· ดอลลาร์แข็งค่าจากไวรัสระบาดหนัก และท่าทีระมัดระวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ค่าเงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุนในวันนี้จึงทำให้เราเห็นการรีบาวน์ต่อ โดยได้รับอานิสงส์จาก
- การเพิ่มขึ้นของยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาในยุโรปและสหรัฐฯ
- การปราศจากความคืบหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ
- เทรดเดอร์มีท่าทีระมัดระวังต่อการลงทุนมากขึ้น
ความหวังที่จะเห็นข้อตกลงการค้า Brexit ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยหนุนให้เงินปอนด์วันนี้ทรงตัวในทิศทางแข็งค่าบริเวณ 1.3024 ดอลลาร์/ปอนด์ และยังทรงตัวได้เหนือ 1.30 ดอลลาร์/ปอนด์
ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีไอร์แลนด์เหนือของอังกฤษ เผยว่า มีโอกาสดีที่จะทำข้อตกลงการค้ากับอียูได้
ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ติดต่อกัน 2 วันทำการเท่าที่เคยเกิดการระบาดในช่วงก่อน ขณะที่ฝรั่งเศสและสเปนประกาศภาวฉุกเฉิน และอิตาลีสั่งปิดร้านอาหารและบาร์ต่างๆภายใน 18.00น.
นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ คาดหวังว่าในวันนี้จะมีการพิจารณาแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็ดูจะมีสัญญาณเพียงเล็กน้อยที่จะเกิดข้อตกลงได้ในระยะเวลาอันใกล้
ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงมาที่ 104.85 เยน/ดอลลาร์
Over the weekend, Britain’s Northern Island minister said there was a good chance of a trade deal.
กระแส Blue Wave และ ธนาคารกลางต่างๆ
ในสัปดาห์นี้จะมีการประชุมของ 3 ธนาคารกลางใหญ่ๆ และ Final Polls การเลือกตั้งในสหรัฐฯ โดยมีคาดการณ์ว่า
- ธนาคารกลางแคนาดาและธนาคารกลางญี่ปุ่น จะมีการคงนโยบายในการประชุมวาระนี้
- ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) คาดว่าจะมีท่าทีระมัดระวังต่อทิศทางเงินเฟ้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่เสี่ยงจะทำให้เกิดการผ่อนคลายทางการเงินต่อไปได้
นักวิเคราะห์ค่าเงินจาก Commonwealth Bank of Australia กล่าวว่า มีความเสี่ยงที่นางคริสติน ลาการ์ด ประธานอีซีบี จะส่งสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินต่อในช่วงแถลงข่าวหลังจบการประชุม และอาจมีการกล่าวย้ำต่อภาวะความเสี่ยงขาลงที่เศรษฐกิจยูโรโซนกำลังเผชิญ ซึ่งมีแนวโน้มจะส่งผลให้ดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น
บรรดานักวิเคราะห์คาด “นายโจ ไบเดน” จะเป็นผู้ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งในสัปดาห์ โดยเฉพาะหากพรรคเดโมแครตสามารถครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาได้ด้วย ก็จะก่อให้เกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ แต่กลุ่มนักลงทุนก็เลือกจะรอดูอย่างระมัดระวัง
บรรดาผู้นำจีนจะทำการประชุมร่วมกันสำหรับแผนเศรษฐกิจระหว่างปี 2021-2025 โดยจะเริ่มต้นประชุมในวันนี้ ที่อาจมีการปรับลดหรือเพิ่มความยืดหยุ่นต่อเป้าหมายทางเศรษฐกิจได้
ค่าเงินหยวนหลังจากที่ปรับแข็งค่าไปแล้วกว่า 7% ตั้งแต่เดือนพ.ค. จากการที่จีนเป็นผู้นำในการฟื้นตัวจากวิกฤตไวรัสโคโรนาได้มากกว่าทั่วโลก และล่าสุดอ่อนตัวลงเล็กน้อยมาที่ 6.6852 หยวน/ดอลลาร์
ในวันนี้จะมีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่
