- ทองลงเกือบ 2% ดอลลาร์แข็งค่า
ราคาทองคำปรับตัวลดลง 1.9% โดยเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 1,900 เหรียญ จากดอลลาร์แข็งค่า หลังกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มไม่ผ่านมติ ขณะที่รายงานไอเอ็มเอฟมีการปรับเพิ่มเศรษฐกิจแม้จะมองโอกาสที่อาจเห็นเศรษฐกิจอ่อนตัวได้
ราคาทองคำตลาดโลกปิด -1.7% ที่ระดับ 1,890.1 เหรียญ
สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด -1.8% ที่ 1,894.60 เหรียญ
SPDR เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาซื้อทองเพิ่ม 6.13 ตัน และเมื่อวานนี้ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม ปัจจุบันถือครองที่ 1,277.65 ตัน
ผู้อำนวยการฝ่ายซื้อขายโลหะที่ High Ridge Futures ระบุว่า ความล่าช้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงกดดันราคาทองคำอยู่
นักวิเคราะห์จาก OANDA กล่าวว่า ทองคำผันผวนจากการเจรจาข้อตกลงที่ล่าสุดยังตกลงกันไม่ได้จึงทำให้เกิดแรงเทขายในทองคำ แต่ก็ยังมองโอกาสเกิดข้อตกลงได้ในช่วงประมาณต้นปีหน้าและทองคำมีโอกาสขึ้นได้อีก
ราคาซิลเวอร์ปิด -4.4% ที่ระดับ 24.02 เหรียญ ด้านแพลทินัมปิด -1% ที่ 864.69 เหรียญ ขณะที่ราคาพลาเดียมปิด -3.8% ที่ระดับ 2,311.34 เหรียญ
- ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าจากวัคซีน และความหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจลดลง
ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่า เนื่องจากเหล่านักลงทุนหันมาระมัดระวังการลงทุน หลังจากที่บริษัท Johnson&Johnson หยุดชะงักจากการพบผู้เข้าร่วมทดสอบมีอาการป่วยที่ไม่อาจอธิบายได้ รวมทั้งความหวังที่ลดลงเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี
ดัชนีดอลลาร์เพิ่มขึ้น 0.528% ที่ระดับ 93.531 จุด เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่มากที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์
ด้านค่าเงินยูโรปรับลดลง 0.29% ที่ระดับ 1.1745 ยูโร/ดอลลาร์
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯดิ่ง เทรดเดอร์กังวลโอกาสเกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่เงินเฟ้อทรงตัว
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงมาแตะ 0.735%
- อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปี ลงมาแถว 1.524%
- อัตราผลตอบแทน2 ปี ปรับมาที่ 0.137%
นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาล่าง ส่งจดหมายถึงเพื่อนร่วมพรรคว่ายังไม่สามรถยอมรับข้อเสนอจากรีพับลิกันได้เนื่องด้วยข้อเสนอดังกล่าวขาดแคลนการเสนองบต่อประเด็นด้านสุขภาพ
- Goldman Sachs คาดดอลาร์อ่อนค่าจากภาวะ “Blue Wave” โดยนายไบเดนมีโอกาสชนะ ขณะที่เดโมแครตมีโอกาสสูงถึง 60% ที่จะครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาและแนวโน้มวัคซีน
กรณีวัคซีน:
บริษัท Pfizer คาดจะสรุปผลการทดสอบวัคซีนไวรัสโคโรนาเฟสที่ 3 ได้ประมาณช่วงสิ้นเดือน ต.ค. นี้
บริษัท Moderna ระบุว่า จะมีการเผยผลวิเคราะห์ครั้งแรกของการทดสอบวัคซีนเฟสที่ 3 ในเดือนพ.ย.
