• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 19 ตุลาคม 2563

    19 ตุลาคม 2563 | Economic News
 

· ค่าเงินในแถบเอเชียปรับแข็งค่าขึ้น จากข้อมูลเศรษฐกิจจีนรีบาวน์

ค่าเงินในแถบเอเชียปรับตัวขึ้นจากการรีบาวน์ของข้อมูลเศรษฐกิจจีนหลังเผชิญ Covid-19 แม้ว่าตลาดจะมีความกังวลต่อการเลือกตั้งสหรัฐฯที่ยังหนุนให้ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ

จีดีพีจีนไตรมาสที่ 3โตได้ 4.9% ควบคู่กับข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนที่ขยายตัวได้ 6.9% และยอดค้าปลีกที่ดีกว่าคาดแตะ 3.3% ส่งผลให้หยวนในช่วงเช้าปรับแข็งค่ามากที่สุดรอบ 18 เดือนบริเวณ 6.6852 หยวน/ดอลลาร์ ก่อนที่ล่าสุดจะทรงตัวบริเวณ 6.6982 หยวน/ดอลลาร์

นักวิเคราะห์บางรายมองว่า เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตได้ดี จากส่งออกที่ดีขึ้น รวมทั้งการใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภคที่ดูจะเป็นไปในทิศทางบวกแม้ว่าจะยังเผชิญกับผลกระทบอยู่บ้างจากไวรัสโคโรนา

ค่าเงินดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวจากนักลงทุนที่ "กังวลต่อการระบาดของไวรัสที่มากขึ้นในสหรัฐฯ" และการปราศจากมาตรการกระตุ้นทางการเงิน

ค่าเงินยูโรทรงตัวได้เหนือระดับต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ บริเวณ 1.1713 ดอลลาร์/ยูโร

ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 105.40 เยน/ดอลลาร์

เงินปอนด์ทรงตัวท่ามกลางนักลงทุนที่ลดความหวังต่อการเจรจา Brexit


นักวิเคราะห์จาก Commonwealth Bank of Australia กล่าวว่า ดอลลาร์ยังคงมีทิศทางแข็งค่าอยู่ในสัปดาห์นี้ จากการที่ตลาดยังปราศจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและจำนวนยอดติดเชื้อที่ยังเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความกังวลถึงแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกด้วย


พรรคเดโมแครตและรีพับลิกันยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ ขณะที่นักลงทุนเริ่มให้ความสนใจไปยังหลังการเลือกตั้งมากกว่า


หาก "ไบเดน" ได้รับชัยชนะก็มีโอกาสเห็น "ดอลลาร์อ่อนค่า" จากการจะเกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่

นักวิเคราะห์จาก Barclays มองว่า ตลาดให้ความสนใจกับความเป็นไปได้ของโพลล์เลือกตั้งอยู่ แม้ว่าการดีเบตรอบสุดท้าย "จะมีผลต่อมุมมองสาธารณชน" ก็ตาม เนื่องจากความเสี่ยงหลักของตลาดคือ คะแนนที่สูสีกัน ดังนั้น จึงเกิดการลดโอกาสที่จะเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ให้เกิดได้จากชัยชนะของพรรคเดโมแครต แต่ มองแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นว่าอาจมีการ "ค้านผลเลือกตั้ง"


นักลงทุนส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับ "เหตุประท้วงในไทย" โดยค่าเงินบาท วันนี้อ่อนค่าต่อประมาณ 0.1% เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ


· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับขึ้นจากความหวังเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ

โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับขึ้นมาที่ 0.7573% ขณะที่ผลตอบแทนระยะยาว 30 ปีปรับขึ้นมาแตะ 1.5435%

นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎรสหรํฐฯ กล่าวว่า ถึงแม้จะมีข้อแตกต่างระหว่างเดโมแครต และผู้แทนเจรจาจากรัฐบาล แต่เธอก็คาดว่าน่าจะสามารถผลักดันร่างกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ก่อนเลือกตั้ง 3 พ.ย. นี้


· OCBC ยังคงหนุนมุมมองตลาดเกิดใหม่จะมีอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในระดับสูง

· นักวิเคราะห์บางรายยังแนะนำให้เข้าซื้อค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ


· "ทรัมป์" และ "ไบเดน" เรียกร้องกลุ่มผู้สนับสนุนให้ทำการโหวตผ่านไปรษณีย์ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ก่อนดีเบตรอบสุดท้ายในวันที่ 22 ต.ค. นี้

