ทองร่วงจากข่าววัคซีน แต่ก็ปิดรีบาวน์ได้เล็กน้อยจากความกังวลยอดติดเชื้อ Covid-19
· ราคาทองคำภาพรวมยังปิดอ่อนตัวลง โดยตลาดถูกกดดันจากการที่บริษัท Pfizer เผยความสำเร็จในการทดสอบวัคซีน จึงช่วยลดความกังวลเรื่องยอดติดเชื้อ Covid-19 ไปบางส่วน และการปราศจากการสนับสนุนทางการเงินเพิ่ม
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.3% ที่ระดับ 1,872.38 เหรียญ โดยในช่วงที่บริษัท Pfizer เผยผลวัคซีนล่าสุดที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 95% และมีการประเมินข้อมูลที่จำเป็นเพิ่มเติมในเชิงบวก จึงกดดันให้ราคาทองคำจากแถวระดับ 1,884 เหรียญ ปรับตัวลงมาทำต่ำสุดที่ 1,863 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด -0.6% ที่ระดับ 1,873.90 เหรียญ
· กองทุน SPDR เมื่อวานนี้ทำการเทขายทองคำออกอีก 7.3 ตัน โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,219 ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. ที่ผ่านมา
ภาพรวมเดือนพ.ย. ขายแล้ว 38.67 ตัน ซึ่งขายต่อเนื่องติดต่อกัน 2 เดือน และยังเป็นเป็นเดือนที่ขายมากสุดของปี แต่ภาพรวมปีนี้อยู่ในสถานะซื้อสุทธิที่ 325.75 ตัน ถือเป็นจำนวนรวมของการเข้าซื้อสุทธิมากสุดตั้งแต่ปี 2010
· นักวิเคราะห์จาก EDF&Man Capital Markets ระบุว่า ความคืบหน้าเชิงบวกของวัคซีนที่เกิดขึ้นช่วยลดความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างราคาทองคำลงไป แต่ภาพรวมดูทองคำจะยั้งเคลื่อนไหวในกรอบ และยังไม่มีปัจจัยใหม่ใดๆที่จะผลักดันให้ปรับขึ้นออกจากกรอบนี้ได้ ขณะที่ความคืบหน้าอย่างมากของวัคซีนมีแนวโน้มจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจโลกได้ และน่าจะกลายมาเป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำ
· นักวิเคราะห์จาก TD Securities กล่าวว่า มูลค่าการกลับมาลงทุนในทองคำยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากแนวโมของอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับการที่เฟดอาจเพิ่ม QE ในขณะที่เงินเฟ้อถูกคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งปัจจัยนี้จะยิ่งกดดันให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงเคลื่อนไหวในแดนลบ และนักลงทุนจะกลับเข้าถือครอง Safe-Haven และมีเม็ดเงินไหลกลับสู่ตลาดทองคำ
· ราคาซิลเวอร์ปิด -0.5% ที่ระดับ 24.34 เหรียญ
· ราคาพลาเดียมปิด +1.3% ที่ระดับ 2,348.78 เหรียญ
· ราคาแพลทินัมปิด +1.9% ที่ระดับ 942.53 เหรียญ ท่ามกลางสภาการลงทุนแพลทินัมระดับโลก (The World Platinum Investment Council) คาดว่า ตลาดจะมียอดขาดดุลในปี 2020 และ 2021
· สรุปคืบหน้าวัคซีน Pfizer-BioNTech พบผลวิเคราะห์วัคซีนมีประสิทธิภาพ 95%
- ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัส Covid-19
- ช่วยป้องกันการระบาดสู่กัน
- สามารถใช้ได้ทุกวัย - ทุกเชื้อชาติ
- สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุความเสี่ยงสูง และมีอาการป่วยจากวัคซีน พบประสิทธิภาพกว่า 94%
