ภาพรวมนักบริหารการเงินมองเงินบาทสัปดาห์นี้ไว้ว่า
- จะยังอยู่ในทิศทางแข็งค่า
- กรอบการเคลื่อนไหวสัปดาห์นี้อยู่ระหว่าง: 30.00 – 30.50 บาท/ดอลลาร์
- จับตาเม็ดเงินทุนเคลื่อนย้าย หลังธปท. ออกมาตรการระยะยาวเพื่อรักษาสมดุลของเงินบาท
- สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา โดยเฉพาะในสหรัฐฯ-ยุโรป
- กระแสเงินทุนเดือนพ.ย. เข้ามาลงทุนในบอร์ดระยะสั้นชัดเจน หลังมีข่าวเลือกตั้งสหรัฐฯและวัคซีน
นักลงทุนจึงเกิดความมั่นใจและลงทุนในไทยมากขึ้น และกดดันเงินบาทระยะสั้นๆ
โดยมีการเข้าซื้อสุทธิที่ 4.3 หมื่นล้านบาท
การซื้อหุ้นสุทธิ 3.1 หมื่นล้านบาท
รวมเงินลงทุนสุทธิ 7.4 หมื่นล้านบาท
- Fund Flow หลังจากที่ธป?. ออกมาตรการหนุนเงินบาท
อย่างไรก็ดี เงินบาทน่าจะไม่แข็งค่าหลุด 30 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจาก ธปท. ออกมาตรการดูแลเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่ามากเกินไปประกอบกับทิศทางค่าเงินในภูมิภาคเอเชียมีการปรับอ่อนค่าลงลงมาก หลังอินโดนีเซียปรับลดดอกเบี้ย
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯสัปดาห์นี้
- ข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ขั้นต้น
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.
- ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน
- ยอดขายบ้านใหม่
- รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล
- อัตราเงินเฟ้อที่วัดจาก PCE/Core PCE Price Index เดือนต.ค.
- ประมาณการณ์จีดีพีไตรมาส 3/20 (ครั้งที่ 2)
- รายงานปรุชมเฟดเดือนพ.ย. (4-5 พ.ย.)
และยังรวมถึงดัชนีภาคการผลิตขั้นต้นของยูโรโซนด้วย
อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ:
ธปท.งัดมาตรการสู้บาทแข็ง ‘สกัดไม่อยู่’ฝรั่งซื้อบอนด์ต่อ
นางสาววชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออก 3 มาตรการเพื่อช่วยลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทและแก้ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง โดยเป็นการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้าย, เน้นปรับโครงสร้าง- เกาะติดพฤติกรรมนักลงทุนต่างชาติ
ท่ามกลาง นักวิเคราะห์มองไม่ส่งผลระยะสั้น เผยหลังแบงก์ชาติออกมาตรการ แต่ Fund Flow กลับเข้าซื้อบอนด์อีกรอบ ส่งผลเงินบาทแข็งค่าขึ้นทันที
โดย 3 มาตรการ สำคัญ ประกอบด้วย
1.ให้คนไทยฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) ได้เสรี และโอนเงินระหว่างบัญชี FCD ของคนไทยได้เสรี เพื่อให้ผู้ส่งออกบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศและบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้คล่องตัวมากขึ้น
2.เพิ่มวงเงินให้รายย่อยลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้เป็น 5 ล้านดอลลาร์ต่อปี จากเดิม 2 แสนดอลลาร์ต่อปี ทั้งไม่จำกัดวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ลงทุนผ่านตัวกลางในประเทศ และไม่จำกัดวงเงินลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศ สำหรับนักลงทุนภายใต้การกำกับของสำนักงาน ก.ล.ต. จากเดิมที่กำหนดไม่เกิน 1.5 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี และเปิดให้นำหลักทรัพย์ต่างประเทศมาซื้อขายในไทยได้โดยไม่จำกัดวงเงิน
“2 มาตรการแรกสามารถดำเนินการได้ทันทีในเดือน พ.ย.นี้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากนั้นจะมีประกาศ ธปท.และประกาศ ก.ล.ต.ออกมา โดยปัจจุบันมีผู้เปิดบัญชี FCD อยู่กว่า 2 หมื่นบัญชี ขณะที่ปัจจุบันมีนักลงทุนรายย่อยที่ลงทุนต่างประเทศประมาณ 500 ราย”
3.ให้ผู้ลงทุนต่างชาติต้องลงทะเบียนแสดงตัวตนก่อนการซื้อขายตราสารหนี้ซึ่งมาตรการนี้จะเริ่มในปี 2564 เพื่อให้ ธปท.ระบุตัวตนและติดตามพฤติกรรมของนักลงทุนได้อย่างใกล้ชิด สอดคล้องกับแนวทางของเกาหลีใต้ มาเลเซีย และไต้หวัน