หากวัคซีนมีประสิทธิภาพสูง ก็อาจส่งผลให้เกิดการอนุมัติฉุกเฉินจากองค์การอาหารและยา (FDA) ประมาณช่วงสิ้นปีนี้
ทั้งหมดนี้ “มีความเสี่ยงจะกดดันดอลลาร์เชิงลบ” ในช่วงไตรมาสที่ 4/2020 และ Goldman Sachs แนะนำนักลงทุนให้ทำ Short เป็นลักษณะขายก่อนและรอซื้อกลับเมื่อราคาอ่อนตัว เนื่องจากมอง “ดอลลาร์อ่อนค่า” และการเปิด Long อาจเป็นการสวนทางกับแนวโน้ม
- ดร.ฟาวซี - ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจากทำเนียบขาว เตือน “สหรัฐฯอาจเผชิญปัญหาหนัก” จากการระบาด Covid-19 ที่จะเพิ่มขึ้นตลอดจนเข้าสู่ฤดูหนาวนี้
- สถาบันการเงินชั้นนำสหรัฐฯกังวลการค้านผลการเลือกตั้ง แม้โพลล์ส่วนใหญ่ชี้ “ไบเดน” มีคะแนนนำ
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯส่วนหนึ่งจะมีการนับคะแนนจากการโหวนผ่านไปรษณีย์อันเนื่องจากวิกฤตไวรัสโคโรนาที่ทำให้นายทรัมป์เคยกล่าวอ้างถึงการโกงการเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นได้โดยปราศจากหลักฐานยืนยัน
นักวิเคราะห์บางส่วนเชื่อว่า ชัยชนะของเดโมแครตจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจจากแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเม็ดเงินจำนวนมาก
แต่การคัดค้านผลเลือกตั้ง “จะเป็นปัญหาใหญ่” สำหรับการเลือกตั้งจากการที่เดโมแครตชนะ
ขณะที่สถาบันการเงินชั้นนำบางแห่งมองว่า หากนายทรัมป์แพ้ ก็จะส่งผลให้ระดับการจ่ายภาษีที่เพิ่มขึ้นกลับมาอีกครั้ง
UBS ระบุว่า แม้นักลงทุนจะมีความกังวลต่อ “Blue Wave” แต่ *การค้านผลเลือกตั้ง”* หรือ *”การเลื่อนการเลือกตั้งออกไป”* ดูจะน่าเป็นกังวลมากกว่า
Bank of America เผยผลสำรวจกว่า 61% ของนักลงทุนที่เชื่อว่าน่าจะเห็นการค้านผลคะแนนหลังเลือกตั้งแน่นอน
- ”แมคคอนเนล” กำหนดโหวตแพ็คเกจ Covid-19 แม้ “เพโลซี” ค้านข้อเสนอรัฐบาล
นายมิทช์ แมคคอนเนล ผู้นำเสียงข้างมากของวุฒิสภาสหรัฐฯ กล่าวว่า วุฒิสภาจะทำการโซจแพ็คเกจช่วยเหลือเศรษฐกิจจากไวรัสโคโรนาโดยมีเป้าหมายที่ 5 แสนล้านเหรียญในสัปดาห์หน้า ขณะที่เดโมแครตปฏิเสธร่างงบประมาณดังกล่าว
- หัวหน้านักกลยุทธ์การตลาดจาก Blue Line Futures กล่าวว่า จากที่มีการพูดคุยเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ นับ “ล้านล้านเหรียญ” ในวันนึง แต่อีกวันกลับมีการพูดถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดข้อตกลงหลัก “ล้านเหรียญ” แทน จึงดูเหมือนจะเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้เพียงเล็กน้อยก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และเป็นเหตุผลที่ “กดดันราคาทองคำ”
นักกลยุทธ์การตลาดอาวุโสจาก RJO Futures มองว่า “ทองคำมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น” หากนายไบเดน ได้รับชัยชนะ เนื่องจากเขาจะมีการใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาล แต่ความไม่แน่นอนที่ไม่อาจรู้ได้ในช่วงเลือกตั้งนี้ ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มาสนับสนุนราคาทองคำด้ว
- เงินเฟ้อสหรัฐฯดีขึ้น 0.2%
ข้อมูล CPI สหรัฐฯออกมาตามคาดที่ 0.2% แต่ภาพรวมก็ยังสะท้อนว่าเศรษฐกิจมีการชะลอตัวตั้งแต่เดือนส.ค. ดังนั้น จึงเป็นการยากที่จะหาข้อมูลที่แข็งแกร่งได้ในเดือนก.ย.
