• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 15 ตุลาคม 2563

    15 ตุลาคม 2563 | Gold News

ทองขึ้นกว่า 1% ท่ามกลางดอลลาร์อ่อนค่า, และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

· ราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้ประมาณ 1% โดยรีบาวน์กลับได้หลังจากที่ปรับตัวลดลงเมื่อวานนี้ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกและการเลือกตั้งในสหรัฐฯ จึงช่วยหนุนความต้องการใน Safe-Haven


· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.7% ที่ระดับ 1,903.20 เหรียญ ขณะที่สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +0.7% ที่ 1,907.3 เหรียญ

· กองทุน SPDR เข้าซื้อทองคำเพิ่ม 0.29 ตัน ปัจจุบันเพิ่มการถือครองมาที่ 1,277.94 ตัน


· หัวหน้านักกลยุทธ์สินค้าโภคภัณฑ์จาก TD Securities กล่าวว่า ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงวานนี้ ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อ่อนตัว จึงช่วยหนุนทองคำให้ปรับขึ้นได้ ประกอบกับการที่แรงซื้อทางเทคนิคบางส่วนด้วย


นอกจากนี้ ตลาดยังตอบรับกับการจะเกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแน่นอนไม่ว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯคนต่อไป จากข้อเท็จจริงที่ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯในเวลานี้จำเป็นต้องมีการกระตุ้นทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม


· นักลงทุนกำลังให้ความสำคัญกับการหาเสียงของผู้ลงสมัครประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยโพลล์ส่วนใหญ่ล่าสุดยังชี้ว่า “นายไบเดน” มีคะแนนนำ แต่หลายๆฝ่ายก็มีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการเลื่อนเลือกตั้งออกไป


· นักกลยุทธ์การตลาดอาวุโสจาก RJO Futures กล่าวว่า ทองคำพยายามทดสอบ 1,900 เหรียญ แม้ว่าตลาดจะมีการหลุดต่ำกว่าลงมาในหลายๆครั้ง แต่ภาวะตลาดหมีก็ยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากยังคงมีความต้องการในทองคำจากสภาวะความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในเรื่องการเลือกตั้ง, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและ Brexit


· ราคาซิลเวอร์ปิด +0.5% ที่ 24.30 เหรียญ ขณะที่ราคาแพลทินัมปิด -0.7% ที่ 859.30 เหรียญ ทางด้านพลาเดียมปิด +1.2% ที่ 2,342.32 เหรียญ


· “มนูชิน” เผยการจะผ่านร่างแพ็คเกจ Covid-19 ให้ได้ก่อนเลือกตั้ง เป็นเรื่อง “ยาก”

นายมนูชินกล่าวว่าการจะบรรลุข้อตกลงกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ก่อนการเลือกตั้งนั้น “เป็นเรื่องยาก” โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องของการยอดรวมการช่วยเหลือในแต่ละรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น รวมทั้งงบประมาณสวัสดิการคนว่างงาน

ขณะที่วุฒิสภาสหรัฐฯ ซึ่งพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากมีกำหนดจะโหวตข้อเสนอเงินช่วยเหลือ 5 แสนล้านเหรียญในสัปดาห์หน้า และยอดดังกล่าวน่าจะถูกปฏิเสธจากทางสมาชิกพรรคเดโมแครต หลังจากที่ล่าสุดรีพับลิกันเสนอกรอบแพ็คเกจที่1.8 ล้านล้านเหรียญ แต่ก็ถูกปฏิเสธจากทางสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากเดโมแครตต้องการให้ข้อเสนอทางการเงินอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านเหรียญ


· “มนูชิน” เรียกร้องให้ IMF และ World Bank สนับสนุนการต่อสู้การระบาดของไวรัสและเรียกร้องให้ประเทศกลุ่ม G20 ปฏิรูปโครงสร้างหนี้และกรอบการดำเนินงาน


· รองประธานเฟด ชี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯจำเป็นต้องใช้เวลาอีกปีในการฟื้นคืนกลับสู่ช่วงก่อนระบาดของไวรัสโคโรนา

นายริชาร์ด แคลริด้า รองประธานเฟด กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจำเป็นต้องใช้เวลาอีกหนึ่งปีหรืออาจนานกว่านั้นจนกว่าจะกลับไปได้ก่อนช่วงเกิดการระบาด

อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าการใช้นโยบายของเฟดและสภาคองเกรสช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งการซื้อบ้าน, รถยนต์ และการลงทุนในซอฟแวร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ


· ประธานเฟดสาขาดัลลัสหนุนการช่วยเหลือคนด้อยโอกาสให้กลับมามีงานทำ หลังประสบกับวิกฤตไวรัสโคโรนา


· IMF ชี้ การเพิ่มมาตรการเศรษฐกิจสหรัฐฯจะช่วยหนุนการเติบโตในระยะยาว


· IMF คาดระดับหนี้พุ่งแต่จีดีพีจะมีเสถียรภาพ 100% หากการระบาดลดลงหนุนเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว

IMF ชี้ ค่าใช้จ่ายจำนวนมากของรัฐบาลต่างๆในการต่อสู้กับวิกฤตไวรัสโคโรนาจะส่งผลให้เกิดระดับหนี้สาธารณะพุ่งสูง 100% เต็มของผลผลิตทางเศรษฐกิจทั่วโลกในปีนี้ แต่เศรษฐกิจก็จะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งในปีหน้า

เครื่องมือ Fiscal Monitor คาดยอดขาดดุลงบประมาณรัฐบาลปีนี้จะสูงถึง 12.7% ของจีดีพี จากเดิม 3.9% หรือต่างกันประมาณ 9%

อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะเห็นระดับหนี้เพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ แต่ก็จะมีเสถียรภาพได้หลังจากปี 2021 และระดับหนี้ก็จะค่อยๆลดลงในปี 2025


· จับตาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2020:

- สำหรับการลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯครั้งนี้ จะมีประชาชนกว่า 10 ล้านคนมีการลงคะแนนเสียงผ่านทางไปรษณีย์ด้วยตนเอง เพื่อเลี่ยง Covid-19 จากการออกมาลงคะแนนเสียงพร้อมกั

- พบบัญชีทวิตเตอร์ต้องสงสัยหลายบัญชีที่อ้างถึง “ชาวผิวสีให้การสนับสนุนนายทรัมป์” ในการกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัย

- รีพับลิกันจะใช้การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุดมาโกยคะแนนเสียงอีกครั้ง รวมทั้งการสนับสนุนด้านสุขภาพ, การเมือง และการเพิ่มงบต่างๆ เพราะต้องการครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐฯอยู่

- ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่าง “อินเดีย” และ “สหรัฐฯ” ในยุคทรัมป์ อาจเผชิญความยากลำบากขึ้นหากทีมบริหารของ “นายไบเดย” ชนะที่อาจนำมาซึ่งความเข้มงวดในเรื่องสิทธิมนุษยชนกับทางอินเดีย


- มุมมองการลงทุน “หุ้นเอเชียอาจดิ่งลง” หากทำเนียบขาวและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯยังไม่สามารถตกลงกันได้สำหรับมาตรการช่วยเหลือฉบับใหม่

นักวิเคราะห์บางส่วน ลดความหวังจะเห็นการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯในเวลานี้ จนกว่าจะเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง


- Reuters/Ipsos เผย คะแนนนิยมล่าสุด “นายไบเดน” ยังนำนายทรัมป์อยู่ประมาณ 8 คะแนนในรัฐมิชิแกน แต่ “มีคะแนนสูสีกัน” ในรัฐนอร์ธแคโรไลนา


· สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา:

ล่าสุดมียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวมทั้งสิ้น 38.72 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 1.09 ล้าน ราย นำโดยสหรัฐฯที่มียอดผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 8 ล้านราย และผู้เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 220,000 ราย

ขณะที่ทาง WHO ออกโรงเตือนประเทศแคนาดาว่ากำลังเผชิญกับ “Second Wave” จากจำนวนยอดผู้ติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ WHO ยังกล่าวเตือนว่ากลุ่มคนหนุ่มสาวอาจไม่ได้รับวัคซีน Covid-19 จนกว่าจะถึงปี 2022 เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะมุ่งเน้นไปยังกลุ่มที่ภูมิต้านทานอ่อนแอกว่าอย่างในกลุ่มสูงอายุ หรือกลุ่มเสี่ยงต่างๆเป็นกลุ่มแรก


