· นักเศรษฐศาสตร์ระดับสูง มอง "วัคซีนเชิงบวกจะส่งผลต่อตลาดหุ้นระยะสั้น" - คาดเศรษฐกิจโตได้เต็มที่ปี 2021
นายไมเคิล ดาร์ดา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และนักยุทธ์จาก MKM Partners มองว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯฟื้นตัวได้จากข่าววัคซีนมีประสิทธิภาพ 90% แต่นักลงทุนก็ไม่ควรรู้สึกสบายใจได้มากเกินไปกับการฟื้นตัวครั้งนี้
เนื่องจาก "ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยง" จำนวนยอดผู้ติดเชื้อที่ยังเพิ่มขึ้นในเวลานี้ ทั้งจากเขตมิดเวสต์ และทางฝั่งตะวันตก ขณะที่ "วัคซีน" ก็จะต้องใช้เวลากว่าที่จะเปิดตัว เพื่อแจกจ่ายและส่งมอบได้ จึงอาจทำให้ตลาดปรับตัวลดลง และเราอาจพบปัญหา จากการกลับมาปิดทำการบางส่วนอีกครั้ง
การระบาดอย่างหนักของไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯเวลานี้ ถือเป็นภัยคุกคามอย่างหนักต่อเศรษฐกิจ แต่เราเชื่อว่า "เศรษฐกิจจะเติบโตได้อย่างเต็มที่ในช่วงสิ้นปี 2021"
ระยะยาวของตลาดหุ้นยังค่อนข้างเป็นบวก จึงเป็นปัจจัยหนุนว่าเศรษฐกิจจะสามารถฟื้นกลับได้
แต่ในระยะสั้นมากๆ การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ยังเป็นเรื่องที่น่าเป็นกังวล และหากข่าวดีของวัคซีนลดลง ก็มีโอกาสที่จะ "สร้างปัญหา" ให้แก่ตลาดหุ้นได้
ถึงแม้เศรษฐกิจจะไม่สดใส แต่
- ภาวะการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น
- อัตราว่างงานที่ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 6 เดือน
- เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมีความมั่นใจมากขึ้นต่อเศรษฐกิจ จึง "วางแผนจ้างงาน" เพิ่มมากขึ้นในช่วง 3 เดือนหน้า
ตราบเท่าที่ยังมีสัญญาณ "การฟื้นตัวของตลาดแรงงาน" ที่จะช่วยสนับสนุนความเชื่อมั่น ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนให้ภาคธุรกิจฟื้นตัว รวมทั้งเศรษฐกิจที่จ้างงานได้อย่างเต็มรูปแบบและทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวได้ก่อนปี 2021
ดัชนี S&P500 คาดจะมีเป้าหมายช่วงสิ้นปีนี้ที่ "3,600 จุด" ซึ่งมีการทำ All-Time มาอย่างต่อเนื่องและยังยืนได้เหนือระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ทำไว้ในวันที่ 2 ก.ย.
