• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563

    16 พฤศจิกายน 2563 | Gold News

ทองขึ้น - ขานรับติดเชื้อหนัก, กังวลวัคซีน

· ราคาทองคำปรับขึ้นตามยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่กระแสความไม่มั่นใจเกี่ยวกับการจะเห็นวัคซีนประสบความสำเร็จได้ ท่ามกลางดอลลาร์อ่อนค่า จึงช่วยหนุนความต้องการ Safe-Haven

· ราคาทองคำตลาดโลกปรับขึ้นได้ 0.5% ที่ 1,884.76 เหรียญ

ขณะที่ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วปิดปรับลงรายสัปดาห์ที่แย่ที่สุดตั้งแต่ช่วปลายก.ย. โดยปรับลง -3.4% อันได้รับผลกระทบอย่างหนักจากข่าว Pfizer เผยผลทดสอบวัคซีน

· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิดปรับขึ้น 0.7% ที่ 1,886.20 เหรียญ

· กองทุน SPDR สัปดาห์ที่ผ่านมาขายต่อเนื่อง 3 วันทำการ หรือตั้งแต่วันพุธ ถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา

- 11 พ.ย. ขาย 9.05 ตัน

- 12 พ.ย. ขาย 1.17 ตัน

- 13 พ.ย. ขาย 5.25 ตัน

รวม 3 วันขายออก 15.47 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,234.32 ตัน


ถือเป็นระดับถือครองต่ำสุดตั้งแต่ 21 ก.ย. และเดือนพ.ย. ตั้งแต่ต้นเดือนถึงปัจจุบันขายออกมากที่สุดของปี รวมขายสุทธิ 23.35 ตัน เป็นการขาย 2 เดือนติด

แต่ปีนี้โดยรวมยังมีสถานะเข้าซื้อสุทธิ 341.07 ตัน ถือเป็นระดับการซื้อมากสุดนับตั้งแต่ปี 2010

· นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Kitco Metals กล่าวว่า ยอดติดเชื้อ Covid-19 และความไม่แน่นอนต่างๆ ที่อาจกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกในเดือนต่อๆไป ทั้งหมดนี้จึงเป็นปัจจัยหนุนตลาดทองคำในทิศทางขาขึ้น

ขณะที่ทุกคนตกใจและตอบรับข่าวดีเรื่องวัคซีนจากบริษัท Pfizer ร่วมกับ BioNTech แต่ความเป็นจริงนั้นคือ “วัคซีนยังไม่สมบูรณ์” สำหรับการใช้งานได้โดยทั่วไปจนกว่าจะหลังช่วงฤดูหนาว หรือฤดูใบไม้ผลิ หรืออาจจะนานกว่านั้น และเมือพิจารณาตามจริงจึงเห็นความผันผวนของราคา


· ทองขึ้นเกือบ 1% แถว $1,890 แม้ข้อมูล PPI ที่เป็นหนึ่งในมาตรวัดเงินเฟ้อจะออกมาผสมผสานกัน

Kitco News รายงานว่า ตลาดทองคำปรับขึ้น แต่ยังคง “ตอบรับเพียงเล็กน้อย” ต่อข้อมูลเงินเฟ้อ แต่ราคากลับสนใจต่อข่าว “การระบาดของ Covid-19 ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

นักลงทุนกังวลการระบาดของ Covid-19 ว่าจะส่งผลให้

- เกิดสร้างความผันผวนทางการเงิน

- ภาวะเศรษฐกิจโลกจะได้รับความเสียหาย

ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ (PPI) ปรับขึ้นแตะ 0.3% ในเดือนต.ค. จาก 0.4% ในเดือนก.ย.

สำหรับภาพรายปี เงินเฟ้อ (Inflation) ปรับขึ้นแตะ 1.1% ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นมากสุดตั้งแต่เดือนก.พ.

ดัชนีราคาผู้ผลิตที่ไม่รวมความผันผวนของราคาอาหารและพลังงาน (Core PPI) ออกมาผิดคาดโตได้เพียง 0.2%

ภาพรวมรายปีของ Core Inflation ปรับขึ้นได้ 0.8% สู่ระดับ 1% ในเดือน ต.ค. ถือเป็นการขยายตัวได้มากที่สุดตั้งแต่เดือนมี.ค.