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เรียกร้องให้ประชาชนที่สนับสนุนตนเองในรัฐเนวาดาที่ได้รับบัตรลงคะแนนทางไปรษณีย์ให้ทำการลงคะแนนจัดส่งในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ขณะที่นายโจ ไบเดน ก็เรียกร้องกลุ่มผู้สนับสนุนของเขาในรัฐแคโรไลนาทำการลงคะแนนผ่านบัตรในวันนี้ ก่อนการดีเบตรอบสุดท้าย


· นักกลยุทธ์จาก Jefferies กล่าวว่า แม้จะใกล้เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯเข้ามา แต่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ขณะที่การเพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้ติดเชื้อไวรัสก็ดูจะส่งผลต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้


· ทีมบริหารนายทรัมป์ประกาศทำข้อตกลงกับทาง CVS และ Walgreens เพื่อส่งมอบวัคซีน Covid-19 ในการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ในระยะยาว


· ประธานอีซีบี ชี้ ยุโรปต้องไม่เลื่อนการอัดฉีดเงินในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

นางคริสติน ลาการ์ด ประธานอีซีบี กล่าวว่า ยุโรปต้องได้รับเงินในการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟู 7.5 แสนล้านเหรียญเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา และควรหารือเรื่องการเสริมสร้างเครื่องมือทางการเงินให้แก่ยุโรป

ขณะที่บรรดายุโรปมีความขัดแย้งรายละเอียดของโครงการระดมทุนและการให้เงินกู้เป็นระยะเวลาหลายปีสำหรับอียู ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงที่กระแสเงินสดอาจไม่เพียงพอต่อประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในเวลานั้


· อิตาลีประกาศร่างมาตรการเพื่อยับยั้ง Second Wave โดยจะใช้อำนาจการปิดพื้นที่บริเวณจตุรัสแควร์และตามท้องถนนหลัง 21.00น. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป


· จีนเผยจีดีพีไตรมาส 3 ขยายตัว 4.9% ต่ำกว่าคาด

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า จีดีพีจีนในไตรมาส 3/63 ขยายตัว 4.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการขยายตัวติดต่อกันสองไตรมาส โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ฟื้นตัวขึ้นจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา

อย่างไรก็ตาม การขยายตัว 4.9% ของจีดีพีจีนเป็นการขยายตัวที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของบรรดานักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 5.2% ในไตรมาส3 สะท้อนว่ายังมีปัญหาท้าทายหลายอย่างที่จีนต้องเผชิญในฐานะหนึ่งในกลุ่มประเทศที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก


· สถาบันวิจัยวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา ในญี่ปุ่นถูกโจมตีทางไซเบอร์

คราวด์สไตร์ค อิงค์ (Crowdstrike Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทความมั่นคงทางไซเบอร์ เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยบางแห่งของญี่ปุ่นที่กำลังพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาถูกโจมตีทางไซเบอร์ โดยคาดว่ามาจากจีน โดยเชื่อกันว่าเป็นกรณีแรกของประเทศ


· ญี่ปุ่น - เวียดนามบรรลุข้อตกลงการถ่ายโอนอุปกรณ์ด้านความมั่นคง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ที่ประกอบด้วยการส่งออกอุปกรณ์ทางการทหารและเทคโนโลยีในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของภูมิภาคจีน


· ฮ่องกง และสิงคโปร์จะประสบภาวะ "ฟองสบู่ด้านท่องเที่ยว" ในเร็วๆนี้

การเดินทางท่องเที่ยวที่จะกลับมาทำการอีกครั้งในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ของฮ่องกงและสิงคโปร์ อาจส่งผลให้เกิดภาวะ "ฟองสบู่ด้านท่องเที่ยว" จากการที่จะอนุญาตให้นักเดินทางไม่ต้องกักกันตัว

ดังนั้น "ทั้งสองประเทศที่เป็น ศูนย์กลางทางการเงินและภาคธุรกิจของเอเชีย" ต่างก็ยังได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

เลขาธิการกระทรวงพาณิชย์และการพัฒนาเศรษฐกิจฮ่องกง กล่าวว่า ข้อตกลงดังกล่าวก็น่าจะยังไม่สามารถช่วยให้การท่องเที่ยวระหว่าง 2 ประเทศผ่านทางสายการบินให้ฟื้นตัวได้เท่ากับช่วงก่อนการระบาด ขณะที่แนวคิดของการร่วมมือกันแบบทวิภาคี น่าจะส่งผลให้เกิดภาวะฟองสบู่ด้านการท่องเที่ยวทางสายการบิน ที่ต้องมีการเสริมความมั่นใจเรื่องความปลอดภัย, และเรื่องสาธารณสุขร่วมกับการอำนวยความสะดวกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