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าการหากปัจจัยสนับสนุนยังคงตอบรับกับปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ก็อาจหนุนให้หุ้นสหรัฐฯปรับตัวขึ้น แม้จะอ่อนตัวลงบ้างแต่ในเวลานี้ก็ยังมองเห็นถึงการปรับตัวขึ้นได้อยู่
· ดัชนีฟิวเจอร์สสหรัฐฯปรับตัวลง-Nasdaq เคลื่อนไวแดนลบอีกครั้ง
ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สปรับลง 181 จุด
ดัชนี S&P500 และ Nasdaq 100 ฟิวเจอร์ส ก็กลับมาเคลื่อนไหวแดนลบเหมือนกัน
ตลาดจับตาข่าวดีเรื่องวัคซีนที่อาจเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ จากการที่บริษัท "Moderna" ล่าสุดที่ประกาศว่าการทดลองเฟส 3 พบผู้ร่วมทดสอบเพียงพอที่จะส่งผลเบื้องต้นไปยังองค์กรอิสระด้านความปลอดภัยเพื่อให้ทำการตรวจสอบผลการทดสอบวัคซีน
ข่าวดีเชิงบวกเกี่ยวกับวัคซีนที่เพิ่มขึ้น สร้างความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการระบาดของ Covid-19 ทั่วทั้งประเทศสหรัฐฯ โดยเฉพาะในประเทศที่มียอดติดเชื้อรวมทะลุ 10 ล้านรายทำให้เกิดการประกาศควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกครั้งเพื่อลดการระบาดในเวลานี้
· หุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางกรระมัดระวังการลงทุนจากข่าววัคซีน
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นในการซื้อขายที่ปานกลาง เนื่องจากเหล่านักลงทุนกำลังรอคอยรายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนายารักษาไวรัสโคโรนา
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.06% ที่ระดับ 609.41 จุด
· หุ้นญี่ปุ่นปิดใกล้ระดับสูงสุดรอบ 29 ปีครึ่ง โดยดัชนี Nikkei ปิด +0.68% ที่ระดับ 25,520.88 จุด
หลังจากที่แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย. ปี 1991 ในช่วงต้นที่ผ่านมา เนื่องจากหุ้นเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นตามตลาดหุ้นสหรัฐฯที่สูงขึ้น แม้ว่าจะถูกดดันจากแรงเทขายหลังดัชนีปรับตัวสูงขึ้นได้จากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา
· ดัชนี Shanghai ปรับตัวลง หลังจากธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ยอดปล่อยเงินกู้ล็อตใหม่สกุลเงินหยวนในเดือนต.ค.ปรับตัวลงเมื่อเทียบเป็นรายเดือน เนื่องจากจีนควบคุมโควต้าการปล่อยเงินกู้
โดยดัชนี blue-chip CSI300 ปิด +0.1% ที่ระดับ 4,908.46 จุด ขณะที่ดัชนี Shanghai Composite ปิด -0.1% ที่ระดับ 3,338 จุด
· หุ้นยุโรปปรับลดลง โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.8% ด้านหุ้นภาคธนาคารร่วงลง 1.6% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปิดช่วงเช้าวันนี้ที่ระดับ 1,332.90 จุด ลดลง 12.44 จุด (-0.92%) มูลค่าการซื้อขายราว 56,365 ล้านบาท
การซื้อขายหุ้นช่วงเช้าวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนลบเป็นส่วนใหญ่ โดยทำระดับสูงสุดที่ 1,341.57 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,327.34 จุด
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค.63 อยู่ที่ 50.9 จาก 50.2 ในเดือน ก.ย.63
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 43.9 จาก 42.9 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ อยู่ที่ 49.0 จาก 48.2 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 59.9 จาก 59.4 ปัจจัยบวก ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ปี 63 คาดหดตัวน้อยลงเหลือ -7.7% จากเดิมที่คาดไว้ที่ -8.5% , ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศปรับตัวลดลง, รัฐบาลมีมาตรการเยียวยาผลกระทบโควิด-19 รวมถึงการออกมาตรการฟื้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี ทั้ง "เราเที่ยวด้วยกัน" "คนละครึ่ง" และ"ช้อปดีมีคืน", ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ทำให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้มากขึ้น
- ผู้ว่าแบงก์ชาติชี้ พิษโควิดหวั่นทำตกงานพุ่ง 3 ล้านคน เหตุท่องเที่ยวกระทบหนัก ด้านคลังรับลูก นายกฯเตรียมเปิด"คนละ ครึ่ง"ระยะ 2 หนุนกำลังซื้อต้นปี 2564 หลังเฟสแรก เสียงตอบรับดี เงินสะพัดนับหมื่นล้านบาท จับตาสภาพัฒน์ประกาศจีดีพีติดลบน้อยลงพร้อมกำชับแบงก์ชาติดูแลค่าเงินบาทเอื้อผู้ส่งออก