• “ไวรัสระบาด-ชุมนุมประท้วง” กดดันเศรษฐกิจไทยเป็นเท่าตัว

    27 ตุลาคม 2563 | Economic News

เหตุชุมนุมทั่วทั้งประเทศไทยอาจส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อเศรษฐกิจ ท่ามกลางการต่อสู้กับพิษเศรษฐกิจอันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่การรัฐประหารที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทยก็ดูยิ่งเพิ่มความวิตกกังวลมากยิ่งขึ้น

หลากหลายปัญหาในประเทศไทย

บทความของ DW.com ชี้ว่า เศรษฐกิจไทยหดตัวอย่างย่ำแย่ที่สุดในรอบกว่า 2 ทศวรรษในช่วงไตรมาสที่ 2/63 โดยดิ่งลึกถึง -12.2% จากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อ “การค้า” และ “การท่องเที่ยว”

กองทุน IMF คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้โดยองค์รวมจะหดตัวได้ -7.1% เรียกได้ว่าเป็นการ “หดตัวลงที่มากที่สุด” ในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะมีการรับมือและจัดการกับการระบาดได้ค่อนข้างดีก็ตาม

แต่ปัญหาเศรษฐกิจไทยก็ยังคงดิ่งลงในเชิงลึกก่อนการระบาดของไวรัสโคโรนา อันเนื่องจาก
- ความอ่อนแอของอุปสงค์ภายในประเทศ
- สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน
- ค่าเงินบาทแข็งค่า

การที่ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าได้เกือบ 10% ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนเป้าหมายปลายทาง โดยจะเห็นว่าชาวต่างชาติลดความสนใจต่อการท่องเที่ยวในทะเลไทยที่ขึ้นชื่อ หรือแม้แต่แหล่งท่องเที่ยวยาวค่ำคืน แต่กลับให้ความสนใจการท่องเที่ยวที่แปลกใหม่และการศึกษาวัฒนธรรมของ “เวียดนาม” แทน

“การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน” ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวในไทย และกระทบผลผลิตทางเศรษฐกิจไทยไปมากกว่า 10%

ภาพรวมการท่องเที่ยวในประเทศไทยลดลงจากวิกฤตไวรัสโคโรนาที่ลดจำนวนการท่องเที่ยวนอกประเทศลงแทบจะเป็น 0% ระหว่างช่วงเดือนเม.ย. และเดือนก.ย. จากช่วงเดียวกันในปีที่แล้วที่เคยสดใสและมีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศกว่า 18.5 ล้านคน

ดังนั้น ภาคการท่องเที่ยวไทยน่าจะไม่สามารถฟื้นตัวได้ในเร็วๆนี้ ถึงจะมีการเริ่มต้นเปิดรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเล็กๆที่ได้รับอนุมัติวีซ่าพิเศษ 90 วันก็ตาม เนื่องด้วยนักท่องเที่ยวคาดว่าต้องมีการกักกันตัวเองเป็นเวลา 14 วัน และมีการตรวจหาเชื้อไวรัสมากกว่า 3 ครั้ง จึงจะสามารถท่องเที่ยวได้อย่างเสรี

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียของ Capital Economics มองว่า ถือเป็นเหตุการณ์ที่ดีที่ไทยไม่มีนักท่องเที่ยวในเวลานี้ที่มี “เหตุการณ์ชุมนุม” เกิดขึ้น ดังนั้น จึงไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องการปรับตัวลดลงมากขึ้นของกลุ่มนักท่องเที่ยว แต่ความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้บริโภคและภาคธุรกิจจะได้รับผลกระทบไปเต็มๆ โดยเฉพาะ “หากการชุมนุมประท้วงยืดเยื้อเป็นเวลานาน”

ดังนั้น เหตุชุมนุมประท้วงจะยิ่งกดดันเศรษฐกิจและน่าจะส่งผลต่อจีดีพีประมาณ 0.5% โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการชุมนุมมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ประวัติศาสตร์ไทยกับเรื่อง “รัฐประหาร” และ “การประท้วง”

ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกสำหรับประเทศไทยที่จะมีความไม่สงบภายในประเทศ โดยจะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้นเกิดการทำรัฐประหารมาแล้วเกือบ 20 ครั้ง นับตั้งแต่ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบบรัฐธรรมนูญในปี 1932 (พ.ศ. 2475)