“เราอยากให้นักลงทุนมีความมั่นใจว่า ธปท.จะไม่เปิด/ปิดมาตรการ และแม้ว่าเราเปิดเข้าและออกเสรีของเงินทุน แต่เราต้องมอนิเตอร์ เพื่อจะได้สามารถเข้าไปดูแลได้ถูกจุด และทันการณ์มากขึ้น เพราะในตลาดมีทั้งผู้เล่นที่เป็นเรียลดีมานด์และที่เก็งกำไรระยะสั้น” นางสาววชิรากล่าว
“ปัญหาเชิงโครงสร้าง” เป็นปัจจัยกดดันเงินบาทให้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่
- เงินทุนเคลื่อนย้ายของไทยที่ไม่สมดุล โดยมีเงินไหลเข้าจำนวนมาก แต่ไม่มีการไหลออก
เพราะนักลงทุนยังเน้นการลงทุนในประเทศเป็นหลัก
- ภาคธุรกิจมีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินค่อนข้างน้อย
- ผู้เล่นในต่างประเทศมีอิทธิพลต่อค่าเงินค่อนข้างมาก
ธปท.จึงต้องปรับให้โครงสร้างเงินบาทดีขึ้น สร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนไทย
อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ:
"อนุสรณ์" อดีตบอร์ดแบงก์ชาติ ชี้มาตรการธปท. ดูแลค่า "เงินบาท" ไร้ผลสกัดเงินทุนระยะสั้นที่ไหลเข้ามาเก็งกำไร
เมื่อวันที่ 22 พ.ย.63 นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยา ลัยรังสิต กล่าวถึง สถานการณ์เงินบาทแข็งค่าและมาตรการล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย ว่า มาตรการสกัดการแข็งค่า "เงินบาท" ด้วยการผ่อนคลาย และเปิดเสรีการไหลออกของเงินทุนเพิ่มเติม เป็นมาตรการที่มีความเหมาะสม แต่ไม่มีผลในระยะสั้น เป็นเพียงส่งสัญญาณว่าแบงก์ชาติห่วงใยต่อสถานการณ์ "เงินบาท" แข็งค่ามากและเร็วเกินไป มาตรการเหล่านี้จะส่งผลต่อการชะลอตัวการแข็งค่าของเงินบาทได้ระดับหนึ่งเท่านั้น
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์:
- ธปท. ยอมรับในปัจจุบันค่าเงินบาทมีความผันผวน แต่เป็นผลมาจาก “ปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก” โดยเฉพาะความเชื่อมั่นที่มีมากขึ้นจากสถานการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ รวมถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโควิด แต่มองว่าเงินทุนที่เข้ามาในตลาดของไทยขณะนี้ยังไม่พบว่ามีการเข้ามาอย่างผิดปกติ และย้ำว่า ธปท.ได้เข้าดูแลตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้มีความผันผวนเกินไปจนอาจกลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยที่ยังมีความเปราะบางอยู่ในขณะนี้
- นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทโนมูระ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวช้าที่สุดในบรรดาประเทศกลุ่ม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) อันเนื่องมาจากผลกระทบจากเหตุการณ์ประท้วงทางการเมืองในประเทศ และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
อ้างอิงจากสำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์:
นายกฯ รับทราบ ตัวเลขเศรษฐกิจไทย ขยับดีขึ้น คาดปี 64 จะขยายตัว 3.5-4.5%
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ที่นำเสนอโดยสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 63 ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.4 ซึ่งถือว่า เป็นการปรับตัวที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 12.1 และหากรวม 9 เดือนแรกของปี 63 เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงร้อยละ 6.7
ทั้งนี้ การปรับตัวที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจไทยเนื่องมาจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองและการผ่อนคลายการจำกัดการเดินทางภายในประเทศ
สำหรับการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยของทั้งปี 63 นั้น สศช. คาดว่า จะมีแนวโน้มที่จะลดลงร้อยละ 6.0 และคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 64 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 - 4.5