· ยุโรปเข้าสู่วิกฤต Second Wave

หลายๆประเทศในยุโรปกลับมาใช้มาตรการคุมเข้มและเริ่มปิดสถานศึกษาและยกเลิกการผ่าตัดต่างๆ จากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันในยุโรปที่มีค่าเฉลี่ยรวมสูงกว่า 100,000 ราย/วัน และมาตรการต่างๆที่นำกลับมาใช่ก็ดูจะสร้างผลเสียต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนและภาคธุรกิจ

ขณะที่ล่าสุดทางเยอรมนีกำลังพิจารณาว่าจะขยายเวลาใช้มาตรการออกไปจนถึงช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่หรือไม่ เพื่อควบคุมการระบาดจากการรวมกลุ่มขนาดใหญ่


· สมาชิกอีซีบี คาด มาตรการจำกัดการระบาดรอบใหม่ของยุโรปอาจส่งผลให้อีซีบีต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม


· อียู-อังกฤษเดินหน้าเจรจาต่อแม้จะมีกำหนดเส้นตายการเจรจาจากนายกฯอังกฤษภายในช่วงกลางเดือนนี้

ขณะที่กำหนดเส้นตายของข้อตกลงการค้าฉบับใหม่ระหว่าง 2 ฝ่ายต้องเกิดขึ้นให้ได้ก่อนสิ้นปีนี้ ท่ามกลางผู้นำอียูและอังกฤษจะจัดประชุมร่วมกันในวันนี้และวันศุกร์ เพื่อให้มีข้อตกลงใหม่ที่มีผลในวันที่ 1 ม.ค. 2021


· เจ้าหน้าที่เจรจาอียู ชี้ เจรจา Brexit ยังไม่สามารถตกลงกันได้ใน 3 ประเด็นหลัก

- การทำประมง

- ระดับขอบเขตที่สามารถดำเนินไป

- ระบบการปกครอง


· เจ้าหน้าที่จากอียูระบุว่า การประชุมอียูซัมมิทในเดือนพ.ย. จะไม่หยิบยก Brexit เข้าสู่วาระการประชุม


· OECD แนะอังกฤษควรเพิ่มการสนับสนุนคนว่างงานช่วง Covid-19 และเลื่อนการขึ้นภาษีออกไป


· รัฐมนตรีฯคลังเยอรมี แนะ อียูควรใช้โอกาสจาก WTO ต่อกรณี Boeing เพื่อลดตึงเครียดทางการค้าระหว่างอียู-สหรัฐฯ

หลังจากที่ WTO อนุมัติให้อียูสามารถเก็บภาษีสินค้ายุโรปได้ 4 พันล้านเหรียญ เพื่อตอบโต้กรณีข้อพิพาทสายการบินโบอิ้ง


· เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางจีน ระบุว่า เศรษฐกิจจีนไตรมาส 3/20 เติบโตได้ตามคาด จากความพยายามในการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อช่วยเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบ Covid-19


· ประธานาธิบดีจีน สนับสนุนการรวมประเทศกับฮ่องกง

นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เผยว่า ความไม่แน่นอนในอนาคตของฮ่องกงและความสัมพันธ์กับนานาประเทศของจีนที่เกิดขึ้นทำให้เขามองว่าเราควรร่วมมือกันดำเนินธรุกิจกับประเทศที่เหลือด้วยแนวทางของจีนเอง พร้อมเปิดกว้างสำหรับกลุ่มบริษัทจากต่างประเทศ ในขณะที่ฮ่องกงควรรวมเป็นหนึงกับจีนแผน่นดินใหญ่


· ล่าสุด “สี จิ้นผิง” ประธานาธิบดีจีนสั่งทหารเรือเตรียมพร้อมเปิดสงคราม

ประธานาธิบดีจีนเรียกร้องให้กองกำลังทหารเตรียมตัวเตรียมใจสำหรับสงคราม ที่ถูกตีความว่าเป็นเรื่องข้อพิพาททะเลจีนใต้กับทางไต้หวัน พร้อมระบุถึง กองทัพเรือต้องรับผิดชอบภารกิจสำคัญยิ่งในการปกป้องดินแดนและอำนาจอธิปไตย รวมทั้งผลประโยชน์ของกองทัพเรือและผลประโยชน์ในต่างแดน