ในช่วง 2 ทศวรรษ (20 ปี) ก็พบว่ามีการประสบความสำเร็จในการทำรัฐประหารมาแล้ว 2 ครั้ง ท่ามกลางการประท้วงที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งภายในประเทศ

ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้

- ภาคการลงทุน
- ความเป็นไปได้ของประสิทธิผลทางเศรษฐกิจ
- บังคับให้เศรษฐกิจโตได้ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในแถบภูมิภาค

อ้างอิงจากข้อมูลของ World Bank เกี่ยวกับ Thailand Economic Monitor Report ในเดือนม.ค.

- ประสิทธิผลด้านการเติบโตของประเทศไทยปรับตัวลดลงกว่า 1.3% ในช่วง 6 ปี ตั้งแต่ปี 2010 – 2016 (พ.ศ. 2553 – 2559) หรือลดลงจากระดับ 3.6% ในปี 1999 – 2007 (พ.ศ. 2542-2550)

- การลงทุนในภาคเอกชนส่งผลให้จีดีพีไทยตกลงมากว่าครึ่งที่ 15% ในปี 2018 (พ.ศ.2562)จากระดับ 30% ในปี 1997 (พ.ศ. 2540)

บรรดานักวิเคราะห์จาก Capital Economics ชี้ว่า ภาคการลงทุนในประเทศไทยยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เท่ากับช่วงก่อนเกิดวิกฤตทางการเมืองในปี 2013-2014 (พ.ศ.2556 - 2557) ซึ่งเป็นช่วงที่นายประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและขยายอำนาจการควบคุม และวิกฤตนั้นได้ฉุดให้จีดีพีไทยปรับตัวลดลงกว่า 1%

ดังนั้น หากนักลงทุนกำลังมอบหาประเทศสำหรับการสร้างโรงงานในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “ควรเลือกเวียดนาม” เนื่องจาก

- เวียดนามมีสภาวะทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ
- เวียดนามมีค่าแรงต่ำ
- เวียดนามอยู่ใกล้ประเทศจีน

แต่หากพิจารณาการลงทุนหรือสร้างโรงงานในไทย จะพบว่า
- ไทยมีค่าแรงสูงกว่า
- ไทยอาจไม่มีโครงสร้างที่มีความเชื่อมโยงกับจีน
- มีความวุ่นวายทางการเมือง และมีความรุนแรงบ้างเป็นระยะ

ทั้งหมดนี้ จึงไม่น่าเป็นคำถามที่ต้องพิจารณาต่อว่าทำไมจึงเลือกประเทศไทย

ประเทศไทยจำเป็นต้องปฎิรูปโครงสร้าง

ผู้เชี่ยวชาญหลายราย ระบุว่า ประเทศไทยต้องมีการสนับสนุนประสิทธิผล โดยเฉพาะภาคการผลิต และการฟื้นการลงทุนในภาคเอกชน หรือแม้แต่ การลดความเสี่ยงให้แก่กลุ่มรายได้ชนชั้นกลาง แบบเดียวกับที่หลายๆประเทศไม่ต้องการเข้าสู่ภาวะยากจนเป็นเวลานาน แต่ก็ดูจะไม่มีรายได้และการเติบโตด้านประสิทธิผลที่เพียงพอที่จะผลักดันให้เป็นเช่นเดียวกับประเทศร่ำรวย

อย่างไรก็ดี แม้ว่านายประยุทธ์จะเพลิดเพลินกับอำนาจที่เหนือการควบคุม แต่นายประยุทธ์ก็ไม่ได้แสดงถึงความตั้งใจอย่างมากเพื่อให้เกิดการปฏิรูปต่างๆ อาทิเช่น

- การยกเลิกกฎหมายที่จำกัดการเข้าถึงของประเทศต่างชาติ
- การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีทักษะเฉพาะทางเข้าสู่ประเทศ

นอกจากนี้ ผู้นำไทยก็ไม่ได้ตอบสนองต่อการปรับลดลงของจีดีพีในช่วงที่เข้าสู่สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนามากนัก

ที่มา: Deutsche Welle (DW.com)
บทความนี้มาจาก: https://www.dw.com/en/thailand-protests-bangkok-prayuth-maha-vajiralongkorn/a-55400319

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com