• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 29 ตุลาคม 2563

    29 ตุลาคม 2563 | Economic News
 

· ดอลลาร์ทรงตัวในทิศทางแข็งค่า ท่ามกลาง Covid-19 ระบาดหนักหนุนความต้องการ Safe-Haven

ค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวในทิศทางแข็งค่าท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างหนักในยุโรป ที่ดูจะส่งผลให้นักลงทุนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะ Lockdown ที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่กำลังเปราะบางในเวลานี้

ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวบริเวณ 93.39 จุด หลังจากที่เปิด +0.3% ในช่วงเช้าวันนี้

ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1753 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่เมื่อคืนนี้ทำต่ำสุดรอบ 1 สัปดาห์ที่ 1.1718 ดอลลาร์/ยูโร

ท่ามกลางการระบาดอขงไวรัสโคโรนาทั่วยุโรปเวลานี้ คืนนี้ก็จะมีการประชุมของอีซีบี ที่ถูกคาดว่าจะเผชิญแรงกดดันอย่างหนักในการต้องเสริมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ แต่ก็ไม่มีแนวโน้มจะดำเนินการใดๆ "จนกว่าจะถึงการประชุมในเดือนธ.ค."

นักวิเคราะห์ค่าเงินจาก Commonwelth Bank กล่าวว่า ค่าเงินยูโรอาจปรับตัวลงได้หากประธานอีซีบี เผยถึงการจะดำเนินนโยบายผ่อนคลายต่อในการให้สัมภาษณ์หลังจบประชุมคืนนี้

บรรดาเทรดเดอร์ ยังคงจับตาความไม่แน่นอนของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในสัปดาห์หน้า ในช่วงที่สหรัฐฯและยุโรปเผชิญกับการระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างหนัก

ภาพรวม "นายไบเดน" ยังมีคะแนนนำ "นายทรัมป์" แต่เทรดเดอร์ก็ยังระมัดระวังชัยชนะที่จะเกิดขึ้นว่า เดโมแครตจะสามารถครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรสได้หรือไม่

นักกลยุทธ์อาวุโสจาก Barclays ระบุว่า แม้ไบเดนจะมีคะแนนนำในเวลานี้ ในรัฐที่แกว่งตัวมาก (Swing States) แต่นายทรัมป์ก็ยังมีความนิยมในบางรัฐและมีความเป็นไปได้ว่าจะสร้างความผันผวนให้แก่ตลาดได้ในช่วงใกล้ๆวันเลือกตั้ง (วันเลือกตั้ง) รวมทั้งวันประกาศผลเลือกตั้งที่จะเริ่มขึ้นในวันเดียวกัน

ค่าเงินหยวนแข็งค่ามาที่ 6.7104 หยวน/ดอลลาร์ หลังจากที่ไปทำอ่อนค่ามากสุดรอบ 1 สัปดาห์

คืนนี้จะมีการประกาศประมาณการณ์จีดีพีสหรัฐฯไตรมาสที่ 3/2020 ครั้งที่ 1 ท่ามกลางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าการเติบโตอาจเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ แต่อาจไม่เพียงพอที่จะลดผลกระทบจากการระบาดของไวรัสได้

ค่าเงินเยนอ่อนค่ามาที่ 104.45 เยน/ดอลลาร์ หลังแข็งค่าไปมากสุดรอบ 1 เดือนเมื่อวานนี้


ประชุมบีโอเจวันนี้ยังคงมีการคงนโยบายทางการเงิน แม้ว่าจะมีสัญญาณว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจในเวลานี้เพียงพอ แต่รายงานประจำไตรมาสพบว่าบีโอเจมีการปรับลดคาดการณ์ทางเศรษฐกิจ แต่มีแนวโน้มต่อการฟื้นตัวในระดับปานกลาง

ทั้งนี้ นายฮารุฮิโก คุโรดะ จะทำการให้สัมภาษณ์ในช่วงเย็นวันนี้อีกครั้งเกี่ยวกับเหตุผลในการตัดสินใจ


· บรรดาที่ปรึกษาระดับสูงของไบเดน ชี้ หากไบเดนชนะอาจมีการสานสัมพันธ์ชาติพันธมิตรเพื่อร่วมมือขึ้นภาษีจีนในอนาคต

ที่ปรึกษาระดับสูงของนายไบเดน กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า หากนายไบเดน ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีวาระนี้ ก็อาจมีการหารือร่วมกับชาติพันธมิตรหลักๆของสหรัฐฯ ก่อนจะตัดสินใจว่าอนาคตสหรัฐฯจะเดินหน้าขึ้นภาษีจีนเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งแนวทางการดำเนินการอาจเปลี่ยนไป หากนายไบเดนได้รับเลือกในครั้งนี้ ที่อาจมีการยกระดับการขึ้นภาษี แต่อาจไม่แข็งกร้าวเท่ายุคทรัมป์-จีน

