· ดอลลาร์อ่อนค่า - ปอนด์แข็งค่า จากเทรดเดอร์จับตาเจรจา "Brexit"
ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักส่วนใหญ่ ขณะที่เงินปอนด์และค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นจากสัญญาณที่ว่า "อังกฤษ-อียู อาจเจรจาคืบหน้ามากขึ้นเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าหลัง Brexit" หลังจากที่ที่ปรึกษาระดับสูงของนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ อาจเจรจาได้ภายในช่วงกลางเดือนธ.ค.
ความเชื่อมั่นในตลาดมีการผสมผสาน ระหว่าง "ความกังวล" ของไวรัสโคโรนาทั่วโลก และ "ความหวัง" ว่าวัคซีนจะเป็นตัวช่วยให้แก่เศรษฐกิจโลก
ดัชนีดอลลาร์ในตลาดเอเชียอ่อนค่าต่อมาที่ 92.565 จุด
ค่าเงินปอนด์แข็งค่ามาที่ 1.3226 ดอลลาร์/ปอนด์
ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.16% ที่ 1.1854 ดอลลาร์/ปอนด์
ยอดติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นกดดันตลาดโลกจากความหวังวัคซีน ขณะที่เหล่าเทรดเดอร์มีการปิดสถานะ Long ในค่าเงินเยน
ค่าเงินเยนแข็งค่าลงมาที่ 104.49 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่สัปดาห์ที่ผ่านมาทำรายสัปดาห์ที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิ.ย.
ยอดติดเชื้อในสหรัฐฯรวมทะลุ 11 ล้าน สะท้อนถึง "การระบาดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว"
ข้อมูลเศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่นในวันนี้ ขยายตัวได้ โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนปรับขึ้นเกินคาดแตะ 6.9% ในเดือนต.ค. และจีดีพีไตรมาสที่ 3 เติบโตได้อย่างรวดเร็ว
ค่าเงินหยวนแข็งค่ามาที่ 6.5818 หยวน/ดอลลาร์ ทำแข็งค่ามากสุดรอบ 1 สัปดาห์
· "ไบเดน" ให้ความสำคัญต่อแผนเศรษฐกิจสหรัฐฯ - "ทรัมป์" มุ่งเรียกร้องทางกฎหมายระยะยาว
นายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวในวันนี้ว่าจะทำการมุ่งเน้นไปยังแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพื่อต่อสู้กับวิกฤตไวรัสโคโรนา และเขามีการเตรียมการกับทีมบริหารของเขาอยู่ ขณะเดียวกัน นายทรัมป์ก็มีการแถลงต่อสือถึงการจะพุ่งเป้าไปยังการฟ้องร้องผลคะแนนเลือกตั้งต่อศาลของสหรัฐฯ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา นายทรัมป์ มีการส่งสัญญาณที่หลากหลาย และมีการทวิตเตอร์ในช่วงเช้าถึงความตั้งใจที่จะไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม พร้อมกับยังกล่าวหาถึงการโกงคะแนนเลือกตั้งของเขา
นายทรัมป์ยังระบุว่าอีกว่า "จะแสดงให้เห็นว่าการเลือกตั้งปีนี้ไม่ถูกต้องตามหลักรัฐธรรมนูญ" แม้ว่าคำร้องของเขาจะยังมีความท้าทายและหลายๆรัฐก็ไม่ยอมรับต่อคำร้องใดๆของเขา
ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายกฎหมายหลายราย กล่าวว่า การฟ้องร้องของนายทรัมป์ "มีโอกาสเพียงเล็กน้อย" ที่จะเปลี่ยนแปลงผลคะแนนการเลือกตั้งในปี 2020 ได้ ขณะที่เจ้าหน้าที่กำกับดูแลด้านการเลือกตั้งของทั้ง 2 พรรค ยังเห็นพ้องกันในเรื่องของคำกล่าวหาที่ปราศจากหลักฐานประกอบความไม่ถูกต้องในครั้งนี้
· เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระดับสูงของจีน เผยว่า Huawei หวังประธานาธิบดี "ไบเดน" จะช่วย "ฟื้นฟู" ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน
ท่ามกลางความหวังว่าการเปลี่ยนรัฐบาลจะช่วยสร้างโอกาสในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ ขณะที่ Hawei กำลังมุ่งหน้าพัฒนา 5G หลังจากทีมบริหารนายทรัมป์ได้ทำการคว่ำบาตรบริษัท Huawei มาตั้งแต่เดือนส.ค. ปีที่แล้ว
บรรดานักวิเคราะห์ กล่าว ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจาก RCEP จะเป็นไปอย่างปานกลางและอาจใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะเป็นรูปเป็นร่าง แต่ข้อตกลงครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะทางการเมืองสำหรับ "จีน" ที่ได้รับการคุกคามจากสหรัฐฯนับตั้งแต่ยุคของนายทรัมป์ ที่ดำเนินนโยบาย " America First"
แต่ก็ยังมีความไม่ชัดเจนว่าสหรํฐฯจะมีการเจรจาข้อตกลงการค้าขนานใหญ่ร่วมกับประเทศเศรษฐกิจต่างๆในภูมิภาคเอเชียหรือไม่ ภายใต้การบริหารงานของนายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่
· จีนเผชิญความท้าทายในการรักษาบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ท่ามกลางการดำเนินการของสหรัฐฯ
บรรดาผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า จีนจำเป็นจะต้องทำให้มั่นใจว่าการผลักดันข้อกำหนดใหม่เป็นไปอย่างสมดุลและกลายเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีระดับโลกได้ เช่นเดียวกับในสหรัฐฯ ที่ภาคเทคโนโลยีนของจีนมีการขยายตัวและเข้าถึงกำลังเผชิญกับอุปสรรค โดยในบางพื้นที่มีหน่วยงานกำกับดูแลเข้ามามีบทบาท และมีผลต่อความพยายามเหล่านั้นของจีนมากขึ้น
· ข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนเพิ่มขึ้นเกินคาด - ยอดค้าปลีกจีนขยายตัวต่อในเดือนต.ค.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผย ข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนปรับตัวขึ้นเกินคาดในเดือนต.ค. แตะ 6.9% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี โดยเป็นการขยายตัวได้อย่างรวดเร็วเกินคาดมากสุด ขณะที่ยอดค้าปลีกฟื้นตัวต่อแม้จะชะลอตัวลงกว่าคาดการณ์เล็กน้อย โดยยอดค้าปลีกเดือนต.ค.โตได้ 4.3% เมื่อเทียบรายปี จากคาดการณ์ที่ 4.9% แต่ภาพรวมถือว่าขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับเดือนก.ย.ที่ 3.3%
· เศรษฐกิจญี่ปุ่นรีบาวน์จากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางผลจาก Covid-19 ที่บรรเทาลงไป
เศรษฐกิจญี่ปุ่นช่วงไตรมาสที่ 3/2020 โตได้ 21.4% เมื่อเทียบรายปี จากระดับ -28.8% ในไตรมาสที่ 2/2020 ข้อมูลล่าสุด ถือเป็นการรีบาวน์ได้มากที่สุดนับตั้งแต่ที่ดิ่งลงไปอย่างหนัก สะท้อนถึงสัญญาณที่ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีการฟื้นตัวจากความเสียหายที่ได้รับจากวิกฤต Covid-19
ขณะที่ข้อมูลเทียบรายไตรมาสจะพบว่าจีดีพีไตรมาสที่ 3 โตได้ 5% เร็วกว่าที่คาดว่าจะออกมาที่ 4.4% และเป็นการฉุดให้เศรษฐกิจก้าวออกจากภาวะถดถอยได้