บรรดานักเศรษฐศาสตร์ ค่อนข้างให้ความสนใจไปยังข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต ที่ดูจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ตัวหนึ่งของดัชนีราคาผู้บริโภค ท่ามกลางภาคบริษัทต่างๆมีการปรับเพิ่มราคาสินค้าก่อนถึงมือกลุ่มลูกค้า

· นักกลยุทธ์ฝ่ายการตลาดอาวุโสจาก RJO Futures ระบุว่า

- ความกังวลเกี่ยวกับ Second Wave

- ความกังวลเรื่องการเกิด Lockdown

- การปราศจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ตลาดบางส่วนคาดถึงเงินสดและดัชนีราคา ที่อาจยิ่งหนุนเงินเฟ้อ ซึ่งจะเป็นผลบวกต่อราคาทองคำด้วย

· ราคาซิลเวอร์ปิด +1.5% ที่ 24.59 เหรียญ/บาร์เรล

· ราคาแพลทินัมปิด +1% ที่ 888.76 เหรียญ

· ราคาพลาเดียมปิด -0.1% ที่ 2,328.98 เหรียญ


· CORONAVIRUS UPDATES:

ยอดติดเชื้อทั่วโลกสะสมล่าสุดทะลุ 54 ล้านราย เช้านี้อยู่ที่ 54.80 ล้านราย

ยอดเสียชีวิตสะสมทั่วโลกล่าสุดรวมแตะ 1.32 ล้านราย


สหรัฐฯพบยอดติดเชื้อสะสม 11.36 ล้านราย และเสียชีวิตรวมสูงกว่า 250,000 ราย

· นักเศรษฐศาสตร์ UBS คาด ยอดติด Covid-19 อาจลดต่ำลงใกล้ระดับศูนย์ใน 6 เดือนได้ (ราวไตรมาส 2 ของปีหน้า) ท่ามกลางความแตกต่างในช่วง 6 เดือน และความแตกต่างของ 2 ไตรมาสอย่างมาก ที่อาจมีผลต่อการขยายตัวของจีดีพีสหรัฐฯได้มากถึง 1-1.25% ในปีหน้า

อย่างไรก็ดี ถึงข่าววัคซีนจะช่วยสนับสนุนมุมมองเชิงบวกอย่างมาก เพราะมีอัตราประสิทธิภาพที่สูงกว่าบรรดานักวิเคราะห์คาดหวังไว้

สหรัฐฯเป็นประเทศที่มียอดติดเชื้อสูงกว่า 10 ล้านราย นับตั้งแต่ที่เกิดการระบาด และในสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่ามีรายงานยอดติดเชื้อรายวันสูงเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง โดยข้อมูลล่าสุดพบว่าทำสูงสุดรายวันที่ 153,496 ราย เมื่อวันพุธ

จากข้อมูลข้างต้น มีแนวโน้มจะเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเกิดการ Shut Down อีกครั้ง ขณะที่ที่ปรึกษาของนายไบเดน ระบุ การปิดภาคธุรกิจ 4-6 สัปดาห์ อาจช่วยลดจำนวนยอดติดเชื้อและพยุงเศรษฐกิจจนกว่าวัคซีนจะได้รับอนุมัติและพร้อมวางจำหน่าย

· ที่ปรึกษาด้าน Covid ของไบเดน ชี้ การใช้มาตรการทำงานที่บ้าน 4-6 สัปดาห์ อาจช่วยจำกัดการระบาดของไวรัสได้ พร้อมกล่าวเตือน การท่องเที่ยงช่วงเทศกาล ‘Thanksgiving’ จะเป็นตัวกระตุ้นให้เชื้อไวรัสระบาดลุกลามกว่าเดิม

· เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพของไบเดน อีกคนเห็นต่าง แนะการ Lockdown ประเทศควรเป็นมาตรการรับมือขั้นสุดท้าย เพราะการระบาดรอบนี้แตกต่างออกไป ดังนั้น จึงควรหาวิธีการอื่นมาใช้ควบคู่ในช่วงระบาดมากขึ้น