- ความเชื่อมั่นเยอรมนี
- ข้อมูลที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ
· “ทรัมป์-ไบเดน” เข้าสู่สัปดาห์หาเสียงสุดท้าย ท่ามกลางการระบาดของ Covid-19 ที่เพิ่มขึ้น
นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต เหลือเวลาหาเสียงเพียง 8 วันทำการก่อนเข้าสู่เลือกตั้งในวันที่ 3 พ.ย. ท่ามกลางยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศที่พุ่งสูงขึ้น ประกอบกับข่าวล่าสุดที่รองประธานาธิบดีสหรัฐฯและทีมผู้ช่วยติด Covid-19 แต่ก็ยังให้ความสำคัญกับการแข่งขันในเวลานี้
ภาพรวมชาวอเมริกามีการส่งบัตรคะแนนผ่านทางไปรษณีย์ก่อนถึงกำหนดวันเลือกตั้งมาแล้ว 59.1 ล้านราย และถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการลงคะแนนผ่านวิธีการดังกล่าวที่มากที่สุด
นายไบเดน ถูกคาดว่าจะยังอยู่ในรัฐ Delaware และมีกำหนดการหาเสียงที่รัฐ Georgia ในวันพรุ่งนี้ โดยจะยุติการหาเสียงที่รัฐ Atlanta และ Warm Springs ซึ่งถือเป็นฐานเสียงสำคัญของทางเดโมแครต
· 4 ใน 10 ของกลุ่มผู้สนับสนุน “ไบเดน - ทรัมป์” น่าจะมีการไม่ยอมรับความพ่ายแพ้
Reuters/Ipsos Poll เผย ภาพรวมเสียงสนับสนุนกว่า 4 ใน 10 ของนายทรัมป์ และนายไบเดน กล่าวว่า พวกเขาน่าจะไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งที่ออกมาหากเกิดความพ่ายแพ้
โดยกลุ่มผู้สนับสนุน “ไบเดน” กว่า 43% เชื่อว่า นายไบเดนน่าจะไม่สามารถยอมรับชัยชนะของนายทรัมป์ได้
ชาวอเมริกากว่า 41% ก็เชื่อว่า นายทรัมป์ก็ไม่สามารถยอมรับความพ่ายแพ้ของตัวเองต่อนายไบเดนได้เช่นกัน
· สิงคโปร์ระงับการใช้วัคซีนไข้หวัดชั่วคราว หลังจากพชาวเกาหลีใต้สองรายเสียชีวิต
· การระบาดของไวรัสโคโรนา ดูจะส่งผลต่อการพึ่งพารูปแบบการลงทุนด้านข้อมูลและเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อเป็นการปรับใช้กลยุทธ์รับมือกับผลเชิงลบ
ข้อมูลจากสถาบันกานเงินสะท้อนว่า นักลงทุนกว่า 72% ต่างก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดย 12% ของนักลงทุนมองว่ารูปแบบการลงทุนของพวกเขามีความล้าสมัย ขณะที่ 15% กำลังสร้างรูปแบบการลงทุนแบบใหม่ โดยมีการพึ่งพา Algorithms มาวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังเพื่อ “คาดการณ์” ทิศทางต่อไป
· บีโอเจน่าจะคงนโยบาย ส่งสัญญาณขยายแพ็คเกจรับมือ COVID-19
ธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือบีโอเจ น่าจะคงนโยบายการเงินในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ แต่อาจมีสัญญาณการขยายแพ็คเกจการรับมือกับวิกฤตไวรัสโคโรนาที่กลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องมือพื้นฐานในการชุบเศรษฐกิจที่ดิ่งลึกเพราะได้รับผลกระทบจากการระบาดดังกล่าว
ภาพรวมบีโอเจอาจมีกาปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ แม้ว่าส่วนใหญ่สมาชิกบีโอเจจะยังไม่เห็นถึงความจำเป็นในการขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม จากมุมมองที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังฟื้นตัวได้อย่างปานกลาง ขณะเดียวกันตลาดก็คาดว่าบีโอเจน่าจะตรึงดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ -0.1% และอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ 0%
· น้ำมันดิบปรับตัวลดลงกว่า 1% ท่ามกลางการระบาดของ Covid-19 กดดันอุปสงค์
