S&P Global Ratings กล่าวเตือนว่า ภาคธนาคารอาจเผชิญกับปีที่ยากลำบากที่สุดนับตั้งแต่ที่เคยเกิดวิกฤตทางการเงิน จาก 4 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบในปี 2021 ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบันที่อยู่ในสภาวะ “เชิงลบ” กว่า 1 ใน 3 ของธนาคารต่างๆทั่วโลก และส่งผลให้
- ธนาคาหลายแห่งมีการปรับทบทวนแนวโน้มเชิงบวกจากวิกฤต Covid-19 ในปีนี้
- ราคาน้ำมันที่ดิ่งลงอย่างหนักในช่วงต้นปี
นักวิเคราะห์จากฝ่าย S&P Global Ratings Credit Analyst กล่าวว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาก่อนเกิด Covid-19 ภาคธนาคารต่างๆมีการเผชิญกับภาวะค่อนข้างสงบนี่งในช่วงเริ่มปี 2020 แต่ในปี 2021 จะมีท่าทีที่เปลี่ยนแปลงไป
ขณะที่ระบบธนาคารหลายแห่งก็ไม่คาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวได้เท่ากับช่วงก่อนเกิด Covid-19 จนกว่าจะถึงปี 2023 หรือมากกว่านั้น
ดังนั้น ผลกำรในภาคธนาคารต่างๆ จึงคาดว่าน่าจะออกมาย่ำแย่ในปี 2021 และจะค่อยๆฟื้นตัวอย่างช้าๆ ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมืองที่หลากหลาย แต่ภาคธนาคารต่างๆ มองว่าโดยรวมน่าจะมีการฟื้นตัวได้มากกว่าช่วงที่เคยประสบภาวะวิกฤตทางการเงินในปี 2009
นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าการสนับสนุนทางการเงินที่แข็งแกร่งจากภาครัฐบาลต่างๆ จะช่วยสนับสนุนให้แก่ กลุ่มผู้ให้กู้ ท่ามกลางตลาดการเงินต่างๆที่ยังมีท่าทีผ่อนคลาย และมีการจัดสรรเงินสำรองจำนวนมากเพื่อรับมือกับคุณภาพของสินทรัพย์ต่างๆที่จะอ่อนตัวลง
มาตรการสนับสนุนต่างๆ ช่วยให้เกิดเสถียรภาพแก่บรรดาธนาคารทั้งหลาย และช่วยเหลือกลุ่มผู้กู้ให้ฟื้นตัวได้ และคาดการณ์ในเรื่องการทยอยถอนมาตรการสนับสนุนต่างๆในปี 2021 น่าจะช่วยให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แท้จริงของคุณภาพสินทรัพย์ในภาคธนาคาร แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีการเริ่มต้นฟื้นตัว
4 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ
S&P Global Ratings คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะรีบาวน์ได้ในปี 2021 อันเป็นผลที่ผสมผสานกันระหว่าง
- ความแข็งแกร่งของยอดงบดุลธนาคาร
- นโยบายสนับสนุนกลุ่มนักลงทุนรายย่อยและตลาดตราสารหนี้เอกชน
- กลุ่มผู้กำหนดนโยบายมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
และทั้งหมดนี้ จะช่วยจำกัดภาวะขาลงได้ในปีหน้า
กรณีที่จะมาสนับสนุนตลาดเพิ่ม คือ ข่าวเชิงบวกเกี่ยวกับซีนไวรัสโคโรนา หลังจากที่มีการรับข้อมูลเชิงบวกเพิ่มจากรายงานของบริษัท Pfizer และ Moderna ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า 90% ซึ่งแนวโน้มความเชื่อมั่นกลุ่มสินเชื่อน่าจะเติบโตได้ดีขึ้นตั้งแต่กลางปี 2021 เมื่อเริ่มมีการกระจายวัคซีนเกิดขึ้น
อย่างไรก็ดี ควรระมัดระวังต่อการเปลี่ยนแปลงจากการประเมินไว้ได้ อาทิ
- ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ
- การฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์
- มีอุปสรรคทางเศรษฐกิจ
ทั้งหมดนี้ จะส่งผลลบต่อแนวโน้มสินเชื่อต่างๆ โดยเฉพาะสภาวะการระบาดของ Covid-19 หรือ Second Wave ในเวลานี้ ที่ส่งผลให้ “เกิดการกลับมาใช้มาตรการ Lockdown”
ความกังวลต่อมาคือเรื่องความเป็นไปได้ในการสนับสนุนการกู้ยืมระยะสั้นแก่ภาคธนาคาร ที่อาจส่งผลให้ “ระยะยาวประสบปัญหาได้” หากว่ากลุ่มผู้กำหนดนโยบายมีการถอนมาตรการทางการเงินออกในเร็วๆ ดังนั้น การดำเนินการตามกรอบนโยบายหรือกรอบเวลาที่เหมาะสม “จึงจำเป็นมากสำหรับปี 2021”
การถอนนโยบายทางการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ “เร็วเกินไป” ก็จะส่งผลต่อการฟื้นตัวและมีแนวโน้มจะสร้างผลเสียต่อ ภาคครัวเรือน และ ยอดงบดุลของภาคเอกชน ซึ่งจะกระทบต่อภาคธนาคารตามลำดับ
การกู้ยืมที่เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้การผิดชำระหนี้พุ่งสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะนำไปสู่การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญมากขึ้นเช่นกัน แลจะเป็นปัจจัยกดดันผู้ให้กู้ประสบภาวะขาดทุนมากขึ้น เรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องที่ต้องระวัง
ความเสี่ยงทางการเงินตัวสุท้ายคือ ความเป็นไปได้ที่จะเห็น “ตลาดอสังหาริมทรัพย์” อ่อนแอ และอาจส่งผลกระทบใหญ่กว่าที่คาดไว้ในช่วงวิกฤต Covid-19 ซึ่งจะเป็นที่เน้นย้ำถึงภาวะผิดนัดชำระนี้ และสภาพคล่องของสินเชื่อในภาคธนาคารต่างๆอ่อนแอ
ที่มา: CNBC