ยอดติดเชื้อ Covid-19 ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาพบยอดติดเชื้อเพิ่มขึ้น 5% หรือกว่า 47 รัฐในสหรัฐฯ โดยยอดติดเชื้อใหม่รายวันแตะ 166,555 ราย และเป็นการเพิ่มขึ้นรายวันที่มากที่สุด 2 วันต่อเนื่อง

มหาวิทยาลัย John Hopkins เผย ข้อมูลเฉลี่ยรายสัปดาห์อยู่ที่ 145,401 รายในสัปดาห์ที่แล้ว จากยอดติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นในทุกๆวัน หรือเพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นแตะ 11 ล้านราย หรือมีการติดเชื้อเพิ่มประมาณ 1 ล้านรายในช่วงเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน

· “ดร. ฟาวซี” ชี้ ทีมบริหารทรัมป์ควรดำเนินงานกับคณะทำงานชุดใหม่ของไบเดน เพื่อรับมือวิกฤต Covid-19


· เยอรมนีเผยแผนช่วยเหลือ 2.2 หมื่นล้านยูโรในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021 สำหรับบริษัทต่างๆที่ได้รับผลกระทบวิดฤต Covid-19

· อิตาลีขยาย Lockdown ในหลายๆภูมิภาคเพิ่ม เพื่อจำกัดการระบาดของ Covid-19

· นายกฯอังกฤษกักตัวเองอีกครั้ง หลังพบว่า เจ้าหน้าที่ที่มีการติดต่อกับเขาตรวจพบเชื้อ Covid-19

· ตัวแทนเจรจาอังกฤษ เผย อังกฤษ-อียู มีความคืบหน้าข้อตกลงการค้าหลัง Brexit บางส่วน

· “ทรัมป์” พ่าย คะแนนในแอริโซนา, มิชิแกน และเพนซิลเวเนีย หลังรับรองผล “ไบเดน” นำ

แต่นายทรัมป์ยังไม่ยอมรับผลคะแนนแข่งขัน โดยกล่าวอ้างถึงผลคะแนนที่ผิดพลาด แม้ว่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญจะมองว่ามีโอกาสเพียงเล็กน้อยจากการนับคะแนนที่ไม่ถูกต้อง แต่คะแนนโดยองค์รวมของนายไบเดยจากหลายรัฐ ก็ดูจะเพียงพอต่อชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในครั้งนี้

- รัฐแอริโซนา

ปัดตกคำร้องของนายทรัมป์ และเผยผลคะแนนโดยรวมพบ “นายไบเดน” นำ จากผลของบัตรเลือกตั้งไปรษณีย์ ที่ทำให้คะแนนค่อนข้างต่างออกไปจากคะแนนในคูหา

- รัฐมิชิแกน

ปัดตกคำร้องของนายทรัมป์ และปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่ามีความผิดปกติในการอนุญาตนับคะแนนบัตรที่ไม่ถูกต้อง ขณะที่นายไบเดนมีคะแนนนำเช่นกัน

- รัฐเพนซิลเวเนีย

ปฏิเสธนับผลคะแนนใหม่ และผลที่ออกมา

ไบเดน : 49.8%

ทรัมป์ : 48.9%

ซึ่งหากนับผลคะแนนใหม่ นายทรัมป์ก็อาจจะแพ้นายไบเดนเพียง .5%

- คำตัดสินของศาลมอนต์โกเมอรี่ (Montogomery) ปฏิเสธคำร้องของนายทรัมป์ในการระงับการนับคะแนนชั่วคราวที่กำลังนับอยู่เกือบ 600 ฉบับ จากการกล่าวอ้างในเรื่องความผิดพลาดด้านที่อยู่ และชื่อที่อยู่บนซองจดหมาย

· ‘ทรัมป์’ ยอมรับ “ไบเดนชนะ” แต่ยังไม่ยอมแพ้เลือกตั้ง ซัดชัยชนะจอมปลอม- ‘ทีมไบเดน’ เข้าพบผู้ผลิตวัคซีน

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปรากฎตัวต่อหน้าสาธารณชนเมื่อวานนี้ ที่ดูเหมือนจะเริ่มยอมรับความพ่ายแพ้การเลือกตั้ง แต่ก็เขาก็ยังแสดงจุดยืนไม่ยอมรับต่อผลการเลือกตั้ง และระบุว่าผลดังกล่าวเป็นชัยชนะที่ไม่เป็นธรรม