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงต่อในวันนี้ ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มมากขึ้นในสหรัฐฯและยุโรป ที่ถือเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจกระทบกับอุปสงค์น้ำมันได้ ประกอบกับแนวโน้มที่จะเห็นการเพิ่มขึ้นของอุปทานน้ำมัน ทั้งหมดนี้ยังกดดันความเชื่อมั่นนักลงทุนในตลาด
น้ำมันดิบ Brent ปรับลง 53 เซนต์ หรือ -1.3% ที่ระดับ 41.24 เหรียญ/บาร์เรล
น้ำมันดิบ WTI ปรับลง 53 เซนต์ หรือ -1.3% ที่ระดับ 39.32 เหรียญ/บาร์เรล
และภาพรวมน้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิดปรับตัวลดลงไปกว่า 1 เหรียญในช่วงเริ่มต้นตลาดซื้อขาย
ขณะที่สัปดาห์ที่แล้ว Brent ปิด -2.7% และ WTI ปิด -2.5%
นักวิเคราะห์จาก ANZ กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาในยุโรปและทางตอนเหนือของสหรัฐฯดูจะเป็นปัจจัยจำกัดการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน และสถานการณ์อาจแย่ลงไปอีก และ OPEC+ ไม่เลือกที่จะเลื่อนการเพิ่มกำลังการผลิตออกไป 1 หรือ 2 เดือนในการประชุมเดือนธ.ค.นี้
· นักวิเคราะห์ คาด การขึ้นภาษีอาจช่วยกลุ่มผลิตน้ำมันในรัสเซียจากข้อจำกัดการผลิตของ OPEC ได้
รายงานจาก Reuters ระบุว่า การปรับขึ้นภาษีในกลุ่มพลังงานของรัสเซียมีแนวโน้มจะช่วยบรรเทาผลกระทบให้แก่กลุ่มผู้ผลิตภายในประเทศ จากข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตมาเป็นเวลานานของ OPEC และชาติพันธมิตร
ทั้งนี้ ระบบภาษีใหม่ ที่ถูกอนุมัติโดย นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ดูเหมือนจะช่วยพยุงเศรษฐกิจรัสเซียที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา และทำให้ราคาในกลุ่มบริษัทพลังงานเพิ่มสูงขึ้น และอาจทำให้ภาคพลังงานของประเทศยอมให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามนโยบายการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+ ได้
OPEC+ มีการทำข้อตกลงการลดกำลังการผลิตที่ระดับ 7.7 ล้านบาร์เรล/วัน หรือกว่า 8.5% ของการอุปโภคบริโภคน้ำมันทั่วโลก เพื่อช่วยสนับสนุนตลาดน้ำมันทีทรุดตัว
นักวิเคราะห์จาก Bank of America Merrill Lynch คิดว่า การขึ้นภาษีในกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันดูจะให้ผลดีและช่วยให้กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันในรัสเซียผ่อนคลายขึ้นหลังถูกจำกัดการผลิตตามข้อตกลง OPEC+
· กุล่มผู้ชุมนุมกว่า 200,000 ราย ออกมาประท้วงใจกลางเมืองเบลารุส ท่ามกลางผู้นำประเทสที่เผชิญการขีดเส้นตายจากข้อเรียกร้อง โดยประชาชนยังคงออกมากดดันให้ประธานาธิบดีลาออกจากตำแหน่งในวันนี้
· ภาวะการเมืองในมาเลเซียผันผวน ท่ามกลางการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APCE ในเดือนพ.ย.นี้ โดยมีการประท้วงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาเลเซียทำการลาออก จากข้อสงสัยที่อาจให้การสนับสนุนกองกำลังหลังจากที่กษัตริย์มาเลฯ ปฏิเสธข้อเรียกร้องของเขาในการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนา
· สมาชิกพรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้ “ประยุทธ์ลาออก” ในการเปิดประชุมสภาวาระพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาจากข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อให้ทุกอย่างสงบและยุติลงโดยเร็ว