· ผู้ช่วย CEO จากบริษัทแอพ Robinhood เผย นักลงทุนหนุนตลาดหุ้นมีเสถียรภาพหลังเผชิญแรงเทขายหนักตั้งแต่เดือนมี.ค.
· ตลาดหุ้นผันผวน หลังมนูชินยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟด
ตลาดการเงินโลกหยุดชะงัก เนื่องจากข่าวนายสตีเว่น มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯได้ประกาศ ยุติโครงการเงินกู้ฉุกเฉินซึ่งส่งผลกระทบต่อความหวังในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่รัฐแคลิฟอร์เนียประกาศเคอร์ฟิวส์เพื่อพยายามต่อสู้กับการติดเชื้อโคโรนาไวรัสที่เพิ่มสูงขึ้น
โดยดัชนี S&P500 future ปรับลดลง 0.5% ด้านดัชนี Dow futures ลดลง 0.6%
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.3% ขณะที่ภาพรวมรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 1.5%
· หุ้นญี่ปุ่นปรับลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาที่สูงขึ้นทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้เกิดความกังวลว่าเจ้าหน้าที่จะกำหนดข้อจำกัดใหม่เกี่ยวกับกิจกรรมทางธุรกิจ
โดยดัชนี Nikkei ปิด -0.42% ที่ระดับ 25,527.37 จุด ด้านดัชนี Topix -0.06% ที่ระดับ 1,727.39 จุด
สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.6% หลังจากที่ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 29 ปี เนื่องจากความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาได้หนุนความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง
อย่างไรก็ตาม มุมมองเชิงบวกได้ชะลอลงไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอาจอ่อนแอลงก่อนที่จะมีวัคซีน
· หุ้นจีนปิดสูงขึ้น นำโดยหุ้นกลุ่มวัสดุและเครื่องจักร ด้านภาพรวมรายสัปดาห์ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน เนื่องจากเหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังตลาดตราสารหนี้ที่และมุ่งเน้นไปที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในวงกว้าง
โดยดัชนี Shanghai Composite ปิด +0.44% ที่ระดับ 3,377.73 จุด และดัชนี blue-chip CSI300 ปิด +0.31%
· หุ้นยุโรปเคลื่อนไหวทรงตัว ท่ามกลางการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯและความกังวลการแพร่ะบาดของไวรัส
โดยดัชนี Stoxx600 เคลื่อนไหวทรงตัว ด้านหุ้นน้ำมันและก๊าซเพิ่มขึ้น 0.7% ขณะที่หุ่นภาคธนาคารและประกันภัยลดลง 0.2%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ตลาดหุ้นไทยต้นภาคบ่ายพุ่งกว่า 10 จุด สวนทางตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ที่ติดลบ หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศมาตรการดูแลเงินบาทไม่ได้มีความรุนแรงมากอย่างที่คาดไว้ ทำให้คาดว่าจะยังมีเงินไหลเข้ามาในตลาดหุ้น โดยมีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่
เมื่อเวลา 14.34 น.ดัชนี SET มาอยู่ที่ 1,380.63 จุด เพิ่มขึ้น 11.21 จุด (+0.82%)
ล่าสุด เมื่อเวลา 14.53 น.ดัชนี SET อยู่ที่ 1,384.30 จุด เพิ่มขึ้น 14.88 จุด (+1.09%)
- บาทยังแข็งค่าต่อหลัง ธปท.ออกมาตรการ ตลาดฯ มองมีผลน้อย
ธปท.กำหนดมาตรการ ดังนี้
1) เปิดให้คนไทยฝากเงินตราต่างประเทศได้เสรี (Foreign Currency Deposit : FCD) และโอนเงินระหว่างบัญชี FCD ของคนไทยได้เสรี จะช่วยให้ผู้ส่งออกบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศและบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้คล่องตัวมากขึ้น สามารถทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยลดต้นทุนการโอนเงินและชำระเงิน ตลอดจนทำให้คนไทยสามารถกระจายความเสี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศได้สะดวกขึ้น เช่น การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ และการซื้อขายทองคำเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ.
2) ปรับกฎเกณฑ์และกระบวนการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งในมิติของวงเงินและผลิตภัณฑ์ที่ลงทุนได้ เพื่อเพิ่มทางเลือกการลงทุนให้กับคนไทยและสนับสนุนให้มีการกระจายความเสี่ยงการลงทุนได้มากขึ้น
เพิ่มวงเงินลงทุนให้นักลงทุนรายย่อยลงทุนโดยตรงได้เป็น 5 ล้านดอลลาร์ สรอ.ต่อปี จากเดิม 200,000 ดอลลาร์ สรอ.ต่อปี และไม่จำกัดวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ลงทุนผ่านตัวกลางในประเทศ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
ไม่จำกัดวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศสำหรับนักลงทุนภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
เปิดให้มีการนำหลักทรัพย์ต่างประเทศมาซื้อขายในไทยได้โดยไม่จำกัดวงเงิน เช่น กองทุนรวมดัชนี (ETF) ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ต่างประเทศได้
3) การลงทะเบียนแสดงตัวตนเพื่อซื้อขายตราสารหนี้ (Bond Pre-trade Registration) ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ไทยต้องลงทะเบียนแสดงตัวตนก่อนการซื้อขาย ทำให้ ธปท. ระบุตัวตนและติดตามพฤติกรรมของนักลงทุนได้อย่างใกล้ชิด เป็นการยกระดับการติดตามข้อมูลและเอื้อให้ ธปท. สามารถดำเนินนโยบายได้อย่างตรงจุดและทันการณ์ ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับการดำเนินการของหลายประเทศ อาทิ เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไต้หวัน