ทองขึ้น - ดอลลาร์อ่อน กังวลวิกฤตไวรัสโคโรนา
· ราคาทองคำปิดปรับตัวสูงขึ้น เพราะได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์ที่อ่อนค่า ประกอบกับความกังวลเรื่องการเพิ่มขึ้นของยอดติดเชื้อ Covid-19 แม้ว่าจะมีความต้องการสินทรัพย์ Safe-Haven มากขึ้นแต่ทองคำก็ยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆเนื่องด้วยนักลงทุนรอคอยการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในสัปดาห์หน้า
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.4% ที่ 1,909.58 เหรียญ
สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +0.3% ที่ระดับ 1,911.90 เหรียญ
· กองทุน SPDR เมื่อวานนี้ทำการซื้อทองคำเพิ่ม 2.92 ตัน โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,266.72 ตัน
· หัวหน้าเทรดเดอร์จาก U.S. Global Investors กล่าวว่า ทองคำยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ และอาจจะไม่มีการแกว่งตัวมากนักก่อนการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
· นักลงทุนโดยส่วนใหญ่ยังมองทองคำเป็น “ขาขึ้น” จาก
- ความกังวลเรื่องไวรัสโคโรนา
- การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
- การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
และทั้งหมดนี้ เป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนให้นักลงทุนมีการเพิ่มทองคำในพอร์ตของตนเอง
· โอกาสการเกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯลดน้อยลงไป
· นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า ราคาทองคำยังมีแนวโน้มที่ค่อนข้างเป็น “ขาขึ้น” จากกระแสที่ว่า “Blue Wave” ได้รับชัยชนะ และจะมาพร้อมกับการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
· ราคาซิลเวอร์ปิด +0.6% ที่ 24.46 เหรียญ
· ราคาพลาเดียมปรับลง 0.5% ที่ระดับ 2,340.21 เหรียญ ขณะที่ราคาแพลทินัมปิด +1.6% ที่ 838.88 เหรียญ
· USBS คาดว่า ราคาพลาเดียมอาจขึ้นทดสอบ 2,600 เหรียญได้ประมาณช่วงกลางปีหน้า เพราะได้รับแรงหนุนจากภาวะตึงตัวในตลาดและการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
· ทำเนียบขาว ระบุว่า แพ็คเกจ Covid-19 “น่าจะเกิดขึ้นได้ในสัปดาห์หน้า” จึงยิ่งตอกย้ำความไม่แน่นอนที่ว่าข้อตกลงจากสภาคองเกรสได้ก่อนเลือกตั้ง 3 พ.ย.
โฆษกหญิงประจำทำเนียบรัฐบาล เผย มีโอกาสน้อยที่จะเกิดร่างข้อตกลงกระตุ้นเศรษฐกิจช่วง Covid ได้ก่อนเลือกตั้ง พร้อมระบุว่า นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ มีความต้องการมากเกินไป
นายมิทช์ แมคคอนเนล ผู้นำเสียงข้างมากของวุฒิสภาสหรัฐฯ เลื่อนการประชุมวุฒิสภาออกไปจนถึง 9 พ.ย. จึงยิ่งทำให้โอกาสในการบรรลุข้อตกลงในการเลือกตั้งนั้นลดน้อยลงไปอีก
· เชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯร่วงในเดือนต.ค. แตะ 100.9 จุด จาก 101.3 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่าอาจเห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ท่ามกลางความหวังเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เลือนราง
· ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งและเกินคาดในเดือนก.ย. โดยได้รับอานิสงค์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้า
แม้ว่าข้อมูลล่าสุด ควบคู่กับข้อมูลค้าปลีกและตลาดที่อยู่อาศัยที่ออกมาแข็งแกร่ง