ซึ่งการจะดำเนินการใดๆนั้น "นายไบเดน" จะรับฟังความเห็นของชาติพันธมิตร โดยถือเป็นแกนกลางในการดำเนินการต่อไปกับจีน


· "ฟาวซี" เตือน ผลกระทบขนาดใหญ่จาก Covid-19 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ดร.แอนโธนี ฟาวซี ที่ปรึกษาไวรัสโคโรนาของทำเนียบขาว ระบุว่า สหรัฐฯกำลังเดินไป "ผิดทาง" ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่มากถึง 47 รัฐในเวลานี้ ขณะที่ผู้ป่วยจากไวรัสดังกล่าวดูจะมากเกินรับไหวของโรงพยาบาลภายในประเทศ

ซึ่งหากสถานการณ์ในเวลานี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงและเป็นเช่นนี้ต่อไปก็มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลกระทบหนักขึ้นจาก จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราการเสียชีวิตด้วย
โดยจะเห็นได้ว่าในรัฐนิวยอร์ก และฟิลาเดเฟียมียอดติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมากส่งผลให้รัฐใกล้เคียงในแถบ Northwest หรือ Heartland ก็ดูจะเข้าสู่ช่วงเวลาที่ยากลำบากมากขึ้นในวิกฤต Covid-19 เช่นนี้


· รัฐฟิลาเดเฟียของสหรัฐฯ มีการประกาศใช้มาตรการเคอร์ฟิวส์อีกครั้งเพื่อระงับเหตุวุ่นวาย หลังการเสียชีวิตของชายผิวสีที่ถูกยิง


· อดีตทูตอินเดีย ชี้ "ปอมเปโอ" ย้ำหนักแน่นถึงความจำเป็นในการส่งสารถึงจีน

อดีตนักการทูตอินเดีย กล่าวว่า นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ค่อนข้างย้ำอย่างหนักแน่ต่อความจำเป็นในการส่งสารถึงจีนเพื่อให้ทราบอย่างชัดเจนว่าผู้นำและประชาชนของสหรัฐฯ ไม่ใช่มิตรทางด้านประชาธิปไตย,กฎเกณฑ์ต่างๆ หรือแม้แต่ความโปร่งใสหรือเสรีภาพในด้านการเดินเรือ, พื้นฐานการเปิดกว้างและความเจริญด้านแปซิฟิกอีกต่อไป


· ปอมเปโอ หาแนวทางใหม่ในการร่วมมือกับอินโดนิเซีย บริเวณทะเลจีนใต้

นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯจะทำการหาวิธีใหม่ๆในการร่วมมือกับประเทศอินโดนเซียเกี่ยวกับบริเวณจีนใต้ และร่วมมือกันพยายามปกป้องน่านน้ำ ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธการดำเนินการที่มิชอบด้วยกฎหมายของจีน ในการอ้างสิทธิ์บริเวณน่านน้ำดังกล่าว


· นักวิจัยอังกฤษ แนะอังกฤษควร Lockdown ประเทศให้เร็วที่สุดไม่ควรดำเนินการล่าช้าไปมากกว่านี้


· รัฐมนตรีอังกฤษ เผยจะทำทุกทางเพื่อหลีกเลี่ยง Lockdown ประเทศ

รัฐมนตรีกระทรวงการเคหะของอังกฤษ กล่าวว่า รัฐบาลอังกฤษจะทำทุกวิถีทางที่สามารถทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่เกิดการ Lockdown ประเทศเป็นครั้งที่สอง และเชื่อว่าการระบาดของไวรัสรอบนี้จะสามารถควบคุมได้ด้วยมาตรการคุมเข้มระดับท้องถิ่น

แม้ว่าภาพรวมประเทศจะเผชิญแรงกดดันเพิ่มขึ้นหลังจากที่ฝรั่งเศส และเยอรมนีมีคำสั่ง Lockdown รอบ 2 เมื่อวานนี้ ท่ามกลางยอดติดเชื้ออังกฤษรายวันที่มีแนวโน้มใกล้แตะ 100,000 รายในแต่ละวัน


· คาดประชุมอีซีบี ส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม จากกังวล Second Wave

อีซีบีถูกคาดว่าในการประชุมวันนี้จะมีการเปิดเผยแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ แต่ไม่มีแนวโน้มจะดำเนินการใดๆจนกว่าจะถึงเดือนธ.ค. ท่ามกลางการใช้มาตรการคุมเข้มรอบใหม่เพื่อจำกัดการระบาดของไวรัสโคโรนาที่กำลังสร้างความกังวลว่าจะเกิดภาวะถดถอยครั้งใหม่

Second Wave ที่กำลังขยายวงกว้างดูจะคุกคามไปทั่วยุโรปก่อนเข้าสู่ฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง โดยที่เยอรมนีและฝรั่งเศส ได้สั่งประกาศ Lockdown ไปแล้วเมื่อวานนี้

ทั้งหมดนี้ น่าจะสร้างแรงกดดันให้แก่ "นางคริสติน ลาการ์ด" ประธานอีซีบีในการส่งสัญญาณคงนโยบายการเงินและมาตรการผ่อนคลายฉบับพิเศษอย่างมาก ซึ่งตลาดคาดน่าจะยังไม่ดำเนินการใดๆมากในการประชุมวาระนี้ ก่อนที่จะเข้าสู่การประชุมในเดือนธ.ค.