คาดจะส่งข้อมูลให้ FDA พิจารณาเพื่ออนุมัติใช้ “ฉุกเฉิน” เนื่องจากมีการประเมินข้อมูลที่จำเป็นเพียงพอต่อการให้พิจารณาวัคซีน
· BioNTech เผย ความเป็นไปได้ในการอนุมัติวัคซีนอาจเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนธ.ค. ภายใต้เงื่อนไขขององค์การอาหารและยา โดยคาดหวังอาจเริ่มได้ก่อน “คริสต์มาส”
· “Moderna” เผชิญความท้าทายครั้งใหญ่ในการผลิตวัคซีนจำนวนมาก เนื่องด้วยวัคซีนจะมีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงที่มีความจำเป็นในกระบวนการผลิตและการขนส่ง (ด้วยอุณหภูมิเย็นจัด) เพื่อไม่ให้วัคซีนเสื่อมประสิทธิภาพ
จึงถือเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับบริษัทผลิตยาทั่วโลกเมื่อเข้าสู่ความพร้อมในการจำหน่ายวัคซีน โดยเฉพาะเรื่องของ “อุณหภูมิ” และ “การเก็บรักษาวัคซีน” ด้วยความเย็นที่เพียงพอในระหว่างการขนส่ง
วัคซีนของบริษัท Pfizer:
- เก็บรักษาด้วยอุณหภูมิระหว่างขนย้าย -94 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ -70 องศาเซลเซียส
วัคซีนบริษัท Moderna:
- วัคซีนมีเสถียรภาพกว่าในการขนย้าย
- เก็บรักษาด้วยอุณหภูมิ 36 - 46 องศาฟาเรนไฮต์ (ถือเป็นระดับอุณหภูมิมาตรฐานในที่พักอาศัยหรือตู้เก็บรักษาทางการแพทย์)
- ระยะเวลาการเก็บวัคซีนนาน 30 วัน
- สามารถเก็บรักษาวัคซีนได้นานกว่า 6 เดือน เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ -4 องศาฟาเรนไฮต์
· องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) มีแผนจะหารือกับบรรดาที่ปรึกษาในเรื่องวัคซีนก่อนเกิดความเป็นไปได้ในการอนุมัติใช้งานใดๆ
· ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาล่าสุดทะลุ 56 ล้าน
ยอดติดเชื้อทั่วโลกสะสมล่าสุดอยู่ที่ 56.53 ล้านราย โดยมียอดติดเชื้อใหม่เพิ่มกว่า 599,116 ราย ด้านเสียนชีวิตสะสมทั่วโลกรวม 1.35 ล้านราย
สหรัฐฯยังหนักมีการพบยอดติดเชื้อใหม่สูงกว่า 167,000 ราย ส่งผลให้ยอดสะสม 11.86 ล้านราย ด้านผู้เสียชีวิตสะสมในสหรัฐฯเพิ่มต่อเนื่องเช่นกันล่าสุดสูงกว่า 256,184 ราย
ประเทศอื่นๆ อาทิ อินเดียยอดติดเชื้อสะสมใกล้แตะ 9 ล้านราย, บราซิลยอดติเชื้อสะสมรวมใกล้เหนือ 6 ล้านราย และรัสเซียมีแนวโน้มจะแตะ 2 ล้านรายในเร็วๆนี้
· ผู้นำในหลายๆรัฐและเมืองต่างๆในสหรัฐฯ กลับมา Lockdown อีกครั้งเพื่อจำกัด Covid-19 ท่ามกลางการระบาดที่เพิ่มขึ้นในทุกๆพื้นที่ของสหรัฐฯ และส่งผลให้เกิดการกลับมาปิดภาคธุรกิจบางส่วน, การจำกัดการรวมกลุ่มในที่สาธารณะหรือส่วนบุคล รวมทั้งมีการประกาศให้สวมใส่หน้ากากอนามัยเป็นประจำเพื่อลดการระบาดที่เกิดขึ้น
ขณะเดียวกัน การปราศจากแผนช่วยเหลือของสหรัฐฯ ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐต่างๆมีการออกคำสั่งใช้มาตรการ Stay-at-Home, การเคอร์ฟิวส์ และมาตรการอื่นๆที่จำเป็นเพื่อชะลอหรือลดการระบาด
อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่า ผู้ว่าการรัฐต่างๆและนายกเทศมนตรีประจำเมืองส่วนใหญ่ “ไม่ต้องการ Shutdown เศรษฐกิจอีกครั้ง” เหมือนที่เคยเกิดในเดือนมี.ค.-เม.ย. ซึ่งเป็นการระบาดในช่วงแรก
· ผู้ช่วยเลขาธิการด้านสาธารณะสุขสหรัฐฯ เผย สหรัฐฯกำลังเข้าสู่สถานการณ์ที่ค่อนข้างอันตราย และการระบาดดูจะเข้าสู่สภาวะที่เลวร้ายอย่างมาก
· สหรัฐฯขยายมาตรการคุมเข้มด้านการเข้าออกพรมแดนแคนาดา-เม็กซิโกจนถึง 21 ธ.ค.นี้
· กรรมการบริหาร WHO เตือน วัคซีนอาจไม่ช่วยต่อสู้กับการระบาดในปัจจุบันที่กำลังเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวได้
· อดีตหัวหน้าองค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐฯ ชี้ว่า สภาคองเกรสจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ Covid-19 เพราะอาจเป็น “ครั้งสุดท้าย” ท่ามกลางภาคธุรกิจต่างๆที่ต้องปิดชั่วคราวและต้องได้รับการช่วยเหลือในสภาวะวิกฤตที่เลวร้ายอย่างมาก ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงควรพยายามสนับสนุนและส่งเสริมกันในช่วง 2-3 เดือนนี้เพื่อลดผลกระทบ Covid-19 ให้น้อยลงในช่วงปี 2021
· นายจอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของยอดติดเชื้อ Covid-19 จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อันเนื่องจากการกลับมาคุมเข้มการทำกิจกรรมต่างๆ ที่อาจนำไปสู่การชะลอตัวางเศรษฐกิจเพิ่ม
· นายโธมัส บาร์กิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ เผยเฟดกำลังพิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้ QE เพิ่มเติมหรือไม่ ท่ามกลางแนวโน้มที่เฟดจะมีการเดินหน้าผ่อนคลายทางการเงินต่อไป และเฟดเองก็มีการสนับสนุนทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากจึงต้องพิจารณาถึงคาดการณ์ต่างๆว่ามีความจำเป็นเพียงพอต่อการทำ QE เพิ่มหรือไม่
· Standard Chartered คาดมีโอกาส 50-50% ที่เฟดอาจประกาศผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มก่อนการประชุม 15-16 ธ.ค.นี้ หากยอดติดเชื้อไวรัสในสหรัฐฯยังสูงขึ้นต่อเนื่อง
· จิม เครเมอร์ ผู้เชี่ยวชาญและนักจัดรายการชื่อดังของ CNBC แสดงความผิดหวังต่อความล้มเหลวของสภาคองเกรสในการผลักดันแผนกระตุ้นเศรษฐกิจช่อง Covid-19 จึงอาจเห็นผลกระทบหนักในกลุ่มภาคธุรกิจขนาดเล็ก
· บรรดาผู้ก่อตั้งบริษัทในกลุ่ม Start-up ไม่คิดว่า “ธุรกิจท่องเที่ยว” จะฟื้นตัวได้ในเร็วๆนี้
และการระบาดของไวรัสโคโรนาจะเป็นตัวบังคับให้ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับเปลี่ยนวิธดำเนินธุรกิจในแบบ “New Normal”
ทั้งนี้ บริษัทค้าปลีกรายย่อยก็ถูกบังคับให้เปลี่ยนมาใช้วิธีดำเนินธุรกิจผ่านแพลทฟอร์ม E-Commerce เพื่อให้ธุรกิจยังไปต่อได้ท่ามกลาง Covid-19 ที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตในทุกวันนี้
· ฝรั่งเศสเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกในยุโรปผลักดันงบประมาณอียูฉบับปี 2021-2027 และกองทุนฟื้นฟูยูโรโซนต่อไป โดยปราศจากโปร์แลนด์-ฮังการี
