· ค่าเงินสินทรัพย์เสี่ยงแข็งค่ามากขึ้น ขานรับ "ทรัมป์ยอมมอบอำนาจ" - "เยลเลน" ผู้ว่ารมว.คลังคนใหม่
ค่าเงินสกุลกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงปรับแข็งค่าขึ้น จากกลุ่มนักลงทุนที่ตอบรับกับประเด็นต่างๆ ประกอบด้วย
- นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ยอมส่งมอบอำนาจบริหารให้แก่ทีมบริหารของนายไบเดน โดยมอบหมายให้หัวหน้า GSA ส่งจดหมายยินยอมมอบอำนาจให้แก่นายไบเดน แม้ว่านายทรัมป์ จะยังเดินหน้าหาวิธีทางกฎหมายค้านผลเลือกตั้ง
- กระแสคาดการณ์เกี่ยวกับ นางเจเน็ต เยลเลน อดีตประธานเฟดในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการคลงคนใหม่ ที่ทำให้นักลงทุนคาดหวังที่จะเห็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายของภาครัฐบาล "เพื่อยกระดับเศรษฐกิจสหรัฐฯ" ให้หลุดพ้นจากวิกฤตไวรัสโคโรนาที่เสี่ยงเกิดภาวะถดถอย
ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.4% บริเวณ 0.7313
ค่าเงินเปโซของเม็กซิโกแข็งค่าขึ้น 0.4%
ค่าเงินแรนด์ของแอฟริกาใต้แข็งค่าขึ้น 0.4%
ค่าเงินเยนทรงตัวบริเวณ 104.49 เยน/ดอลลาร์ โดยปรับอ่อนค่ามา 0.6% จากราคาปิดเมื่อคืนวันก่อน
ค่าเงินยูโรอ่อนค่ามาแถว 1.1844 ดอลลาร์/ยูโร
ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมาบริเวณ 92.463 จุด หลังจากเมื่อวานนี้ทำต่ำสุดตั้งแต่ 1 ก.ย. ที่ 92.013 จุด
ค่าเงินปอนด์ทรงตัวบริเวณ 1.3330 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังแตะ 1.3396 ดอลลาร์/ปอนด์วานนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 12 สัปดาห์ อันเนื่องจากการที่อังกฤษ-อียูอาจบรระลุข้อตกลงการค้าร่วมกันได้
· Bitcoin จะแตะ 100,000 เหรียญในปี 2021 ได้หรือไม่?
รายงานจาก Reuters เผยว่า นักลงทุนใน Bitcoin ไม่ว่าจะเป็น Hedge Funds และกลุ่มผู้จัดการกองทุน เริ่มถกกันถึงประเด็นที่ Bitcoin จะไปทำสูงสุดได้มากถึง 100,000 เหรียญในปีหน้า
และหลายๆคนเชื่อว่า ความผันผวนของ Cryptocurrency ดูจะเป็นสินทรัพย์ที่เลือกเก็งกำไรมากกว่า "มูลค่าการเก็บทองคำ"
นับตั้งแต่เดือนม.ค. ที่ผ่านมาราคา Bitcoin มีการปรับขึ้นแล้วประมาณ 160% โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการของสถาบันต่างๆ ควบคู่กับการการขาดชำระ ที่ทำให้บริษัทต่างๆ อาทิ Square และ Paypal มีการเข้าซื้อ Bitcoin แทนนักลงทุนของตน
Bitcoin มีการทำ "All-Time-High" อย่างต่อเนื่อง แต่ยังอยู่ต่ำกว่าสูงสุดเดิมในเดือนธ.ค. ปี 2017 บริเวณ 20,000 เหรียญ หลังจากที่ช่วงเปิดตัวในปี 2011 อยู่ที่ระดับศูนย์ ขณะที่การซื้อขายล่าสุดอยู่บริเวณ 18,415 เหรียญ
หัวหน้าฝ่ายการลงทุนประจำ Chain Capital มองโอกาส Bitcoin ขึ้นจาก 18,000 เหรียญ สู่ระดับ 100,000 เหรียญ ภายในช่วงสิ้นปี 2021 ขึ้นอยู่กับรูปแบบประโยชน์ที่ได้รับจาก Ratio ระหว่าง หุ้นต่อเม็ดเงิน และการปราศจากการเข้าถือครองทองคำ
*** และโมเดลข้างต้น มีโอกาสเห็น Bitcoin ปรับขึ้นสู่ระดับดังกล่าวได้มากถึง 94% ***
นักวิเคราะห์ทางเทคนิคจาก Citi ระบุว่า Bitcoin ที่ปรับขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว อาจขึ้นไปแตะ 318,000 เหรียญได้ในสิ้นปีหน้า โดยได้รับอานิสงส์จาก
- ภาวะอุปทานจำกัด
- การผ่อนคลายมาตรการต่างๆของนานาประเทศ
- กรรมสิทธิ์การถือครองค่าเงิน
· หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ของGoldman Sachs หั่นคาดการณ์จีดีพีไตรมาสที่ 4/2020 และไตรมาสที่ 1/2021 จากยอดติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น และการเกิด Lockdown รอบใหม่
ขณะที่การฟื้นตัวมีแนวโน้มจะเป็นไปอย่างช้าๆในหน้าหนาว ท่ามกลางการปราศจากการสนับสนุนทางการเงิน และสถานการณ์การระบาดที่เลวร้ายลงจึงก่อให้เกิดความเสี่ยงขาลงเพิ่มมากขึ้น
· หน่วยงานด้านความปลอดภัยในการเดินทางของประเทศสหรัฐฯ (TSA) ระบุว่า นักท่องเที่ยวเมินคำเตือน Covid-19 มุ่งหน้าเที่ยวต่อช่วงวันหยุดเทศกาล Thanksgiving