ขณะที่ทีมบริหารของนายไบเดน มุ่งเน้นการแก้ปัญหาการระบาดของไวรัสโคโรนา และกำหนดประชุมร่วมกับบริษัทยาต่างๆที่มีการทดสอบวัคซีนอยู่ในเวลานี้

นอกจากนี้ ทีมบริหารของนายไบเดน ยังระบุถึง การที่สหรัฐฯจะต้องอนุมัติการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลภายในสัปดาห์นี้

· Nomura คาด เศรษฐกิจอินเดียจะในปีงบประมาณปีนี้จะมีกำไรโดยรวมลดน้อยลง อันเป็นผลจาก

- เป้าหมายรายได้จากภาษี Non-Tax สูงขึ้น เแม้ว่าอินเดียจะมีการเก็บภาษีเพิ่ม และเศรษฐกิจอินเดียกลับมาเปิดทำการ

- การขาดปริมาณการลงทุน

ดังนั้น จึงมีช่องว่างทางการเงินเป็นจำนวนมากแม้จะมีรายได้ที่น้อยลงก็ตาม

· นักบริหารการเงิน ระบุว่า เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดรอบ 10 เดือนที่ 30.175 บาท/ดอลลาร์ ก่อนจะลดช่วงบวกลงบางส่วน โดยการแข็งค่าของเงินบาทมาจาก
- การแข็งค่าตามสกุลเงินอื่นๆในช่วงต้นตลาด
- ตลาดการเงินในเอเชียตอบรับชัยชนะของ “นายโจ ไบเดน”
- ความคืบหน้าของวัคซีนต้าน Covid-19
- แรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ
ภาพรวม เงินบาทรักษาทิศทางแข็งค่า แม้ว่าสัญญาณการระบาดของโควิด-19 เริ่มรุนแรงขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ

สำหรับสัปดาห์นี้ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 30.00-30.40 บาท/ดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่
* 16 พ.ย. - จีดีพีไตรมาส 3/63 ของไทย
* ผลการประชุมนโยบายการเงินของกนง.
* ประเด็นทางการเมืองของสหรัฐฯ
* ปัจจัยทางการเมืองของไทย


· อ้างอิงสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ปชป.นัดส.ส.ถกแก้รธน. 16 พ.ย. พร้อมขอฟังความเห็นต่อร่าง iLaw ก่อนลงมติ

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค และประธานส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้เชิญส.ส. ของพรรคมาประชุมร่วมกันในวันที่ 16 พ.ย. เวลา 13.30 น. เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ร่าง ที่รัฐสภาเตรียมที่จะพิจารณากันในวันที่ 17 และ 18 พ.ย. นี้ ในส่วนของพรรคจะเปิดโอกาสให้ ส.ส. แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางเพื่อพิจารณาให้รอบด้านมากที่สุด

- ม็อบราษฎร เตรียมปักหลักชุมนุม 17 พ.ย.ล้อมรัฐสภา จับตาลงมติร่างแก้ไขรธน.

สำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ ที่จะเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา ประกอบด้วย ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับเดิม ที่มีการตั้งกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนนำไปสู่การพิจารณารับหลักการของรัฐสภา และอีก 1 ฉบับ ซึ่งเป็นร่างฉบับประชาชน ที่กลุ่มโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ได้นำเสนอเข้ามา

- รัฐย้ำใช้กลไกรัฐสภาแก้รธน. ชวนผู้เห็นต่างร่วมแก้เศรษฐกิจลดผลกระทบปชช.

- ไทยหนุนความร่วมมือการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน+3กับสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก (the East Asia Business Council: EABC)


· อ้างอิงจากสำนักข่าว Brandinside

ไทยลงนาม RCEP กลุ่มหุ้นส่วนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ข้อตกลงใหญ่ที่สุดคิดเป็น 30% ของ GDP โลก

· อ้างอิงจากสำนักข่าวไทยรัฐ

- ลงทุนอีอีซี 3 แสนล้าน "สุพัฒนพงษ์" รมว.พลังงาน เผยสัญญาณดีเศรษฐกิจไทย ที่จะฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้และจะต่อเนื่องไปถึงในปีหน้า


