ข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯในสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลงทำระดับต่ำสุดในรอบ แต่การปรับตัวลงเริ่มจะชะลอตัว และมีการฟื้นตัวอย่างจำกัดอันเนื่องจากยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศที่เพิ่มขึ้นและการปราศจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ขณะที่ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคยังคงทรงตัวในเดือนต.ค. ท่ามกลางการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในกลุ่มค่าใช้จ่ายด้านอาหารที่มาช่วยชดเชยกับราคาแก๊สโซลีนที่ถูกลงจากการปราศจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ
“ความเปราะบางทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น คือ หนึ่งในความท้าทายหลักๆของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ ที่จะมารับช่วงต่อจากนายทรัมป์ในเดือนม.ค.”
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯล่าสุดลดลง 48,000 ราย สู่ระดับ 709,000 ราย หรือปรับตัวลงมากที่สุดตั้งแต่เดือนมี.ค. แต่ภาพรวมของคนว่างงานก็ยังอยู่สูงกว่าที่เกิดยุคภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือ Great Recession ในปี 2007-2009 ที่อยู่แถว 665,000 ราย ท่ามกลางภาวะอุปสงค์ที่อ่อนแอ โดยเฉพาะภาคบริการ ที่ส่งผลให้ผู้ว่าจ้างต้องทำการลดพนักงาน
และการลดพนักงานอาจเกิดขึ้นรวดเร็วกว่านี้ จากยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนารอบใหม่ที่กำลังระบาดทั่วสหรัฐฯ
คนว่างงานสหรัฐฯมีกว่าล้านราย
ผู้ขอรับสิทธิคนว่างงานโดยรวมแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมี.ค. แตะ 6.867 ล้านราย แต่การที่ตลาดแรงงานฟื้นตัวมากสุดมาจากภาคธุรกิจต่างๆที่เริ่มกลับมาจ้างพนักงานและเรียกพนักงานกลับมาทำงานในบริษัท เพราะได้รับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลสหรัฐฯเป็นวงเงิน 3 ล้านล้านเหรียญ
แต่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จบลง ดูจะส่งผลให้เกิดความยากลำบากทางเศรษฐกิจ และการปราศจากแรงงานที่เพียงพอ เนื่องด้วยมีคนว่างงานในสหรัฐฯนับล้านราย
นอกจากนี้ ถึงข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์จะลดลง แต่คนว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูงก็เป็นตัวสะท้อนว่า คนว่างงานจำเป็นที่จะต้องได้รับการขยายการช่วยเหลือต่อไป
ข้อมูลเงินเฟ้อไม่เปลี่ยนแปลง
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯในเดือนต.ค. ปรับขึ้นกว่า 1.2% เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นมาได้ในเดือนก.ย. ที่ระดับ 1.4% ขณะที่การทรงตัวของเงินเฟ้ออาจจะหนุนให้เฟดทำการคงนโยบายการเงินต่อไปเป็นเวลานานขึ้นเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้หลังได้รับผลกระทบจาก Covid-19
ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมอาหารและพลังงาน ปรับขึ้นได้ 1.6% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หลังจากที่ขยายตัวได้ 1.7% ในเดือนก.ย.
มาตรวัดเงินเฟ้อของเฟดอีกหนึ่งตัวหรือ Core PCE ที่เป็นการวัดค่าใช้จ่ายการอุปโภคบริโภครายบุคคลพบว่าปรับขึ้นได้ 1.5% ในเดือนก.ย. ขณะที่เป้าหมายเงินเฟ้อที่เฟดตั้งไว้อยู่ที่ 2% และมีความยืดหยุ่นได้ โดยต้องจับตาว่าข้อมูลเดือนต.ค. ที่จะประกาศในช่วงปลายเดือนนี้ จะออกมาเป็นเช่นใด
ที่มา: CNBC