สภาทองคำโลก หรือ WGC ระบุว่า ความต้องการทองคำในอินเดียลดลงไป 30% ในไตรมาสที่ 3 แต่ต้อง “ระมัดระวังต่อทิศทางเชิงบวก” ที่จะกลับมาในตลาดทองคำอีกครั้ง
โดยอินเดียถือเป็นหนึ่งในตลาดทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ความต้องการทองคำในรูปจิลเวลรีของอินเดียระหว่างก.ค. - ก.ย. ปรับลงไป -48% เมื่อเทียบรายปี แตะ 52.8 ตัน จากรดับ 101.6 ตันในปีที่แล้ว
แต่ความต้องการทองคำเพื่อการลงทุน “เพิ่มขึ้น 52%” ที่ระดับ 33.8 ตันเมื่อเทียบรายปี
ภาพรวมอุปสงค์ทองคำ (ทั้งจากจิวเวลรีและการลงทุน) ปรับตัวลดลงในช่วงสิ้นเดือนก.ย. หรือไม่น้อยกว่า 70% เมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนแรกของปี ซึ่งถึงแม้จะมีการคลาย Lockdown และมีราคาที่ถูกลงในเดือนส.ค. แต่ “โอกาสการเข้าซื้อทองคำก็ยังปรับตัวลง”
โดยปกติแล้ว “ทองคำ” มักเป็นสินค้าที่สำคัญมากสำหรับวัฒนธรรมของอินเดีย ที่มักจะมีการเข้าซื้อในช่วงเทศกาล หรือวันแต่งาน เป็นสัญลักษณ์ที่มีอิทธิพลและเป็นการลงทุนที่ปลอดภัย
อย่างไรก็ดี ความต้องการทองคำในเดือนต.ค. - ธ.ค. ช่วงเทศกาล Dussehra และ Dhanteras อาจปรับตัวขึ้นได้ ซึ่งปกติมักเป็นเทศกาลที่ค่อนข้างยุ่งมากเพราะเกี่ยวเนื่องกับช่วงแต่งงานด้วย แต่ราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้นและผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ก็อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความต้องการซื้อทอง
เนื่องด้วย Covid-19 ส่งผลให้เกิดการ Lockdown ในอินเดีย และหั่นการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งทำให้ประชาชนในประเทศนับล้านกลายเป็นคนว่างงาน
แนวโน้มทองคำทั่วโลก
WGC รายงานว่าอุปสงค์ทองคำโลกปรับตัวลดลง 19% เมื่อเทียบรายปีที่ระดับ 892 ตันในช่วงไตรมาสที่ 3/2020 ถือเป็นไตรมาสที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดของไตรมาสที่ 3 ที่มีการเก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2009
ธนาคารกลางต่างๆ ขายทองออกมา 12.1 ตัน ถือเป็นการขายทองคำออกครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2010
นำโดยประเทศอุซเบกิสถาน และตุรกี
ขณะที่ธนาคารกลางอินเดีย และอีก 6 ธนาคารกลางอื่นๆมีการเข้าถือครองทองคำเพิ่ม
ภาพรวมอุปสงค์ทองคำมีการปรับตัวลดลง แต่ความต้องการลงทุนทองคำทั่วโลกเพิ่มขึ้นได้ 21% เมื่อเทียบรายปี ทั้งจาก “ทองคำแท่ง”, “เหรียญทอง” และ “กองทุน ETFs”
การลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยได้เพิ่มเม็ดเงินในตลาดที่กำลังเผชิญกับความผันผวนและไม่แน่นอนก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในสัปดาห์หน้า แม้ว่าจะส่งผลให้กลุ่มผู้ซื้อทองคำลดการเข้าซื้อในสินค้าประเภทจิวเวลรี เนื่องจากราคาที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายๆประเทศก็ตาม และจะเห็นได้ว่าอุปสงค์กลุ่มจิวเวลรีลดลงไป 29% เมื่อเทียบกับปีก่อน
ผลกระทบของการระบาดต่อตลาดทองคำโลกยังมีอยู่ โดยเป็นความผสมผสานกันระหว่าง
- การใช้มาตรการคุมเข้มทางสังคมในหลายๆตลาด
- ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการ Lockdown
- ราคาทองคำที่ทำ All-Time High ในค่าเงนิหลายๆสกุล
WGC จึงคาดว่า แนวโน้มทองคำจะดำเนินเช่นนี้ต่อไปในอนาคต
อุปทานทองคำลดลง 3% เมื่อเทียบรายปีที่ 1,223.6 ตันในช่วงไตรมาสที่ 3 ท่ามกลางผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องจากการใช้มาตรการคุมเข้มในเหมืองต่างๆช่วงครึ่งปีแรกของปี
ที่มา: CNBC