ชาวอเมริกานับล้านรายไม่สนใจคำเตือนจากองค์การอนามัยโลก (CDC), ทีมศัลยแพทย์ใหม่ของสหรัฐฯ และผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ปรึกษาด้านโรคระบาดของประเทศ
จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้นก่อนที่วัคซีนจะถูกใช้อย่างแพร่หลาย ในขณะที่ยอดติดเชื้อสะสมในสหรัฐฯทำสถิติรายวันใหม่เฉลี่ยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 168,000 ราย และทำให้นักท่องเที่ยวหลายรายก็ยังมีความกังวลต่อประเด็นดังกล่าว
อย่างไรก็ดี ผู้ที่เดินทางด้วยสายการบิน พบ การปรับขึ้นมากที่สุดตั้งแต่เดือนมี.ค. ที่มากถึง 1 ล้านราย ถือเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 2 ในช่วง 3 วัน แต่ก็ยังน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วเกือบ 60%
· ทีมบริหารของนายทรัมป์เริ่มส่งมอบอำนาจ "อย่างเป็นทางการ" แก่นายไบเดน หลังจากที่เลื่อนมาหลายสัปดาห์
นางเอมิลี เมอร์ฟ์ หัวหน้าสำนักงานบริหารงานบริการทั่วไปของสหรัฐฯ (GSA) ระบุถึงจดหมายมอบอำนาจที่ระบุว่า นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ได้รับเลือกจะได้รับข้อมูลจากทีมบริหารทรัมป์ที่พร้อมส่งมอบการดำเนินการต่อ
อย่างไรก็ดี จดหมายฉบับดังกล่าวถือเป็น "ความชัดเจนครั้งแรก" ที่ทีมบริหารของนายทรัมป์ตระหนักถึงความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งปี 2020 แต่นายทรัมป์ก็ยังไม่ยอมรับชัยชนะของนายไบเดน ที่สามารถเอาชนะเขาได้ 306 ต่อ 232 คะแนน
ขณะที่นายทรัมป์ต้องเผชิญกับการถูกปฏิเสธรับคำร้องถึงชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ จากการฟ้องศาลหลายแห่งโดยปราศจากหลักฐานประกอบข้อกล่าวหา
· ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า ไบเดนมีแนวโน้มที่จะฟื้นคืนอนาคตสหรัฐฯในฐานะ "ผู้นำทางเศรษฐกิจ" ในเอเชีย
CEO จาก Center New American Security หรืออดีตที่ปรึกษาด้านนโยบายการต่างประเทศ ระบุว่า ทีมบริหารของนายไบเดนจะมีแนวโน้มฟื้นคืนอนาคต "ผู้นำทางเศรษฐกิจ" ให้แก่สหรัฐฯในแถบเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถลงนามข้อตกลงการค้าเสรี ร่วมกันได้
1 ใน 2 ของข้อตกลงการค้าคือ
1) ข้อตกลงสนธิสัญญาการค้าเสรีของฝั่งแปซิฟิก (TPP) ที่เคยเจรจาในทีมบริหารนายโอบามา แต่ไม่ผ่านอนุมัติจากสภาคองกรส และนายทรัมป์ถอนข้อตกลงดังกล่าวออกในปี 2017
หลังจากนั้นนายทรัมป์ต้องการเจรจาข้อตกลงที่เหลือเพียง 11 ประเทศและมีการลงนามร่วมกันภายใต้ "ข้อตกลงความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)" ในปีที่แล้ว
2) ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ลงนามกันไปล่าสุดของ 15 ประเทศที่ประกอบไปด้วย จีน, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และประเทศในฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ถือเป็นข้อตกลงขนาดใหญ่ที่สุดของโลก รวมประชากรในตลาด 2.2 ล้านคน และมีผลผลิตกวา 26.2 ล้านล้านเหรียญของผลผลิตทั่วโลก หรือคิดเป็น 30% ของจีดีพีโลก)
ทีมบริหารของนายไบเดน น่าจะก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของสหรัฐฯในการกลับเข้าเจรจาข้อตกลง TPP และ RCEP อย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่จะช่วยการันตีเศรษฐกิจสหรัฐฯในอนาคตด้วยฐานะผู้นำในเอเชีย
นโยบายการค้า
การเปลี่ยนแปลงทีมบริหารของสหรัฯฐ น่าจะเกิดความเหมาะสมในด้านนโยบายการตกลงร่วมกันแบบพหุภาคี (M ultilateralism) ดังนี้
- ทีมบริหารของนายไบเดน จะหาวิธีร่วมมือกับประเทศคู่ค้าและพันธมิตร สำหรับประเด็ฯสำคัญต่างๆ ได้แก่ "การแก้ปัญหาสภาาพอากาส", "สาธารณสุขระดับโลก" และ "การระบาดของไวรัส" ตั้งแต่การร่วมมือกับจีนจนถึงประเทศอื่นๆ
- จะไม่เกิดการขึ้นภาษีจีนแบบเดียวกับที่ทีมบริหารยุคทรัมป์ทำ
- จะมีการกำหนดความสัมพันธ์กับจีนใหม่ภายใต้การบริหารงานของไบเดน
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าก็อาจส่งผลให้ทีมบริหารไบเดนต้องเชผิญกับ ปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ
· จีดีพีของเยอรมนีในไตรมาสที่ 3 โตขึ้นเป็นประวัติการณ์ 8.5% ซึ่งมากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 8.2% เนื่องจากเศรษฐกิจส่วนหนึ่งฟื้นตัวหลังที่ลดลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งเกิดจากการระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกแรกในฤดูใบไม้
· ดัชนี DAX ของเยอรมนี ขยายเพิ่มบริษัทเข้าสู่ดัชนีจาก 30 เป็น 40 ราย เพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดแลกเปลี่ยนได้ นับเป็นการเพิ่มขึ้นที่มากที่สุดครั้งประวัติศาสตร์
· "อโกด้า" มองท่องเที่ยวเอเชียฟื้นตัวเร็ว
นายจอห์น บราวน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทอโกด้า ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศเอเชียจะฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าในประเทศฝั่งตะวันตก โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศต่างๆ ในเอเชีย
โดยมองภาพรวม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเอเชียกำลังฟื้นตัวอย่างโดดเด่น โดยเฉพาะประเทศไทยและไต้หวัน ซึ่งสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้ดีที่สุด และตลาดเหล่านี้มียอดจองการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศสูงที่สุด
· สถาบัน Moody's ชี้ แรงกดดันด้านสินเชื่อจะส่งผลกระทบครั้งใหม่ต่อระบบการเงินในโครงการ "โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของจีน"
โดยการลงทุนในโครงการ "โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในจีนประจำปี 2020" อาจปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อันเนื่องจากการระบาดของไวรัสที่เป็นสาเหตุที่กระทบต่อระบบการเงินของหลายๆประเทศ ภายใต้นโยบาย "The Belt and Road"ของจีนที่เริ่มมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมต่อจีนให้เป็นศูนย์กลางของเอเชียกับยุโรป และแอฟริกา หลังจากที่จีนพยายามขยายอิทธิพลด้านเทคโนโลยีและระบบการจัดการทั่วโลกในช่วงก่อน
· ความหวังวัคซีน หนุน น้ำมันดิบ Brent พุ่งสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.
ราคาน้ำมันดิบ Brent ทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. จากข่าวความคืบหน้าวัคซีนของบริษัทผู้ร่วมทดสอบรายที่ 3 จึงกระตุ้นให้เกิด ความหวังที่จะเห็นอุปสงค์น้ำมันฟื้นตัว ขณะเดียวกันนายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯก็กำลังเริ่มเข้าสู่การรับมอบอำนาจบริหารในฐานะผู้นำคนต่อไป
น้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 43 เซนต์ หรือ 0.9% ที่ระดับ 46.49 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้าน น้ำมันดิบ WTI ปรับเพิ่มขึ้น 45 เซนต์ หรือ 1.1% ที่ระดับ 43.51 เหรียญ/บาร์เรล
อย่างไรก็ดี ระหว่างวันน้ำมันดิบ Brent แตะระดับสูงสุด 46.56 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค. ก่อนที่ซาอุดิอาระเบียจะเริ่มทำสงครามราคาน้ำมันกับรัสเซีย (Price War) ที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับลงอย่างหนัก
ขณะที่ เมื่อคืนนี้ราคาน้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิดปรับตัวขึ้นได้ประมาณ 2% หลังจากที่สัปดาห์ก่อนปรับขึ้นได้ประมาณ 5%
· บรรดาผู้เชี่ยวชาญ OPEC+ จะประชุมร่วมกันก่อนรอบประชุมของกลุ่มรัฐมนตรีในวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค.
เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่การประชุมในสัปดาห์หน้าเกี่ยวกับว่าจะ "ขยายการปรับลดกำลังการผลิต" ในปีหน้าหรือไม่ ท่ามกลางสภาวะอุปสงค์อ่อนตัวในช่วง Second Wave
แหล่งข่าวเผย คณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจประจำ OPEC จะร่วมหารือกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของประเทศสมาชิก OPEC และชาติพันธมิตรในวันศุกร์นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่บรรดารัฐมนตรีของ OPEC+ จะร่วมประชุมในวันจันทร์และอังคารหน้า
อย่างไรก็ดี "ในทุกๆการประชุมจะมีหัวข้อเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นประเด็นหลัก"