· ยูโรอ่อนค่าจากกังวล Lockdown สู้ไวรัส กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน
ค่าเงินยูโรปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ หลังจากที่มีรายงานว่ารัฐบาลฝรั่งเศสมีแนวโน้มจะกลับมาใช้ Lockdown เพื่อจำกัดการระบาดของไวรัสโคโรนาที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น
ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงจากที่ปรับแข็งค่าในช่วงต้นตลาด ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า
นักวิเคราะห์บางรายไม่คาดว่าจะเห็นดอลลาร์แข็งค่าขึ้นไปมากกว่านี้เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ เนื่องด้วยตลาดน่าจะรอดูการตอบรับหลังจบเลือกตั้งอีกครั้ง
ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.14% ที่ 1.1780 ดอลลาร์/ยูโร ปรับอ่อนค่าลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3
ค่าเงินปอนด์ทรงตัวบริเวณ 1.3043 ดอลลาร์/ปอนด์ ท่ามกลางตลาดที่ยังหวังจะเห็นข้อตกลงการค้าระหว่างอังกฤษกับอียู
ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมาแถว 104.23 เยน/ดอลลาร์ ถือเป็นระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 1 เดือน
เหล่าเทรดเดอร์จับตาความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดค่าเงินอยู่ จากการระบาดของไวรัสโคโรนาในยุโรปและอังกฤษ รวมไปถึงสหรัฐฯ ที่ดูจะสร้างความวิตกกังวลในเรื่องการเติบทางเศรษฐกิจอีกครั้ง
ความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์ อ่อนค่าลงหลังจากที่นายทรัมป์ถึงจะแสดงความต้องการให้เกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในวงเงินที่สูงขึ้น แต่ก็ไม่มีแนวโน้มจะทำให้เกิดข้อตกลงได้ก่อนการเลือกตั้ง
ค่าเงินหยวนอ่อนค่าไปแตะ 6.7097 หยวน/ดอลลาร์ โดยเป็นการอ่อนค่าจากที่ทำระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 27 เดือนที่ทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากธนาคารกลางจีนมีการจำกัดค่าเงินหยวนให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
· จับตาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
บรรดดาเทรดเดอร์มีมุมมองว่า ความสนใจครั้งสำคัญอยู่ “สหรัฐฯ” เนื่องด้วยมีการระบาดของไวรัสโคโรนาในช่วงก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 3 พ.ย. นี้
ขณะที่ Polls ส่วนใหญ่ สะท้อนว่า นายโจ ไบเดน คู่แข่งจากพรรคเดโมแครตยังคงมีคะแนนนิยมนำ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานิบดีสหรัฐฯ แต่นักลงทุนบางส่วนก็เป็นกังวลว่า Polls จากหลายๆสำนักอาจจะไม่สามารถคาดเดาชัยชนะของนายทรัมป์ได้เหมือนการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว
· ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มสูงขึ้นในรัฐสำคัญ “Swing States” และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นต่อ
การลงชิงตำแหน่งของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายโจ ไบเดน คู่แข่งจากพรรเดโมแครตที่เหลือเวลาอีกไม่ถึง 1 สัปดาห์ก่อนเข้าสู่วันเลือกตั้ง ก็ดูเหมือนรัฐสำคัญทั้ง 12 แห่งจะเผชิญกับการระบาดของไวรัสโครนาอย่างหนัก
