรอบแคบๆ แต่ช่วงเย็นกลับมาแข็งค่าจากตอนเช้า น่าจะมาจากที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า เนื่องจากผลโพลล์ออกมาว่าไบเดนมีคะแนนนำทรัมป์
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- คณะราษฎร ออกแถลงการณ์ประกาศจัดการชุมนุมในวันที่ 14 ต.ค.นี้เป็นต้นไป ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน โดยเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี, ให้เปิดประชุมวิสามัญทันทีเพื่อรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจากประชาชน และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นำสถาบันกษัตริย์กลับมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตาม ครรลองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บล.ภัทร คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะหดตัวถึง -9% ถึง -7.5% ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งใหญ่นับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ขณะที่คาดว่าในปี 64 เศรษฐกิจไทย จะขยายตัวที่ระดับ 2.5-4% โดยปัจจัยสำคัญคือการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขณะนี้ยังมีความไม่แน่นอนสูงมากและสิ่งที่น่ากังวล คือ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังเติบโตต่ำกว่าระดับศักยภาพ การบริโภคภายในประเทศยังไม่คงที่
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.63 อยู่ที่ระดับ 50.2 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยมีสาเหตุสำคัญจากความกังวลเรื่องการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะการชุมนุมประท้วงของกลุ่มนักศึกษา ตลอดจนการลาออกจากตำแหน่งรมว.คลัง ของนายปรีดี ดาวฉาย ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดเงิน-ตลาดทุน
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาลในภาพรวมที่จะมีเม็ดเงินกว่า 1 แสนล้านบาท ออกมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาส 4 นี้ คาดว่าจะทำให้ GDP ไตรมาส 4/63 หดตัวน้อยลงเหลือ -4 ถึง -5% จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัว -6 ถึง -7% ซึ่งจะทำให้ภาพรวมจีดีพีปีนี้ หดตัวราว -7 ถึง -9% ขณะที่ปี 64 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้ 3-4%
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า มาตรการ "ช้อปดีมีคืน" คาดว่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายได้เพียงชั่วคราว และมีผลประโยชน์ต่อการจ้างงานค่อนข้างจำกัด ขณะที่ผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่อยู่ในระบบภาษี ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) อาจไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงเท่าใดนัก จากเงื่อนไขเวลาที่กำหนดไว้ในช่วง 23 ต.ค.-31 ธ.ค.63มาตรการดังกล่าวจึงช่วยกระตุ้นการบริโภคได้เพียงในช่วงเวลาที่กำหนด