· อ้างอิงจาก The Standard

- เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 สัญญาณ ‘หดตัวน้อยลง’ สศช. เตรียมแถลง 16 พ.ย. นี้

สำนักวิจัยส่วนใหญ่มีความเห็นในทิศทางที่สอดคล้องกันว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะ ‘พ้นจุดต่ำสุด’ ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ซึ่งไตรมาสดังกล่าวตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ‘หดตัว’ ถึง 12.2% ถือเป็นการหดตัวมากที่สุดในรอบ 22 ปีนับจากไตรมาส 2 ปี 2541

ส่วนตัวเลขไตรมาส 3 ปี 2563 ทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เตรียมประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งตลาดคาดการณ์กันว่า จะหดตัวราว -7% ถึง -8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยถือเป็นตัวเลขที่หดตัวน้อยลง เนื่องจากภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเริ่มทยอยฟื้นตัว

ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า EIC คาดว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ของปีนี้มีแนวโน้มหดตัว 8.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งยังถือว่าเป็นการหดตัวในระดับสูง เนื่องจากรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป ขณะที่การส่งออกก็ยังฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 3 ปีนี้น่าจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว 12.2% สาเหตุเพราะมาตรการผ่อนคลายการปิดเมือง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายภาคส่วน เช่น การใช้จ่ายและการท่องเที่ยวในประเทศเริ่มกลับมาดำเนินกิจการได้ แม้ว่าจะยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19


· อ้างอิงจากโพสต์ทูเดย์

- เศรษฐกิจไทยหนักสาหัสกว่าที่คิด

ผู้ว่าแบงก์ชาติ ระบุเศรษฐกิจไทยแก้ยาก เพราะเจอทั้งมรสุมโควิดและหนี้ครัวเรือน

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ที่ติดลบ 8% ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะติดลบ 11% โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 หนักที่สุด คือ ภาคการท่องเที่ยว มีสัดส่วน 11-12% ของจีดีพี และเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานถึง 20% ของการจ้างงานทั้งระบบ นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังมีปัญหาซ้ำเติมจากเรื่องหนี้ครัวเรือน ที่เป็นปัญหาอยู่คู่กับไทยมาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการกู้ยืม จึงทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ถือเป็นจุดเปราะบางของเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลมีปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขไม่ใช่เพียงแค่รายได้ของประชาชนที่ลดลงเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องภาระหนี้สินอีกด้วย

- นายกฯพร้อมพิจารณาข้อเสนอแนะฟื้นเศรษฐกิจไทยจากทูต 5 ประเทศ
สำหรับข้อเสนอแนะ 10 ข้อ ได้แก่

1.ทำให้ระบบของหน่วยงานศุลกากรง่ายขึ้นและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเพื่อให้การนำเข้าสินค้าสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้นและมีต้นทุนที่ถูกลง

2.จัดตั้งพิธีการศุลกากรตามระบบบัญชีที่สามารถระบุความเสี่ยงและทำให้ระบบประมวลภาษีศุลกากรทันสมัย

3. ดำเนินโครงการทบทวนการอนุญาตของทางราชการ ทบทวนกฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำจัดความซ้ำซ้อน

4.เพิ่มแพลตฟอร์มรูปแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

5.ให้ลดความซับซ้อนในการสมัครขอรับการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

6.สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเดินหน้าสู่การค้าดิจิทัล

7.ปฏิรูปข้อกำหนดที่เข้มงวดเกี่ยวกับแรงงานฝีมือชาวต่างชาติ และลดขั้นตอนขอวีซ่าสำหรับแรงงานฝีมือ

8.เน้นความสำคัญของความโปร่งใสเพื่อคลี่คลายข้อพิพาท

9.ปรับปรุงกระบวนบังคับคดีล้มละลาย

10.เพิ่มกระบวนการดิจิทัลในการอนุมัติขององค์การอาหารและยาออกเอกสารแบบดิจิทัล และรับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ หากทำได้ทั้งหมดนี้เชื่อว่าไทยจะมีค่าดัชนีชี้วัดของธนาคารโลกที่ดีขึ้น และนักลงทุนก็จะหันมาสนใจยิ่งกว่าชาติอื่น ๆ ในภูมิภาค


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com