หัวหน้านักเศรษศาสตร์ มองว่าแม้ช่วงหลายเดือนมานี้จะมีแนวโน้มทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ภาพรวมข้อมูลในเดือนก.ย. ก็ค่อนข้างจะยากที่จะเห็นเศรษฐกิจเชิงบวก เพราะความต้องการใช้รถยนต์นอกประเทศก็ยังอ่อนแอ และโดยเฉพาะความกังวลต่างๆ และการจะเกิดเงินฝืด
- WHO ชี้ การระบาดของไวรัสโคโรนาอาจจบลงได้อย่างรวดเร็วหากมีเครื่องมือที่เหมาะสม
Financial Times เผย ผู้อำนวยการ WHO ชี้ การระบาดของไวรัสโคโรนาทั่วโลกอาจจบลงได้อย่างรวดเร็วหากนานาประเทศมีการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม แต่ก็กล่าวเตือนว่าเครื่องมือเหล่านั้นน่าจะยังไม่สามารถใช้ได้อีก *ท่ามกลางวัคซีน Covid-19 ที่ถูกคาดว่าจะเห็นผลในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า
- ธนาคารโลกอนุมัติงบ 1.2 หมื่นล้านเหรียญสำหรับวัคซีน Covid-19 และการรักษาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งงบดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงบ 1.6 แสนล้านเหรียญที่ทางธนาคารเตรียมให้การสนับสนุนและช่วยเหลือจนถึงเดือนมิ.ย. 2021
- การศึกษาวัคซีน Covid-19 ของบริษัท Johnson&Johnson หยุดชะงักจากการพบผู้เข้าร่วมทดสอบมีอาการป่วยที่ไม่อาจอธิบายได้
- IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีโลก แต่เตือนว่าเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มจะอ่อนตัวได้
IMF ประกาศปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจสู่แนวโน้มเชิงบวกมากขึ้นในปีนี้ แต่ก็อาจอ่อนตัวลงได้จากความไม่แน่นอนที่ยังคงมีอยู่ในระยะยาว และมองว่าการใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมจาก Covid-19 จะยาวถึงปี 2021 และจะเห็นการแพร่ระบาดลดลงในทุกพื้นที่ประมาณช่วงสิ้นปี 2022
คาดการณ์ IMF:
- จีดีพีโลกปีนี้จะหดตัวที่ -4.4% (เดิมคาด -4.9%)
- จีดีพีตลาดเกิดใหม่และเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา คาดหดตัวที่ -3.3% ในปีนี้
- จีดีพีอินเดียคาดดิ่งหนักกว่า -10% ปีนี้
- จีดีพีสหรัฐฯคาด -4.3% ในปีนี้
- จีดีพีอังกฤษ, ฝรั่งเศส, อิตาลี และสเปน ปีนี้คาดจะหดตัวราว -10%
นักวิเคราะห์จาก IMF ระบุว่า การฟื้นตัวยังมีความไม่แน่นอน เนื่องด้วยการระบาดของไวรัสโคโรนายังคงดำเนินต่อไป
อย่างไรก็ดี การที่รัฐบาลต่างๆมีการคงนโยบายเชิงผ่อนคลายเพื่อลด Gap ที่กว้างขึ้นในการกระจายรายได้ แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น
ระดับหนี้ของนานาประเทศอาจปรับขึ้นแตะ 125% ของจีดีพีในช่วงประมาณสิ้นปี 2021 ขณะที่กลุ่มตลาดเกิดใหม่อาจมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นประมาณ 65% ของจีดีพีในช่วงเดียวกัน
- IMF เตือน การปรับภาวะการลงทุนให้เหมาะสมในตลาดการเงินต่างๆ แม้ว่าจะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้
IMF เตือนว่า ตลาดหุ้นแทบทุกตลาดอาจชะลอตัวลงในอีกไม่กี่เดือนนี้หากวิกฤตไวรัสโคโรนายังดำเนินไป และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจใช้เวลานานกว่าที่ประเมินไว้
ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯแม้จะปรับขึ้นได้หลังทำต่ำสุดในเดือนก.ย. ที่ผ่านมา แต่ทิศทางเชิงบวกที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ถึงความย้อนแย้งกับทิศทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
อย่างไรก็ดี IMF เตือนว่า ในเวลานี้นักลงทุนเชื่อว่าตลาดหุ้นยังได้รับอานิสงส์จากนโยบายสนับสนุนทางการเงิน ซึ่งหากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจนั้นเลื่อนออกไป “มุมมองเชิงบวกของนักลงทุนจะลดลงตาม”
ดังนั้น นักลงทุนจึงควรปรับพอร์ตให้เหมาะสมจากความเสี่ยงด้านราคาของสินทรัพย์ที่ถือครองหรือความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นได้
- การประชุมประจำปีของ IMF และ World Bank กังวลการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก
บรรดาผู้นำทางการเงินระดับโลก ณ ที่ประชุมประจำปีของ IMF และธนาคารโลก (World Bank) กล่าวว่าเศรษฐกิจมีสัญญาณการฟื้นตัว และมีการรีบาวน์ได้ดีขึ้น แต่ก็เตือนถึงความล้มเหลวในการจัดการกับการระบาดของไวรัสโคโรนา จากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะก่อให้เกิดระดับหนี้จำนวนมาก ซึ่งประเทศยากจนบางแห่งอาจส่งผลให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเปราะบางมากขึ้น
- ผู้ว่าการบีโอเจพร้อมผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้น และจะคงเครื่องมือต่อไปเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก Covid-19
- โฆษกนายกฯอังกฤษ เผย อังกฤษจะทำงานหนักขึ้นสำหรับการทำข้อตกลงกับอียู กรณี Post-Brexit ให้ได้ใน 15 ต.ค. นี้
อย่างไรก็ดี อังกฤษจะทำการเตรียมตัวสำหรับการออกจากอียูโดยปราศจากข้อตกลงการค้าเสรีไว้ด้วยเช่นกัน
- อียูชนะข้อเรียกร้อง สามารถเก็บภาษีสินค้าสหรัฐฯภายใต้ เงื่อนไขของ WTO มูลค่า “4 หมื่นล้านเหรียญ” จากข้อพิพาทเรื่องสายการบิน
- อียูเพิ่มเงินกว่า 1 พันล้านยูโร (1.2 พันล้านเหรียญ) หนุนบริษัท Gilead ในการผลิตวัคซีน Covid-19 เป็นเวลา 6 เดือนสำหรับตัวยา Remdesivir ก่อนทราบผลการทดสอบครั้งสุดท้าย
- นายกฯอังกฤษเล็งใช้มาตรการเข้มงวดบางพื้นที่ของประเทศเพื่อจำกัดการระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะได้รับความไม่พอใจมากขึ้นจากผับต่างๆหรือประชาชนในการถูกจำกัดเสรีภาพอีกครั้ง
- ธนาคารกลางอังกฤษสอบถามความพร้อมของธนาคารต่างๆ หากต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาแถวระดับศูนย์หรือติดลบหากจำเป็น
- ผู้ว่าการบีโออี ไม่คิดว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะฟื้นตัวได้แบบ V-Shape จากความผันผวนของภาวะ Second Wave และประชาชนยังระมัดระวังต่อการใช้จ่ายและการเข้าสังคมหลังเผชิญไวรัสโคโรนา
- OECD ชี้ ความล้มเหลวในการเจรจาภาษีทั่วโลก อาจก่อให้เกิดผลกระทบกว่า 1 แสนล้านเหรียญ
OECD ระบุว่า เศรษฐกิจโลกอาจดิ่งลงไปกว่า 1% ของมูลค่าผลผลิต หากการเจรจาของนายาประเทศในการปรับภาษีล้มเหลว และกระตุ้นให้เกิด Trade War
อย่างไรก็ดั เกือบ 140 ประเทศทั่วโลกเห็นพ้องกันว่าจะทำการขยายเวลาเจรจาออกไปถึงช่วงกลางปีหน้า ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาและการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ดูจะลดความคาดหวังต่อการบรรลุข้อตกลงให้ได้ภายในปีนี้