เวลา 19.45น. - การประกาศการตัดสินใจดำเนินนโยบายของอีซีบี

เวลา 20.30น. – แถลงการณ์ของประธานอีซีบี


· คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอให้รัฐบาลยุโรปใช้มาตรการใหม่ในการต่อสู้กับวิกฤตไวรัสในครั้งนี้ เนื่องด้วยยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นถือเป็น "สัญญาณเตือน"

นักกลยุทธ์ค่าเงินจาก UBS กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในยุโรป และทั่วโลกมีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดภาวะ Lockdown และเป็นอุปสรรคต่อความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง

ขณะที่ข้อมูลจากบริษัท Pfizer ก็ดูจะไม่สามารถอธิบายว่าวัคซีนไวรัสโคโรนานั้นเป็นไปด้วยดี และทั้งหมดนี้จึงทำให้ตลาดมีท่าทีระมัดระวัง รวมท้ง สินทรัพย์เสี่ยง" ในทุกๆตลาดมีการปรับตัวลดลง


· CEO จาก ANZ ระบุว่า ไม่เพียงแต่จีน "แต่บริษัทต่างๆทั่วทั้งเอเชีย" มองหาทำเลอื่นหลังจีนตึงเครียดเพิ่ม

CEO จาก Australia and New Zealand Banking Group (ANZ) ระบุว่า จากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่กิดขึ้น ส่งผลให้หลายๆบริษัทตัดสินใจหาทางเลือกในประเทศอื่นๆในเอเชียมากขึ้น ไม่เพียงแค่จีนที่ได้รับผลกระทบ

แม้แต่ ANZ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในธนาคารขนาดใหญ่ก็มีการหารือกับบริษัทต่างๆในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เกี่ยวกับโอกาสต่างๆในเอเชีย ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีข้อแตกต่างอย่างมากสำหรับโอกาสในการลงทุนในญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ หรือสิงคโปร์ หรือฟิลลิปปินส์ หรือแม้แต่อินเดีย แต่ธนาคารเราก็ต้องการไปลงทุนนประเทศเหล่านั้นเพื่อให้เข้าถึงมากขึ้น

ภาพรวมธนาคารต่างๆก็อยู่ภายใต้ "แรงกดดัน" จากเศรษฐกิจออสเตรเลียที่เข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกรอบ 30 ปี จากการระบาดของไวรัสโคโรนาและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับต่ำ


· นักวิเคราะห์ คาดเศรษฐกิจจีนโตหนุนเอเชีย ท่ามกลาง Covid-19 พุ่ง, สหรัฐฯใกล้เลือกตั้ง

ผลสำรวจนักวิเคราะห์จาก Reuters สะท้อนว่า เอเชียจะเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยได้รับแรงหนุนจากจีนที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแม้เป็ประเทศแรกที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา

ขณะที่ปัจจัยระดับโลกที่ทุกคนให้ความสำคัญ คือ "การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ" ที่กำลังจะเกิดขึ้น ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างหนักในสหรัฐฯและยุโรป ขณะที่จีนเป็นประเทศเดียวที่สามารถรับมือได้จากปัจจัยหลักต่างๆ และทำให้ไอเอ็มเอฟ คาดว่าเศรษบกิจจีนจะโตได้ไม่น้อยกว่า 1.9% ในปีนี้

ด้านจีดีพีจีนในไตรมาสที่ 3/2020 ก็ออกมาดีขึ้นแตะ 4.9% จากช่วงไตรมาสที่ 2/2020 ที่โตได้ 3.2% หลังจากที่หดตัวลงไปกว่า -6.8% ในไตรมาสแรกจากมาตรการ Lockdown

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Westpac ย้ำถึงรายละเอียดที่ดค่อนข้างชัดเจนว่า "จีนมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง"

แต่ความรตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน หรือการตึงเครียดกับประเทศอื่นๆหลังเลื่อกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯจบลง ก็อาจสร้างความเสี่ยงต่อความหวังในการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจเอเชียได้


· ประชุมบีโอเจปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจ แต่ยังมองปีหน้าจะรีบาวน์กลับได้อย่างแข็งแกร่ง