· เศรษฐกิจไทยเริ่มจะได้รับผลกระทบจากความวุ่นวาย ขณะที่กลุ่มนักลงทุนไม่สบายใจต่อความเสี่ยงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น

รายงานจาก Financial Times ระบุว่า ภาวะความเสี่ยงทางการเมืองของไทยดูจะเริ่มส่งผลกระทบต่อกลุ่มนักลงทุนในไทย เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่ามกลางการประท้วงของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ดูจะขยายจำนวนและวงกว้างมากขึ้น

ตลาดหุ้นไทยในช่วงสิ้นเดือนส.ค.ของปีนี้ พบ เม็ดเงินไหลออกนอกประเทศสูงประมาณ 7.8 พันล้านเหรียญ โดยจำนวน 2.3 พันล้านเหรียญออกจากตลาดพันธบัตร และภาพรวมตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาแล้วกว่า 20% ในปีนี้

ด้านค่าเงินบาทที่ค่อนข้างแข็งค่าได้ในช่วงก่อน Covid-19 เพราะได้รับแรงหนุนจากการสำรองเงินตราต่างประเทศและเม็ดเงินจากภาคการท่องเที่ยว แต่ในเวลานี้อ่อนค่าไปแล้วกว่า 6% เมื่อเท่ียบดอลลาร์

Eurasia Group ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยลงสู่ระดับติดลบ เนื่องจาก "สถานการณ์ทางการเมืองและแนวโน้มการปฏิรูปดูจะยิ่งแย่ลง" ขณะที่ที่ปรึกษาด้านการเมืองของบริษัทประเมินว่าไทยจะเผชิญความเสี่ยงทางการเมืองกว่า 35% ที่จะเกิดการลุกลามของกลุ่มผู้ประท้วงจนไม่สามารถควบคุมได้และจะยุติลงด้วยการลาออกของ นายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย

นักวิเคราะห์จากสิงคโปร์ เผยว่า หากพิจารณาดีๆ จะพบว่าตราสารหนี้ของไทยก็ยังมีความเสี่ยง ไม่ใช่เพราะเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่เสี่ยงที่สุด แต่เป็นเพราะแนวโน้มทางเศรษฐกิจของไทยที่ดูจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

· ผลสำรวจ Reuters ชี้ ธนาคารกลางออสเตรเลียมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยและขยายการเข้าซื้อพันธบัตรในเดือนพ.ย.

โดยคาดอาจหั่นดอกเบี้ยลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์แตะ 0.1% เพื่อหนุนการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ


· ราคาน้ำมันร่วงหลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีน ท่ามกลางนักลงทุนให้ความสนใจไปยังาข้อตกลงปรับลดการผลิตของ OPEC+

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงในวันนี้หลังจากรายงานจีดีพีจีนในไตรมาส 3/63 ขยายตัวต่ำว่าที่คาดการณ์ โดยเน้นถึงความกังวลว่าผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบต่อความต้องการของผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก

โดยการขยายตัว 4.9% ของจีดีพีจีนเป็นการขยายตัวที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของบรรดานักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 5.2% ในไตรมาสที่ 3

ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 20 เซนต์ หรือ 0.5% ที่ระดับ 42.73 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้านน้ำดิบ WTI ลดลง 19 เซนต์ ที่ระดับ 40.69 เหรียญ/บาร์เรล โดยทั้งสองสัญญาจะหมดอายุในวันอังคารนี้

ทั้งนี้น้ำมันดิบ Brent ปรับเพิ่มขึ้น 0.2% จากสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่ WTI เพิ่มขึ้น 0.7% หลังจากข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯลดลง

OCBC คาด กลุ่มนักลงทุนให้ความสนใจไปยังการประชุม JMMC ของกลุ่ม OPEC+ ในช่วงค่ำวันนี้ เพื่อหารือแนวทางการตัดสินใจว่าจะมีการเลื่อนแผนการปรับลดกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ระดับ 7.7 ล้านบาร์เรล/วัน ออกไปหรือไม่ หลังจากที่การประชุมวาระก่อนมองว่าจะเริ่มลดกำลังการผลิตให้เพียง 2 ล้านบาร์เรล/วัน โดยจะมีผลในช่วงเดือนม.ค. ปีหน้า

อย่างไรก็ดี ตลาดน้ำมันอาจรอจนถึงการประชุมของกลุ่ม OPEC+ วาระประจำวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. เพื่อดูบทสรุปการตัดสินใจอีกครั้


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com