ผู้อำนวยการจาดสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) มองว่าความเสี่ยงสำหรับกลุ่มนักลงทุนและประเทศพัฒนาแล้ว คือ ภาวะตึงเครียดของระดับหนี้สินที่กำลังสูงขึ้นในช่วงการระบาดของ Covid-19
วิกฤตไวรัสโคโรนาได้ส่งผลให้ระดับหนี้ทั่วโลกทำสูงสุดใหม่กว่า 272 ล้านล้านเหรียญในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และมีโอกาสทะลุทำสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ที่ 277 ล้านล้านเหรียญได้ภายในช่วงสิ้นปีนี้ ท่ามกลางรัฐบาลต่างๆทั่วโลกที่ใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมากเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้บริโภคและภาคธุรกิจต่อสู้กับผลกระทบของวิกฤตที่เกิดขึ้น
ผลกระทบต่อนักลงทุน: ถือครองอัตราผลตอบแทน "ติดลบ"
"นักลงทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล" จะเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าอัตราผลตอบทนปรับตัวลดลงตลอดในช่วงการระบาด ขณะที่ธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกก็มีการใช้นโยบายปรับลดดอกเบี้ย จึงส่งผลดังนี้
- อังกฤษที่ขายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล "ติดลบ" เป็นเจ้าแรกของปีนี้เมื่อเดือนพ.ค.
- จีนมีการขายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล "ติดลบ" เป็นรายแรกของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ภาพรวมตราสารหนี้ระยะยาวในยุโรปและญี่ปุ่น ก็มี "อัตราผลตอบแทนในระดับ "ศูนย์" หรือ "ติดลบ" เช่นกัน"
ดังนั้น หนึ่งในความเสี่ยงครั้งใหญ่จึงมาจาก "การดำเนินการต่างๆด้วยเม็ดเงินจำนวนมาก" และ "ระดับหนี้ที่เพิ่มสูงมากขึ้น" ซึ่งการที่เราเห็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจีนเข้าสู่สภาวะติดลบ จึงสะท้อนถึง "ความผิดปกติอย่างมาก"
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรติดลบ สื่อถึงรัฐบาลจีนมีการจ่ายการใช้จ่ายเพื่อการกู้ยืมอย่างหนัก การเคลื่อนไหวของพันธบัตรจึงสวนทางกับอัตราผลตอบแทน และ "ผู้เข้าซื้อพันธบัตรที่มีอัตราผลตอบแทนติดลบ" ในเวลานี้ก็ต้องเผชิญกับ
1. อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ
2. ราคาพันธบัตรที่เพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ แม้อัตราผลตอบแทนอาจเริ่มปรับขึ้นได้เล็กน้อย แต่ก็อาจจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับได้จากเงินทุนของผู้ที่ยังเข้าถือครองพันธบัตรในเวลานี้
กลุ่มนักลงทุนที่ต้องการเข้าถืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรในฐานะ "สินทรัพย์ปลอดภัย" เพิ่มขึ้น ก็อาจยิ่งเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นตามมาด้วย เพราะไม่อาจรู้ได้ว่า "ในสภาวะที่อัตราผลตอบแทนติดลบ จะได้ผลตอบแทนกลับมาอย่างไร?"
ที่มา: CNBC