แต่การปราศจากการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มของภาครัฐบาล และการระบาดรอบใหม่ในสหรัฐฯ ก็ทำให้บรรดานักเศรษฐศาสตร์เป็นกังวลว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆเหล่านี้จะชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 4/2020
ขณะที่ผลลัพธ์ของการเลือกตั้งในวันอังคารหน้าเป็นต้นไป ก็อาจทำให้ผู้ลงแข่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯทั้งสองค้านผลคะแนนได้ และนี่อาจยิ่งเป็นตัวกดดันภาคธุรกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค กระทบการฟื้นตัวและเสี่ยงจะเห็นการเติบโตแย่ที่สุดในรอบไม่น้อยกว่า 73 ปี
ผลสำรวจ Reuters/Ipsos Poll ชี้ว่า กลุ่มเสียงสนับสนุนทั้งสองฝ่ายกว่า 4 ใน 10 เชื่อว่าทั้งนายทรัมป์และนายไบเดน อาจไม่ยอมรับผลคะแนนโหวตในเดือนพ.ย. หากพวกเขาพ่ายแพ้
· ผู้ร่วมลงคะแนนโหวตเลือกตั้งสหรัฐฯมีการจัดส่งทางไปรษณีย์แล้วกว่า 70 ล้านราย สูงสุดเป็นครั้งประวัติศาสตร์การลงคะแนนผ่านบัตรเลือกตั้ง
· ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกพุ่งทะลุ 44 ล้านราย และมียอดเสียชีวิตที่สูงกว่า 1.17 ล้านราย ท่ามกลางสหรัฐฯที่ยังครองอันดับหนึ่งและมีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มมา 74,993 ราย ทำให้ยอดรวมเวลานี้ทะลุ 9 ล้านราย มาที่ 9.03 ล้านราย ด้านยอดเสียชีวิตสะสมในสหรัฐฯอยู่ที่ 232,085 ราย
· Pfizer เผยวัคซีนใกล้สมบูรณ์ – CEO ยังไม่พร้อมเปิดเผยข้อมูลในเดือนนี้
หุ้นบริษัท Pfizer ร่วง 1% ที่ 36.49 เหรียญ หลังบริษัทยังไม่พร้อมเปิดเผยข้อมูลวัคซีน Covid-19 สวนทางกับที่ก่อนหน้านี้ CEO ของบริษัทเคยกล่าวไว้ว่า ไม่ว่าวัคซีนจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็สามารถเปิดเผยข้อมูลได้เร็วสุดภายในเดือนนี้
ล่าสุด CEO บริษัท Pfizer เผย อาจสรุปข้อมูลวัคซีนก่อนเปิดเผยสู่สาธารณชนในอีกประมาณ 1 สัปดาห์ ดังนั้น จึงสะท้อนว่าจะยังไม่มีแนวโน้มเผยข้อมูลวัคซีนได้ก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในวันที่ 3 พ.ย. นี้
· Merk&Co คาดข้อมูลวัคซีน Covid-19 น่าจะเปิดเผยได้ในปีนี้
บริษัท Merk&co คาดหวังว่ารายงานผลทดสอบวัคซีนจากความเป็นไปได้ในการศึกษาวัคซีน Covid-19 ทั้ง 2 ชนิดจะเปิดเผยได้ก่อนสิ้นปีนี้จากการทดลองในขั้นตอนสุดท้าย
ขณะที่เบื้องต้นไม่ว่าวัคซีน V591 จะแสดงให้เห็นว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการรับมือกับการระบาดได้ในกลุ่มผู้ร่วมทดสอบได้หรือไม่ บริษัทก็คาดว่าน่าจะเผยข้อมูลได้ประมาณสิ้นปีนี้
· ยุโรปกลับมาให้ความสำคัญกับมาตรการจำกัด Covid-19 รอบใหม่ หลังยอดติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก
รัฐบาลต่างๆในยุโรปมีการกำหนดมาตรการจำกัดการระบาดรอบใหม่ หลังมียอดติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกับหาทางเตรียมช่วยเหลือภาคธุรกิจและเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด
ทั้งนี้ บรรดาผู้นำทั่วโลกเผชิญกับความยากลำบากที่เพิ่มมากขึ้นในการรับมือกับไวรัส และพยุงเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบท่ามกลางความหวังว่าจะเกิดวัคซีน แม้จะยังไม่เห็นในเวลานี้ก็ตาม
· ธนาคารกลางอังกฤษจะกลับมาอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม
ธนาคารกลางอังกฤษ หรือ บีโออี มีแนวโน้มจะกลับมาเพิ่มการเข้าซื้อพันธบัตรอีกประมาณ 1 แสนล้านปอนด์ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในสัปดาห์หน้า (5 พ.ย.) และนี่จะถือเป็นครั้งที่ 3 ที่มีการหนุนเศรษฐกิจสู้ Covid-19
