• รายงานจาก Refinitiv เผย ธนาคารกลางมีการขายทองออกช่วงการระบาด Covid-19

    26 ตุลาคม 2563 | Gold News
  

ธนาคารกลางเปลี่ยนสถานะมาทำการขายสุทธิครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี ประมาณ 13 ตันในช่วงไตรมาสที่ 3/2020 ท่ามกลางการปราศจากการเข้าซื้อของรัสเซีย - จีน และอีกหลายๆประเทศที่มีการขายทองออกมาเพื่อต่อสู้กับ Covid-19 และสนับสนุนเศรษฐกิจ

ความต้องการทองคำลดลงประมาณ 30% แตะ 562 ตัน เมื่อเทียบรายปี ในช่วงไตรมาสที่ 3 จากสภาวะที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ความต้องการทองในรูปเครื่องประดับ (Jewelry) ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ จึงทำให้ความต้องการทั่วโลกลดลง 23% รวม 314 ตัน โดยเฉพาะใน 2 ประเทศที่มีการอุปโภคบริโภคอย่างมาก ได้แก่ จีนที่ลดลง -7% และอินเดียที่ -21%

แม้ตลาดหลายๆแห่งจะมีการเพิ่มการสำรองทองคำจากการคลาย Lockdown แต่ภาพรวมอุปสงค์ก็ยังอ่อนแอในทั่วทุกภูมิภาคสำคัญ ซึ่งหลายๆประเทศก็ยังต้องต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ยังเป็นปัญหาสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกในเวลานี้ รวมถึงอัตราการว่างงาน, รายได้ภาคครัวเรือน และความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค

ราคาเฉลี่ยทองคำไตรมาสที่ 3/2020 อยู่บริเวณ 1,909 เหรียญ หรือปรับขึ้นมาได้ประมาณ 27% จากช่วง 3 เดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีแล้ว

Refinitiv ย้ำว่าอัตราการปรับลดเริ่มชะลอจากช่วง 2 ไตรมาสก่อนหน้า เนื่องด้วยเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเปิดทำการหลัง Lockdown

อุปสงค์ทองคำในกลุ่มภาคอุตสาหกรรมปรับลงมากสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบรายปี โดยลดลงไปกว่า 9% ในช่วงไตรมาสที่ 3 เรียกได้ว่าปรับลงเป็นเท่าตัว

อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ดูจะมีการรีบาวน์ขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ หลังภาคการผลิตกลับมาดำเนินการอีกครั้ง แม้ว่าจะยังมีการปรับลงในบางส่วนประมาณ 9% เมื่อเทียบรายปี

การลงทุนในกลุ่มค้าปลรก ทั่งทองคำแท่งและเหรียญทองมึอุปสงค์สูงขึ้นเมื่อเทียบรายปี โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของเหรียญทอง จึงช่วยชดเชยการลงทุนในทองคำแท่งที่ปรับตัวลง

เหรียญทองปรับขึ้น 53% เกือบ 72 ตัน จากความกังวลวิกฤต Covid-19 ที่สร้างความผันผวนให้แก่ตลาดโลก รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของนักลงทุนรายย่อยที่ทำให้พรีเมียมปรับขึ้นเกินคาด

ความต้องการทองคำแท่งลดลงประมาณ 20% ต่ำกว่า 97 ตัน ถือเป็นระดับรายไตรมาสที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ที่เคยเกิดวิกฤตทางการเงินในปี 2008-2009

ที่มา: MiningWeek

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com