ทั้งนี้ ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯยังคงทวีความรุนแรง จากการที่สหรัฐฯไม่เห็นด้วยต่อกรณีไต้หวัน และการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนเผยว่า จีนจะตอบโต้กรณีที่สภาคองเกรสของสหรัฐกำลังพิจารณาข้อตกลง 3 ฉบับที่สหรัฐจะจัดหาอาวุธล้ำสมัยให้ไต้หวัน ซึ่งมีการเรียกร้องให้ทาง “สหรัฐต้องยกเลิกแผนการขายอาวุธให้ไต้หวัน ยุติการทำข้อตกลงซื้อขายอาวุธ และตัดสัมพันธ์ทางการทหารทันที”


· นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.05 - 31.30 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทตอนเย็นกลับมาแข็งค่า คิดว่าข่าวม็อบอาจจะไม่ได้ส่งผลกับตลาดเงินมากเท่าตลาดหุ้น นักลงทุนน่าจะให้ความสำคัญกับ ปัจจัยต่างประเทศมากกว่า เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป ที่รอดูว่าจะมีความคืบหน้าเรื่อง Brexit อย่างไร


· อ้างอิงจากสำนักข่าวไทยรัฐ
ราชกิจจาฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพฯ โดยมีการประกาศล่าสุดในช่วงเวลาประมาณ 04.00น.วันนี้


· อ้างอิงจากสำนักข่าวโพสต์ทูเดย์

แกนนำม็อบคณะราษฎรประกาศยุติชุมนุมที่ทำเนียบฯตอนเช้า15ต.ค. นัดรวมตัวอีกรอบที่ราชประสงค์4โมงเย็นวันนี้ โดยวานนี้แกนนำประกาศข้อเรียกร้องในการชุมนุม ดังนี้

1.นายกรัฐมนตรีต้องลา

ออก

2.เปิดสภาสมัยวิสามัญเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ

3.ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์


· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- รมว.คลัง เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง เพื่อมอบนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยรับทราบการรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 63 และแนวโน้มของเศรษฐกิจในปี 64 ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะภาคการส่งออก ภาคบริการ และการท่องเที่ยว โดยคาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อเยียวยาและช่วยเหลือประชาชนกลุ่มต่างๆ อย่างเร่งด่วนเพิ่มขึ้น

- รมว.คลัง กล่าวถึงเหตุชุมนุมทางการเมืองที่อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ดังนั้นกระทรวงการคลัง ยังต้องเดินหน้าดูแลเรื่องศักยภาพและความมั่นคงในภาพรวมเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากวันนี้เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

- ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า โครงการแจกของขวัญปีใหม่ 64 จะเน้นไปยังกลุ่มประชาชนที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นคนละส่วนกับมาตรการช้อปดีมีคืน และคนละครึ่ง แต่ต้องขอเวลาศึกษารายละเอียดก่อน โดยเบื้องต้นจะเจาะกลุ่มผู้ว่างงาน ซึ่งขณะนี้มีตัวเลขอยู่ราว 1 ล้านคนที่จะเข้าไปช่วยก่อน

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมอนุญาตให้สามารถเปิดบัญชีเงินตราต่างประเทศ (FCD) โดยมีเงื่อนไขน้อยลง เช่น การขยายเพดานการเปิดบัญชีให้สามารถโอนเงินในบัญชี FCD ระหว่างกันในประเทศได้ รวมถึงหากไม่มีภาระหรือธุรกรรมรองรับก็สามารถเปิดบัญชี FCD ได้ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเห็นการผ่อนคลายหลักเกณฑ์ในเฟสแรกช่วงต้นปี 64

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมรับว่าการปล่อยสินเชื่อซอฟท์โลนของธปท.ในช่วงที่ผ่านมาทำได้ช้า และไม่สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบได้ทั่วถึง ซึ่งอาจมาจากแนวทางและเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อซอฟท์โลน ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อซอฟท์โลนของธปท.ได้ ดังนั้น ธปท.เตรียมพิจารณาปรับปรุงแนวทางและเกณฑ์ขอสินเชื่อดังกล่าวใหม่อีกครั้ง เพื่อทำให้สามารถปล่อยสินเชื่อดังกล่าวได้มากขึ้น และกระจายไปสู่ผู้ประกอบการได้ครอบคลุมมากขึ้น

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com