- เศรษฐกิจสิงคโปร์หดตัว -7% เมื่อเทียบรายปีในไตรมาสที่ 3/2020
- Goldman Sachs คาด ชัยชนะของไบเดนจะช่วยหนุนราคาน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้น
- ตึงเครียดเหตุคนงานน้ำมันประท้วง อาจส่งผลให้การผลิตน้ำมันและแก๊สในประเทศนอร์เวย์ปรับตัวลดลงไปเกือบ 25%
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เผย OPEC+ เห็นพ้องต่อแผนผ่อนคลายข้อตกลงปรับลดกำลังผลิตตั้งแต่เดือนม.ค. เป็นต้นไป
- เวเนซูเอลาเพิ่มส่งออกถ่านหิน ท่ามกลางตึงเครียดกับสหรัฐฯในเรื่องคว่ำบาตรน้ำมัน
- OPEC ปรับลดอุปสงค์น้ำมันปีหน้าจากการระบาดของไวรัสที่เพิ่มขึ้น
OPEC คาดอุปสงค์น้ำมันโลกจะฟื้นตัวได้อย่างช้าๆในปีหน้า ประมาณ 6.54 ล้านบาร์เรล/วัน สู่ระดับ 96.84 ล้านบาร์เรล โดยชะลอจากคาดการณ์ก่อนหน้าประมาณ 80,000 บาร์เรล/วัน ท่ามกลางการระบาดของไวรัวที่เพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ดี การอ่อนตัวของอุปสงค์น้ำมันอาจกระทบต่อแผนของ OPEC+ ในการจะทยอยถอนการลดกำลังการผลิตครั้งประวัติการณ์ในปีนี้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการประกาศยกเลิกแผนปรับลดกำลังการผลิตเพื่อหนุนราคาน้ำมัน
- ”แนะเปิด Long” แม้จะยังมีการระบาดของ Covid-19 “แต่หุ้นจะขึ้นได้ต่อ” ไม่ว่าใครชะเลือกตั้ง
นายจิม เครเมอร์ พิธีกรด้านการลงทุนชื่อดังจาก CNBC ระบุว่า โครงสร้างต่างๆที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา น่าจะเป็นตัวหนุนให้ตลาดหุ้นขึ้นได้อย่างแข็งแกร่งต่อไปในระหว่างรอผลการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ
เพราะไม่ว่าใครจะชนะเลือกตั้ง *”ก็ต้องเกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่”*
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 31.10-31.40 บาท/ดอลลาร์ ตลาดจับตาดู สถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคณะราษฎร ในวันนี้
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ม็อบคณะราษฎร ประกาศเปลี่ยนเวลาชุมนุม จากบ่ายสองเป็น 8 โมงเช้า
- นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม นำทีมเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน รมว.คลัง และรมช.คลัง แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า วันนี้ได้นำทีมเศรษฐกิจมา เพื่อสร้างความมั่นใจในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม และที่ประชุมครม. ได้อนุมัติหลายโครงการ ได้แก่ มาตรการเติมเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, มาตรการ "คนละครึ่ง" ละมาตรการ "ช้อปดีมีคืน" และหลังจากนี้จะมีมาตรการเฉพาะกลุ่มทยอยออกมา
- ที่ประชุม ครม.เห็นชอบโครงการ "ช้อปดีมีคืน" ซึ่งเป็นโครงการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 63 สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 30,000 บาท โดยผู้มีเงินได้ที่จะใช้สิทธิต้องไม่ได้เป็นผู้ใช้สิทธิในโครงการ "คนละครึ่ง" หรือบัตรสวัสดิการของรัฐ