ขณะที่มีรายงานว่าการลงคะแนนผ่านบัตรเลือกตั้งของชาวสหรัฐฯจัดส่งมาแล้วกว่า 69 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าครึ่งหนึ่งที่เคยมีการลงคะแนนผ่านบัตรในปี 2016 ที่อาจเป็นเพียง 1 ใน 3 ของปีนี้
แต่การเพิ่มขึ้นของยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาก็ดูจะสงผลต่อการเลือกตั้ง และอาจส่งผลต่อคะแนนรายบุคคลในบางรัฐสำคัญดังกล่าวด้วย
· อียู เตือน วัคซีน Covid-19 อาจไม่เพียงพอสำหรับทุกคนในยุโรปจนกว่าจะถึงปี 2022
เจ้าหน้าที่อียูมีการประกาศว่าประชาชนทุกคนในยุโรปอาจไม่สามารถได้รับวัคซีนทั่วถึงทุกคนได้ก่อนปี 2022 แม้ว่าวัคซีนจะมีประสิทธิภาพและพร้อมใช้งาน เนื่องด้วยประชาชนในแถบยุโรปมีรวมกันกว่า 450 ล้านคน แต่วัคซีนชุดแรกที่ผลิตได้จะมีประมาณ 1 ล้านโดส จาก 3 บริษัทผู้ผลิตยา และทางอียูกำลังมีการเจรจาเพื่อจองนับพันล้านโดสจากบริษัทอื่นๆเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ทั่วทุกมุมโลกต่างก็เผชิญกับไวรัสเจ้าปัญหาตัวนี้ ดังนั้น จึงขอเตือนว่าทุกคนๆอาจไม่ได้รับวัคซีนอย่างพร้อมเพรียงกันทุกคน
· ธนาคารกลางออสเตรเลียถูกเผยผลประชุมออกมาถูกคาดว่าจะมีการคงดอกเบี้ยระดับต่ำและมีการขยายการเข้าซื้อตราสารหนี้เพิ่มในการประชุม 3 พ.ย.นี้
· ผู้เชี่ยวชาญชี้ “จีน” เป็นคู่แข่งทางการค้าสหรัฐฯ ไม่ใช่ “ศัตรู”
ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย Georgetown กล่าวว่า นายโจ ไบเดน ผู้ชิงตำแหน่งประธานาธฺบดีสหรัฐฯจากทางพรรคเดโมแครต ดูจะมีการวางจีนให้เป็น “คู่แข่งทางการค้า” มากกว่าจะเป็นศัตรู
ขณะที่นายทรัมป์ ดูจะพยายามหาหลายๆวิธีทางมากำจัดจีน และยังมองว่าจีนนั้นเป็น “ศัตรู”
โดยส่วนตัวเขาคิดว่า “นายไบเดนคิดถูก” ในแง่ของการเป็นคู่แข่งคนสำคัญทางการค้าของประเทศมากกว่าเล็งเห็นถึงความสัมพันธ์ในเชิงการเป็นศัตรูระหว่างกัน แลจะเป็นการดีกว่าหากเรามีการเกี่ยวข้องกันในการค้าตามจำเป็น เพื่อพยายามให้เกิดความสัมพันธ์และร่วมมือกันให้เกิดผลประโยชน์เท่าที่จะเป็นได้
· ฮ่องกงผ่อนปรนมาตรการเว้นระยะห่าง แต่ต้องสวมหน้ากากอนามัย
รัฐบาลฮ่องกงประกาศผ่อนปรนมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 30 ต.ค.นี้เป็นต้นไป
ชายหาดสาธารณะจะเปิดอย่างเป็นทางการอีกครั้งตั้งแต่วันอังคารที่ 3 พ.ย.โดยมีกฎระเบียบเกี่ยวกับ social distancing อย่างต่อเนื่องรวมถึงการสวมหน้ากากอนามัยและข้อจำกัดในการรวมกลุ่ม
· Credit Suisse แนะลงทุนในเอเชียจากความแข็งแกร่งในช่วง Second Wave
นักกลยุทธ์จาก Credit Suisse กล่าวว่า ขณะที่หลายๆประเทศทั่วโลกเผชิญกับภาวะ Second Wave จากไวรัสโคโรนา แต่ก็ดูเหมือนผลกระทบต่อ “เอเชีย” จะเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องด้วยภาพรวมของภูมิภาคนี้ยังแข็งแกร่ง
นักกลยุทธ์ตลาดหุ้นประจำภูมภาคเอเชียแปซิฟิก ระบุว่า ค่อนข้างชัดเจนที่เห็นว่าเอเชียนั้นเป็นไปอย่างแข็งแกร่งแม้ว่าจะเกิดภาวะ Second Wave ในตลาดกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วหรือทางชาติตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯที่มียอดติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา คู่กับหลายๆประเทศในยุโรปที่ยังเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เขาแนะนำความน่าสนใจไปยัง “เกาหลีใต้” เนื่องด้วยมีวิธีการรับมือที่ค่อนข้างดี และไม่คิดว่าจะมีปัญหาภายในประเทศมากนัก รวมถึงเรื่องการระบาดภายในประเทศด้วย ขณะที่แนวโน้มการส่งออกของประเทศก็มีการฟื้นตัว
