ทองขึ้น - ดอลลาร์ชะลอแข็งค่า กับประเด็นยอดติดเชื้อไวรัสพุ่งเกินต้าน
· ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางดอลลาร์ชะลอแข็งค่า หลังไปแตะสูงสุดรอบ 1 เดือน จากความกังวลเกี่ยวกับยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนา และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จึงหนุนความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย
· ราคาทองคำตลาดโลกปรับขึ้น 0.6% ที่ 1,879.01 เหรียญ หลังปรับตัวลงต่อเนื่อง 2 วันทำการ
· ภาพรวมเดือนต.ค. ทองคำปรับลงไปประมาณ 0.3%
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +0.6% ที่ 1,879.9 เหรียญ
· กองทุนทองคำ SPDR ขายทองออก 0.58 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,257.67 ตัน โดยตลอดเดือนต.ค. มีสถานะขายสุทธิเป็นเดือนแรกในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมา โดยขายออก 11.22 ตัน แต่ภาพรวมตั้งแต่ม.ค. ถึง ต.ค. ยังเป็นสถานะเข้าซื้อสุทธิที่ 364.42 ตัน
· หัวหน้านักวิเคราะห์จาก BMO กล่าวว่า ทองคำรีบาวน์ได้จากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น 2 วันทำการ ขณะที่นักลงทุนมองหาจุดต่ำสุดจากกรอบการเคลื่อนไหวเพื่อเข้าถือครองทองคำเพิ่มก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มจะเห็นการจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ จึงอาจทำให้เกิดการเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว
· ก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในวันที่ 3 พ.ย. บรรดาโพลล์ส่วนใหญ่เริ่มชี้ให้เห็นถึงคะแนนที่สูสีกันมากขึ้น
· ที่ปรึกษาตลาดการลงทุนโลกของ The Perth Mint ระบุว่า มีหลายปัจจัยที่ยังหนุนให้ทองคำเป็นขาขึ้นหลังเลือกตั้ง โดยส่วนแรกมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯและทั่วโลกในวงเงินมหาศาล ที่อาจก่อให้เกิดระดับหนี้สินจำนวนมากของภาครัฐบาล ที่ทั้งหมดนี้จะกดดันค่าเงินในทิศทางอ่อนค่า เช่น ดอลลาร์
· ความกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนาโดยเฉพาะในสหรัฐฯและยุโรป ยังหนุนให้ประชาชนยังต้องการสินทรัพย์เสี่ยงมากยิ่งขึ้น
· ราคาซิลเวอร์ปรับขึ้น 1.3% ที่ 23.57 เหรียญ ด้านราคาแพลทินัมปรับลง 0.6% ที่ 842.09 เหรียญ ขณะที่ราคาพลาเดียมปิด +0.9% ที่ 2,210.67 เหรียญ
· สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด
ยอดติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 46.8 ล้านราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสมทั่วโลกทะลุ 1.2 ล้าน ท่ามกลางสหรัฐฯที่ยอดติดเชื้อรวมล่าสุดแตะ 9.47 ล้านราย และเสียชีวิตรวมสูงกว่า 236,471 ราย
· สหรัฐฯพบรายงานผู้ติดเชื้อใหม่ทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์แตะ 99,321 ราย - ผู้เชี่ยวชาญเตือนนี่เป็นเพียงการเริ่มต้น
อดีตคณะกรรมาธิการองค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐฯ เผยว่า การระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากที่สุดของสหรัฐฯในเวลานี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปรับสู่จุดพีคหรือ Third Peak ที่คาดว่าอาจเกิดขึ้นในช่วงเทศกาล Thanksgiving และเดือนธ.ค. อาจเป็นช่วงที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ยอดติดเชื้อใหม่กำลังเพิ่มขึ้น 5% หรือเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 43 รัฐในสหรัฐฯ ส่งผลให้ยอดติดเชื้อในสหรัฐฯสะสมทะลุ 9 ล้านราย โดยในช่วงเวลาเพียง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่ามียอดติดเชื้อใหม่ในประเทศเพิ่มมากถึง 1 ล้านรายด้วยซ้ำไป
· นายกฯอังกฤษ ตัดสินใจ Lockdown รอบ 2 หลังเผชิญยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาระบาดหนัก โดยจะทำการปิดประเทศเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งจะเริ่มในวันพฤหัสบดีที่ 5 พ.ย. จนถึง 2 ธ.ค.
นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศ Lockdown ประเทศรอบ 2 จากยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้น โดยให้ปิดภาคธุรกิจที่ไม่จำเป็นทั้งหมด แต่ยังอนุญาตให้เปิดโรงเรียนได้ตามปกติ และขอให้ประชาชนทุกคนอาศัยอยู่ภายในที่พัก ยกเว้นจะหาซื้อสิ่งของจำเป็นในเรื่องของการศึกษา หรือเหตุผลทางการแพทย์ หรืออาหารเพื่อการยังชีพ สำหรับร้านอาหารจะอนุญาตให้เปิดบริการได้เฉพาะส่วนของการจัดส่งหรือซื้อกลับบ้านเท่านั้น
· รัฐมนตรีอังกฤษ ชี้ Lockdown ในอังกฤษ อาจขยายเวลาออกไปได้อีก
· ที่ปรึกษาระดับสูงของอังกฤษ คาด อัตราการเสียชีวิตจาก Covid-19 อาจพุ่งสูงกว่า 2 เท่าในช่วงฤดูหนาว ที่อาจรุนแรงกว่าการระบาดในรอบแรก
· อังกฤษเริ่มเร่งพิจารณาความเป็นไปได้วัคซีน Covid-19 ของบริษัท AstraZeneca
และการพิจารณาดังกล่าว จะส่งผลให้กลุ่มผู้กำหนดนโยบายสามารถพิจารณาข้อมูลทางการแพทย์ในรูปแบบ Real Time และมีข้อมูลให้แก่บริษัทผู้ผลิตยาสำหรับสานต่อในกระบวนการผลิต และอาจมีการอนุมัติกระบวนการได้เร็วมากยิ่งขึ้น
· นายกฯ อังกฤษคาดแนวโน้มวัคซีนน่าจะเกิดขึ้นได้ประมาณช่วงไตรมาสแรกของปี 2021
· ออสเตรีย ประกาศเคอร์ฟิวส์ และสั่งปิดร้านอาหารเพื่อต่อสู้กับการระบาดที่เพิ่มขึ้น
· อิหร่านตัดสินใจกลับมาใช้มาตรการคุมเข้มรอบใหม่สกัด Covid-19
· อิสราเอลเริ่มทดลองวัคซีน Covid-19 ในมนุษย์ ท่ามกลางสถานศึกษาที่ชะลอการกลับมาเปิดทำการ ซึ่งหากกระบวนการทดลองประสบความสำเร็จ คาดอาจพร้อมสำหรับประชาชนทั่วไปในช่วงประมาณ เม.ย. - พ.ค. ได้
· Reuters/Ipsos Poll ชี้ ใกล้เลือกตั้ง “ไบเดน” ยังนำ แต่ทรัมป์ยังสูสีในฝั่ง Swing States
Reuters/Ipsos Poll เผยผลสำรวจล่าสุดเมื่อ 27-29 ต.ค. พบนายไบเดนยังมีคะแนนนำนายทรัมป์ที่ 51% ต่อ 43%
แต่นายทรัมป์ยังมีลุ้นหาก 270 เขตเลือกตั้งยังเทคะแนนให้เขากลับมาครองตำแหน่งสมัยที่ 2 ขณะที่รัฐใหญ่อย่างฟลอริด้า, นอร์ธแคโรไลนา และแอริโซนา ยังน่าลุ้นสำหรับเขา
ในปี 2016 จะห็นได้ว่า ในรัฐเพนซิลเวเนีย นายทรัมป์มีคะแนนนำ 5 แต้ม, ขณะที่รัฐมิชิแกนและรัฐวินคอนซิน รวมถึงอีก 3 รัฐ ที่เขาสามารถครองคะแนนนำในแต่ละที่สูงกว่าคู่แข่งถึง 9 แต้ม จึงทำให้เขาเอาชนะนางฮิลลารี คลินตัน ผู้ที่ชนะเขาด้วยคะแนนนิยมตามโพลล์ต่างๆได้
แต่การปราศจากคะแนนหนุนของรัฐมิชิแกน และวินคอนซิน ก็อาจจะทำให้นายทรัมป์ชนะได้ หากทุกรัฐที่เหลือเทคะแนนให้เขาเหมือนในปี 2016
· NBC/WSJ Poll ชี้ ไบเดน นำ ทรัมป์ 10 แต้ม 52% ต่อ 42% ก่อนวันเลือกตั้ง 3 พ.ย. โดยเสียงส่วนใหญ่แสดงอาการไม่ค่อยพอใจต่อการรับมือการระบาดของไวรัสโคโรนาของนายทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ดำเนินไปในทิศทางที่ไม่ค่อยสดใสนัก
ขณะที่โพลล์ล่าสุดดูจะลดลงมาจากโพลล์ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยช่วง 2 สัปดาห์ก่อนนายไบเดนทิ้งห่างที่ 11 แต้ม
· สถาบัน Nomura แนะนำให้ “เข้าซื้อหุ้นเอเชีย” หากเดโมแครตเป็นฝ่ายชนะในศึกเลือกตั้งครั้งนี้
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- สวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจชี้ประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญยังหาทางออกวิกฤตการเมืองไม่ได้นักวิจัยสวนดุสิตโพล กล่าวว่า อุณหภูมิทางการเมืองที่ร้อนแรงมากยิ่งขึ้นในช่วงนี้ ท่าทีของรัฐบาลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งของบ้านเมือง การตัดสินใจเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญของนายกรัฐมนตรีเป็นก้าวแรกของการแสดงออกให้เห็นถึงความต้องการในการแก้ปัญหา ทั้งนี้ประชาชนมองว่าเป็นเพียงการยื้อเวลาของรัฐบาลเท่านั้น แต่ก็ทำให้ได้เห็นความชัดเจนของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านมากขึ้น หากรัฐบาลยังคงมีท่าทีเช่นนี้สถานการณ์บ้านเมืองก็น่าจะคงมีความขัดแย้งกันต่อไป
- นิด้าโพล เผยคนห่วงชุมนุมยืดเยื้อ-เกิดเหตุม็อบชนม็อบจนรัฐบาลต้องรับข้อเรียกร้อง
- แบงก์ออมสิน ช่วยธุรกิจท่องเที่ยว เตรียมวงเงิน 3 พันลบ.ปล่อยกู้ไม่วิเคราะห์รายได้