ผู้ว่าการบีโอเจกล่าวหลังจบประชุมว่า การปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่นมาจากผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาทั่วโลก และความไม่แน่นอนต่างๆที่ยังมีสูง จึงยังมีความเสี่ยงขาลงต่อแนวโน้มการเติบโตได้ แต่เชื่อว่าความไม่แน่นอนต่างๆจะเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราว


ทั้งนี้ บีโอเจคาดเศรษฐกิจปีนี้จะหดตัวลง -5.5% แต่จะดีขึ้นในปีหน้า โดยคาดโตได้ 3.6%


· Reuters เผยมุมมอมนักวิเคราะห์กับการฟื้นความสัมพันธ์ "เกาหลีเหนือ-สหรัฐฯ" โดยที่ผู้นำเกาหลีเหนือรอดูหลังเลือกตั้ง

นายคิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือกำลังรอคอยผู้ชนะศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯในเวลานี้ ที่อาจมีการแตกหักข้อตกลงทางการทูตด้านอาวุธนิวเคลียร์ หรืออาจแสดงความขอบคุณต่อพลังอำนาจ หลังจากที่เคยผูกสัมพันธ์ไว้ในช่วงที่นายทรัมป์ดำรงตำแหน่งในช่วงแรกๆ

GAME CHANGERS - เมื่อเปลี่ยนผู้นำรูปแบบข้อตกลงก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป


โดยผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย ประเมินว่า เกาหลีเหนืออาจมีการปล่อยมิสไซน์ใหม่จำนวนหลายลูก หรือมีการใช้ขีปนาวุธภาคพื้นดินเพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพระดับสูง หากเกิดข้อขัดแย้งใดๆบริเวณคาบสมุทรเกาหลีเหนือ


· ราคาน้ำมันดิบรีบาวน์ หลังปิดดิ่งลง 5% วานนี้ ท่ามกลางการปิดโรงงานผลิตน้ำมันสหรัฐฯจากพายุเฮอริเคน

ราคาน้ำมันดิบวันนี้ปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อยหลังจากที่ร่วงลงไปกว่า 5% เมื่อคืนที่ผ่านมา โดยตลาดได้รับแรงหนุนจากภาวะตึงตัวของอุปทานน้ำมันระยะสั้นๆ โดยที่โรงงานผลิตน้ำมันของสหรัฐฯจำนวน 2 ใน 3 บริเวณอ่าวเม็กซิโกตัดสินใจ Shutdownท่ามกลางพายุเฮอริเคน Zeta ที่พัดเข้าสู่รัฐหลุยส์เซียนา

ขณะที่นักลงทุนในตลาด กล่าวว่า ในทางเทคนิคยังเป็นปัจจัยสนับสนุนเชิงบวก แม้ว่าจะเผชิญกับสัญญาณอุปทานโลกขยายตัว และ Second Wave ที่จะเป็นตัวกดดันราคาน้ำมันดิ่งลงในคืนวันพุธที่ผ่านมา

น้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้นได้ 7 เซนต์ หรือ +0.19% ที่ 37.46 เหรียญ/บาร์เรล

น้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 4 เซนต์ หรือ +0.1% ที่ 39.16 เหรียญ/บาร์เรล

หัวหน้านักกลยุทธ์ฝ่ายการตลาดของ Axi กล่าวว่า น้ำมันดิบ WTI มีการเคลื่อนไวหในกรอบระหว่าง 36.45 - 39.95 เหรียญ และถือเป็นระดับน่าซื้อ (Buy Zone) ที่เริ่มมาตั้งช่วงต้นเดือนก.ย. ซึ่งหากตลาดปรับตัวลดลงจากระดับแนวรับดังกล่าวจะส่งสัญญาณเป็น "ขาลง" อีกครั้ง

ผลกระทบจากพายุเฮอริเคน Zeta ถูกคาดว่าจะเกิดขึ้นเพียงสั้นๆเท่านั้น และสหรัฐฯจะกลับมาทำการผลิตเพิ่มขึ้นได้ ส่งผลให้เกิดภาวะ Oversupply ในขณะที่ลิเบียมีการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากที่ถูกระงับการผลิตมาเป็นเวลา 8 เดือน


· ผลประกอบการ Royal Dutch Shell เพิ่มขึ้นเกินคาด

ท่ามกลางการเพิ่มผู้ถือหุ้น จึงทำให้รายงานในไตรมาสที่ 3 มีผลประกอบการโต 955 ล้านเหรียญ จากระดับ 638 ล้านเหรียญในไตรมาสที่ 2 แต่หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วจะพบว่ายังน้อยกว่า โดยไตรมาสที่ 3/2019 มีผลประกอบการ 4.77พันล้านเหรียญ


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com