นักวิเคราะห์หลายๆคนยัง คาดว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังมีผลกระทบจาก
- การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเป็นไปอย่าง "ปานกลาง"
- การอุปโภคบริโภคอ่อนแอ
- การเพิ่มขึ้นของยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาในญี่ปุ่น และต่างประเทศ
การอุปโภคบริโภคของเอกชน ปรับขึ้นได้มากกว่าครึ่งของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในไตรมาส 3 โดยปรับขึ้นได้ 4.7% โดยรีบาวน์จากไตรมาสที่ 2/2020 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdown ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนา
อุปสงค์ภายนอกประเทศ พบการส่งออกที่เพิ่มขึ้น 2.9% ของจีดีพี ตอบรับการรีบาวน์ของอุปสงค์จากต่างประเทศจึงช่วยหนุนให้ส่งออกโตได้ 7.0%
ค่าใช้จ่ายด้านเงินลงทุนปรับลง 3.4% หดตัวลงต่อเนื่อง 2 ไตรมาส บ่งชี้ถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาที่กดดันความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ
ญี่ปุ่นประกาศ "แพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ" มูลค่า 2.2 ล้านล้านเหรียญ เพื่อคลายผลกระทบจากวิกฤตไวรัสที่เกิดขึ้น ประกอบไปด้วย การจ่ายเงินสดให้แก่ "ภาคครัวเรือน" และ "เงินกู้แก่ภาคธุรกิจขนาดเล็ก"
แม้ว่า จะมีสัญญาณการฟื้นตัวในหลายๆเดือนที่ผ่านมา แต่นักวิเคราะห์ก็คาดว่า
จีดีพีญี่ปุ่นในปีงบประมาณปีนี้จะหดตัว -5.6% (สำหรับปีงบประมาณที่จะสิ้นสุดในปี 2021) และอาจจะใช้เวลาหลายปีในการที่จะสามารถฟื้นตัวได้ก่อนเกิดการระบาดของไวรัส
· รัฐมนตรีสิงคโปร์ ชี้ ข้อตกลงการค้าขนาดใหญ่ (RCEP) ที่ได้รับการสนับสนุนโดยจีน ถือเป็นสัญญาณ "ความมุ่งมั่น" ในการรวมเศรรษฐกิจแบบบูรณาการ แม้ว่าจะยังม่ีความท้าทายอยู่บ้าง และเมื่อรวมประชากรของกลุ่มประเทศที่ลงนามร่วมกันจะมีมากกว่า 2 พันล้านราย รวมทั้งผลรวมจีดีพีที่มีมูลค่าสูงกว่า 26 ล้านล้านเหรียญ และอาจเพิ่มเป็น 30% ของประชากรทั่วโลกและจีดีพีของเศรษฐกิจระดับโลกได้
· ออสเตรเลียพบการระบาดเพิ่ม กลับมาใช้สัญญาณเตือนอีกครั้งท่ามกลางยอดติดเชื้อภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น
· น้ำมันพุ่งสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่น ,ความหวังการปรับลดอุปทานของกลุ่มโอเปกพลัส
ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น จากช่วงก่อนหน้านี้ที่มีการปรับลดลงไป เนื่องจากความหวังว่ากลุ่ม OPEC + จะปรับลดกำลังการผลิตเพื่อชดเชยความกังวลเกี่ยวกับความต้องการใช้เชื้อเพลิงที่ลดลงจากยอดการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและปริมาณการผลิตน้ำมันที่ลิเบียที่เพิ่มสูงขึ้น
โดยน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 54 เซนต์ หรือ 1.3% ที่ระดับ 43.32 เหรียญ/บาร์เรล
ขณะที่น้ำมันดิบ WIT ปรับขึ้น ที่ระดับ 40.76 เหรียญ/บาร์เรล ปรับขึ้น 63 เซนต์ หรือ 1.6%
โดยทั้งคู่เพิ่มขึ้นกว่า 8% ในสัปดาห์ที่แล้วจากความหวังของวัคซีนสำหรับ COVID-19 และ การที่โอเปก+ รวมถึงรัสเซียรวมกันลดผลิตลงในปีหน้าเพื่อพยุงราคา