· ไบเดน ระบุว่า การไม่ยอมส่งมอบอำนาจของพรรครีพับลิกัน จะทำให้ความพยายามในการจัดการกับการะบาดของ Covid-19 ช้าออกไป
· ผลสำรวจจาก Reuters/Ipsos Poll ชี้ สมาชิกรีพับลิกันกึ่งหนึ่งมองไบเดนชนะได้ด้วย “การโกงคะแนนเลือกตั้ง”
· เจ้าหน้าที่รัฐจอร์เจีย “ไบเดน” ยังชนะ หลังสิ้นสุดการนับผลคะแนนเลือกตั้งใหม่เมื่อคืนนี้
· รัฐวินคอนซินจะทำการนับคะแนนใหม่ จากคำร้องของนายทรัมป์ที่ยังไม่รับต่อความพ่ายแพ้
· ศาลสูงสุดแห่งรัฐเพนซิลเวเนียรับคำร้อง “ทรัมป์” เกี่ยวกับผลคะแนนเลือกตั้งจากการนับคะแนนทางไปรษณีย์ที่พบข้อมูลเกี่ยวกับซองจดหมายในเขตฟิลาเดเฟียหายไปนับพันฉบับ โดยพบซองจดหมายที่ขาดข้อมูลต่างๆ อาทิ ชื่อ, วันที่จัดพิมพ์ และที่อยู่กว่า 8,329 ฉบับ
· ขณะที่คณะกรรมาการเลือกตั้งชี้ว่าการนับคะแนนดังกล่าวไม่ได้เกิดการฉ้อโกงแต่อย่างใด
· ส.ส. พรรคเดโมแครตยังหนุน “เพโลซี” ในการดำรงตำแหน่งโฆษกสภาฯสมัยที่ 2
· นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.25 - 30.45 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลง น่าจะเป็นผลจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้พูดถึงการติดตามสถานการณ์เงินบาทแข็งค่า ที่อาจจะมีการทบทวนความจำเป็นของมาตรการดูแลค่าเงิน โดยจะต้องติดตามรายละเอียดในวันพรุ่งนี้
ส่วนสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในประเทศ หากมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ก็อาจจะส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้บ้าง แต่ในภาพรวมแล้วการชุมนุมไม่ค่อยมีผลกับตลาดเงินมากนัก
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คาดหวังว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะหยุดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้วหันไปใช้มาตรการคล้ายกับการทำ QE ในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงิน หรือเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยตรง และต้องยอมรับว่ามาตรการที่ใช้รักษาเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้นั้น แม้ช่วยไม่ให้เกิด panic sell ได้ แต่ก็ยังไม่ได้เติมเงินเข้าระบบ หรือมาซื้อตราสารหนี้เอกชนอย่างที่หวังกัน
- นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ระบุยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษในการควบคุมสถานการณ์บ้านเมืองในขณะ
นี้ แม้จะมีความพยายามใช้ความรุนแรงมากขึ้นในการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นหน้ารัฐสภาเมื่อวานนี้ แต่จำเป็นต้องมีการเพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย เพราะไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรง
- ศบค.เห็นชอบให้มีต่ออายุ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ออกไปอีกเป็นครั้งที่ 8 โดยรอบนี้ได้ขยายเวลามากขึ้นเป็น 45 วัน คือ 1 ธ.ค.63-15 ม.ค.64 เพื่อให้ครอบคลุมไปถึงการดูแลสถานการณ์ในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่