การเพิ่มเม็ดเงินดังกล่าวจะส่งผลให้ภาพรวมให้บีโออีมีการเข้าซื้อพันธบัตร 8.45 แสนล้านปอนด์ (1.10 ล้านล้านเหรียญ) ถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการระบาดของไวรัส
ขณะที่ผู้ว่าการบีโออีและสมาชิก ยังไม่มีแนวโน้มที่จะดำเนินขั้นตอนการลดดอกเบี้ยลงต่ำกว่าศูนย์เป็นครั้งแรก ดังนั้น จึงทำให้นักลงทุนไม่น่าจะเห็นโอกาสในการเปลี่ยนนโยบายดอกเบี้ยได้จนกว่าจะเข้าสู่ปี 2021
สำหรับจีดีพีอังกฤษแม้จะได้รับการสนับสนุนด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรของบีโออี ควบคู่กับการเพิ่มค่าใช้จ่ายของภาครัฐที่น่าจะก่อให้เกิดยอดขาดดุลขยายตัวได้ราว 20% ของจีดีพีในปีนี้
· “ไมค์ ปอมเปโอ” รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ เผย อินเดียและสหรัฐฯร่วมลงนามข้อตกลงต้านภัยคุกคาม อันหมายรวมถึงจีนด้วย
ขณะเดียวกันสหรัฐฯ เตือนว่า การลงนามข้อตกลงทางทหารดังกล่าวอาจส่งผลให้เห็นการคุกคามจากจีนได้
· นักบริหารเงิน คาดวันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.10-31.30 บาท/ดอลลาร์ ช่วงนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา โดยปัจจัยเดิมเป็นเรื่องการรอผลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯและสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวว่า การที่ไม่ลาออกจากตำแหน่งตามข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม ไม่ได้ต้องการรักษาอำนาจ แต่หน้าที่ยังไม่จบ
- กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้มีประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งกว่า 9.4 ล้านคน และมีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการกว่า 3.8 แสนร้านค้า ซึ่ง ณ วันที่ 26 ต.ค. 63 มียอดการใช้จ่ายสะสม 704.5 ล้านบาท
- รมว.คลัง ชี้แจงในการประชุมร่วมรัฐสภาสมัยวิสามัญที่มีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติถึงกรณีที่มีสมาชิกรัฐสภาระบุว่าไทยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำสุดในอาเซียน โดยยืนยันไม่เป็นความจริง เพราะทุกประเทศในอาเซียนได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ การส่งออกติดลบ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ประกอบกับงบประมาณปี 63 มีความล่าช้าทำให้โครงการลงทุนต่างๆ ล่าช้าไปด้วย
- อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงยอดการจดทะเบียนธุรกิจว่า ในเดือนก.ย. 63 มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ 5,636 ราย ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 19%
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ตั้งเป้าภายในปี 66 การออกหุ้นกู้เกี่ยวข้องกับ ESG ของธนาคารจะเพิ่มเป็นมากกว่า 3หมื่นล้านบาท
- ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารได้ออก "สินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน" โดยมีแนวคิดในการเป็นตัวเลือกที่ยุติธรรมแก่ผู้ประกอบการ ให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่เป็น SMEs สามารถใช้โฉนดที่ดินมาเป็นหลักประกันการกู้เงิน วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปเสริมสภาพคล่องให้กับกิจการ หรือนำไปไถ่ถอนจากสัญญาขายฝากที่ทำไว้ โดยมีวงเงินโครงการ 10,000 ล้านบาท