CEO ของ BNP Paribas เผย การที่จีนผลักดันค่าเงินหยวนเข้าสู่ตลาดสากลอาจเกิด 2 ปัจจัยขับเคลื่อน คือ
1) เม็ดเงินจากกองทุนต่างๆ ไหลเข้าสู่ประเทศจีน
เมื่อเม็ดเงินไหลเข้ามา ทางรัฐบาลจีนและธนาคารกลางจีน (PBoC) “จำเป็น” ที่จะต้องผ่อนคลายกฎให้มีความยืดหยุ่นและอนุญาตให้เงินหยวนสามารถใช้นอกประเทศได้ ซึ่งการเสริมสภาพคล่องถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ตราบเท่าที่กองทุนต่างๆ ยังคงมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดจีน ดังนั้น จีนจึงมีโอกาสดีมากขึ้นที่จะยิ่งทำให้เงินหยวนถูกใช้ในต่างประเทศ
2) การผ่อนคลายกฎระเบียบสำหรับค่าเงินหยวนจากทั่วโลก
ทั้งนี้ ค่าเงินหยวนไม่ได้เหมือนค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิ ค่าเงินดอลลาร์หรือค่าเงินเยน ที่เป็นอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินลอยตัวที่ถูกกำหนดด้วยอุปสงค์และอุปทาน
ขณะที่จีนยังคงมีการควบคุมค่าเงินหยวนอย่างเข้มงวดสำหรับอัตราการซื้อขายในจีน โดยมีฮ่องกง และสิงคโปร์มีการใช้ค่าเงินหยวนนอกประเทศจีนมาก จึงมีอิทธิพลอย่างมากต่ออุปสงค์และอุปทานของเงินหยวน แต่ปริมาณการซื้อขายเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่าเงินหลักยังน้อยอยู่
อย่างไรก็ดี ไม่คิดว่าหยวนจะมาแทนที่ดอลลาร์ได้ แต่อาจส่งผลให้ทั่วโลก “เพิ่มการสำรอง” และ “มีการซื้อขายที่เป็นสากล” มากยิ่งขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนที่มีผลกับตลาดในเวลานี้ ซึ่งภาพรวมค่าเงินหยวนเป็น 1 ใน 6 ค่าเงินที่มีการใช้จ่ายในนานาประเทศมากที่สุด และคิดเป็นมูลค่าการค้าจีนที่ระดับประมาณ 20%
การควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา
จีนสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้ตั้งแต่เดือนมี.ค. ท่ามกลางการติดเชื้อทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในเดือนก.ค.จะเห็นได้ว่าผู้กำหนดนโยบายของ PBoC ไม่ได้มีการใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับธนาคารกลางอื่นๆ ที่มีการดำเนินการมากกว่า อาทิ เฟดที่มีการลดดอกเบี้ยใกล้ระดับศูนย์
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดโอกาสเห็นผลตอบแทนจากเงินทุนของต่างชาติไหลเข้าสู่สินทรัพย์การลงทุนในตลาดจีนได้มากขึ้น
การควบคุมการระบาด ถือเป็น “เรื่องสำคัญมาก” เพราะจะอนุญาตหนุนให้ธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ย
นักลงทุนมีมุมมองต่อค่าเงินหยวนในปัจจุบันมีความน่าดึงดูดใจจากคาดการณ์เกี่ยวกับ
- ความแข็งแกร่งของเงินทุน
- การเติบโตที่แข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ
- ดุลการชำระเงินที่เพิ่มมากขึ้น
ที่มา: CNBC