• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563

    13 พฤศจิกายน 2563 | Economic News
 

·         เยนรีบาวน์หลังแรงหนุนจากข่าววัคซีนลดน้อยลง – ภาวะเศรษฐกิจเข้ากดดันตลาดแทน

ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้นจากกลุ่มนักลงทุนที่ยังคงเข้าถือครองในฐานะ Safe-Haven จาก
- ความกังวลเรื่องไวรัสโคโรนา
- ยอดติดเชื้อที่ยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ความกังวลว่ายอดติดเชื้อในช่วงฤดูหนาวจะเพิ่มขึ้นทั้งในสหรัฐฯและยุโรป

ดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นเล็กน้อยมาที่ 92.914 จุด

ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้น 0.2ที่ระดับ 104.90 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดหลังจากที่อ่อนค่าขานรับการประกาศความคืบหน้าของวัคซีน Pfizer

สัปดาห์นี้เยนอ่อนค่าลงประมาณ 1.5% เมื่อเทียบดอลลาร์ และถือเป็นรายสัปดาห์ที่ปรับอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 5 เดือน

แต่การรีบาวน์กลับของค่าเงินเยน ยังมาจากค่าเงินสกุลอื่นๆที่อ่อนค่าลง สะท้อนถึงนักลงทุนที่ยังมีความระมัดระวังอยู่

ค่าเงินยูโรดีดกลับมาเหนือ 1.18 ดอลลาร์/ยูโร แต่อ่อนค่าลงไปประมาณ 0.6% ในสัปดาห์นี้ อันเป็นผลจากดัชนีดอลลาร์สัปดาห์ที่ปรับแข็งค่าได้ 0.7% ในสัปดาห์นี้

ค่าเงินหยวนอ่อนค่ามาที่ 6.6219 หยวน/ดอลลาร์

ภาวะ Second Wave ในสหรัฐฯ - ยุโรป ส่งผลให้หลายๆพื้นที่กลับมาประกาศใช้มาตรการเข้มงวดทางสังคมเพื่อหยุดการระบาดของไวรัสโคโรนา จึงบดบังข่าวดีๆต่างๆจากตัวเลขการเติบโของเศรษฐกิจยูโรโซนในวันนี้

 

·         รัฐมนตรีกรทรวงสาธารณสุขออสเตรเลีย กล่าวว่า ผู้เข้าทดสอบวัคซีน Covid-19 ของออสเตรเลียพบการตอบสนองของแอนตี้บอดี้ในการทดลองขั้นตั้น

โดยเป็นการวิจัยและทดสอบวัคซีนของมหาวิทยาลัยออสเตรเลียร่วมกับบริษัท CSL Ltd ที่แสดงให้เห็นว่าจะปลอดภัยและมีการตอบสนองในการผลิตแอนตี้บอดี้

 

·         การทดสอบวัคซีน Sinovac ไม่ได้รับผลกระทบจากการระงับการทดสอบในประเทศบราซิล

 

·         ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ ระบุว่า การสนับสนุนทางการเงินและการใช้นโยบายทางการเงินไม่ควรถูกยกเลิกไปก่อนเวลาอันควร เนื่องด้วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุ

 

·         “ไบเดน” ได้รับชัยชนะในการนับคะแนนที่รัฐแอริโซนา –  “ทรัมป์” ไม่ยอมส่งมอบอำนาจ


·         คณะเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เผย การเลือกตั้งของสหรัฐฯไม่มีการลบคะแนนโหวตหรือการทำให้ผู้สมัครเสียคะแนน พร้อมระบุว่า ยังไม่พบหลักฐานที่ว่าบัตรลงคะแนนถูกลบหรือการปลอมแปลงผ่านระบบคะแนนโหวตในการเลือกตั้งเมื่อ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา


·         จีนแสดงความยินดีอย่างต่อเนื่องแก่ “นายไบเดน”

 

·         อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังจีน ชี้ ว่าข้อพิพาททางการค้ากับสหรัฐฯยังคงอยู่ ภายใต้ “ทีมบริหารของไบเดน” และไม่น่าจะเห็นสถานการณ์คลี่คลายได้ในระยะสั้นๆ