นอกจากนี้ ยังแนะนำประเทศอื่นๆในแถบเอเชีย อาทิ “ออสเตรเลีย” และ “สิงคโปร์” ที่ดูจะมีการระบาดภายในประเทศที่ค่อนข้างต่ำ
อย่างไรก็ดี เราก็ยังพิจารณาไปยังประเทศที่มีความเสี่ยงสูงกว่า และได้รับผลกระทบมากขึ้น อาทิเช่น “ฮ่องกง” หรือ “ไทย” ที่ดูจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากวิกฤตไวรัสโคโรนา เว้นแต่จะมีข่าวดีเรื่องวัคซีน Covid-19 ในเฟสที่ 3
แนวโน้มทั่วโลก
หัวหน้านักกลยุทธ์ฝ่ายการตลาดจาก J.P. Morgan Asset Management เตือนถึงการเผชิญความเสี่ยงอยู่สำหรับเรื่องหนี้สินของภาคบริษัท หากสหรัฐฯยังไม่มีการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เนื่องด้วยยังมีความไม่แน่นอนอย่างมากจากทางทำเนียบขาว และความไม่ชัดเจนว่ารีพับลิกันจะสามารถผลักดันข้อตกลงร่วมกับทางเดโมแครตให้ได้ก่อนเลือกตั้งนี้ ซึ่งหากภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็ดูเหมือนตลาดสินทรัพย์ต่างๆในตลาดเกิดใหม่ จะได้รับอานิสงส์ที่มากกว่า เนื่องด้วยระดับหนี้สินของสหรัฐฯและยุโรปยังอยู่ในระดับสูง
หากทิศทางเศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปในปี 2021, 2022 และหลังจากนั้น ก็จะส่งผลให้ ตลาดเกิดใหม่มีทิศทางเติบโตที่ดีกว่า ซึ่งหากดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าอีกก็จะยิ่งเป็นข่าวดีที่จะเห็นสินทรัพย์ทั้งหมดในตลาดเกิดใหม่ ไม่เว้นแม้แต่สินทรัพย์คงทนหรือตลาดหุ้น
· วันคนโสดของอาลีบาบา บ่งชี้ว่าแนวโน้มของกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนจะมีการใช้จ่ายเงินเพิ่ม และมีการลดการเข้าซื้อสินค้าจากสหรัฐฯแทน
· อินเดียจะได้รับการเข้าถึงข้อมูลดาวเทียมของสหรัฐฯ ที่จะเสริมศักยภาพทางการทหารและขีปนาวุธได้แม่นยำมากขึ้น
· น้ำมันดิบปรับลง 2% ท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ – กังวลอุปทานล้นตลาด
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงไปประมาณ 2% โดยอ่อนตัวลงอีกครั้งในวันนี้ หลังจากที่ปิดแดนบวกได้เมื่อคืน โดยเป็นผลมาจาก
- สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
- จำนวนยอดผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ และยุโรปที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก
- กังวลอุปทานน้ำมันล้นตลาด
- ความอ่อนแอของอุปสงค์พลังงาน
น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลง 76 เซนต์ หรือ -1.8% ที่ 40.44 เหรียญ/บาร์เรล
น้ำมันดิบ WTI ปรับลง 90 เซนต์ หรือ -2.3% ที่ 38.67 เหรียญ/บาร์เรล
ข้อมูลจาก API สะท้อนว่า สต็อกน้ำมันดิบและแก๊สโซลีนปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้นเกินคาด โดยปรับขึ้นได้ 4.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 495.2 ล้านบาร์เรล
กรรมการผู้จัดการของ Nissan Securities กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นเกินคาดของข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ก่อให้เกิดแรงเทขายเข้ามาในตลาดครั้งใหม่ ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด แม้จะมีการปิดทำการบางส่วนจากกังวลพายุเฮอริเคน Zeta เก็ตาม ซึ่งถือเป็นพายุเฮอริเคนลูกที่ 11 ที่พัดเข้าสู่ชายฝั่งเม็กซิโก