เพราะถึงแม้ นายไบเดนจะถูกเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป แต่สหรัฐฯก็จะยังเดินหน้ากดดันจีนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได

 

·         ออสเตรเลีย คาดการณ์ว่า “ข้อขัดแย้งด้านเทคโนโลยี” กับจีน จะได้รับการแก้ไข

 

·         นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนตัดสินใจระงับหุ้ IPO ของบริษัท Ant’s เป็นการชั่วคราว

 

·         จีนเผชิญความท้าทายในการควบคุมบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จากการตรวจสอบของสหรัฐฯ

  

·         ผลสำรวจชี้ “ยอดส่งออก – เงินเฟ้อของญี่ปุ่น” จะปรับตัวลดลงต่อในเดือนต.ค. 

สำนักข่าว Reuters รายงานผลสำรวจล่าสุด ที่คาดว่าการประกาศรายงานภาคการส่งออกญี่ปุ่นในสัปดาห์หน้าจะได้รับผลกระทบจาก
- การฟื้นตัวได้อย่างช้าๆของอุปสงค์โลก
- ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น

สำหรับปัจจัยอีกตัวที่จะประกาศในสัปดาห์หน้าด้วยคือ Core CPI ที่ถูกคาดว่าจะปรับตัวลดลงมากที่สุดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2021 เพราะได้รับผลกระทบจาก
- การขึ้นภาษีการขายตั้งแต่ปีที่แล้ว
- การลดลงของอุปสงค์ในภาคเอกชน
- การระบาดของไวรัสโคโรนา

ขณะที่ยอดนำเข้าถูกคาดว่าจะปรับตัวลงมาแตะ 9.0% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และน่าจะส่งผลให้ญี่ปุ่นมียอดเกินดุลทางการค้าสูงกว่า 2.50 แสนล้านเยน (2.38 พันล้านเหรียญ)

 

·         เศรษฐกิจมาเลเซียจะหดตัวลงเล็กน้อย แต่ธนาคารกลางมาเลเซียชี้จะกลับมาโตได้ในปี 2021

ธนาคารกลางมาเลเซีย ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจมาเลเซียในปี 2021 หลังจากที่ได้ประสบภาวะหดตัวน้อยลงในไตรมาสที่ 3 แต่แรงหนุนจากภาคครัวเรือนและธุรกิจต่างๆยังคงปรับตัวลงจากการระบาดของ Covid-19

จีดีพีมาเลเซียปรับลงแตะ -2.7ในไตรมาสที่ 3/2020 และเป็นการฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่ดิ่งกว่า -17.1% ในไตรมาสที่ 2/2020

ขณะที่ภาคการค้าฟื้นตัวได้จากที่หดตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตทางการเงินในปี 2009 หลังจากที่รัฐบาลค่อยๆผ่อนคลายมาตรการจำกัดการคุมเข้มของไวรัสตั้งแต่พ.ค.


·         น้ำมันดิบปรับลงจากยอดติดเชื้อ COVID-19 พุ่ง – แต่รายสัปดาห์ยังเป็นบวกอยู่

 

ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง โดยได้รับแรงกดดันจากความกลัวเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จากยอดติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ราคาน้ำมันดิบยังคงปรับขึ้นได้ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 จากความหวังเรื่องวัคซีน

 

น้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 75 เซนต์ หรือ 1.7% ที่ระดับ 42.78 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากลดลง 0.6% ในเมื่อวาน

น้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 89 เซนต์ หรือ 2.2% ที่ระดับ 40.23 เหรียญ/บาร์เรล ลดลง 0.8% จากเมื่อวาน

 

นอกจากนี้สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯยังเพิ่มแรงกดดันเนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น 4.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้วเทียบกับที่คาดว่าจะลดลง 913,000 บาร์เรล


สำหรับสัปดาห์นี้ ราคาน้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิดดูจะปรับขึ้นได้ประมาณ 8%

 

นักวิเคราะห์จาก Daiichi Commodities ที่ระบุว่า กลุ่มนักลงทุนมีการเทขายทำกำไรในตลาดหลังจากที่ราคาฟื้นตัว อันเนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังไม่สดใสกดดันความเชื่อมั่น และการเพิ่มขึ้นของยอดติดเชื้อไวรัส และการใช้มาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่

Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com