· ดาวโจนส์ฟิวเจอร์สดิ่งเกือบ 300 จุด หลังหุ้นสหรัฐฯปิดบวกวานนี้หนุนภาพการขึ้นครั้งประวัติศาสตร์ในเดือนพ.ย.
ดัชนีฟิวเจอร์สในช่วงเช้านี้ปรับลงนำโดยดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สที่ปรับลงไปกว่า 281 จุด
ขณะที่ S&P500 ฟิวเจอร์ส และ Nasdaq 100 ฟิวเจอร์ส ปรับลงเช่นกัน
ดัชนีฟิวเจอร์สปรับลงจากรายงานที่ "ทีมบริหารของนายทรัมป์ทำการเพิ่มรายชื่อบริษัทจนเข้าสู่ Blacklist อันเนื่องจากส่วนเกี่ยวข้องทางการทหารของจีน" ก่อนนายไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯจะเข้ามารับช่วงต่อในการบริหารงาน
· บรรดานักกลยุทธ์ แนะนักลงทุนควรแบ่งพอร์ตมากขึ้น 20% ไปยังจีนในช่วง 10ปี ข้างหน้า เนื่องจากสภาวะความหลากหลายทางการเมืองที่จะเป็นตัวตัดสินใจสำคัญต่อการลงทุนในอีกหลายๆปีจากนี้
หัวหน้าที่ปรึกษาพอร์ตจาก Willis Towers Watson ระบุว่า นักลงทุนทั่วโลกในปัจจุบันควรแบ่งพอร์ตไม่น้อยกว่า 5% เข้าสู่การถือครองสินทรัพย์ในจีน
นักวิเคราะห์จาก Greenwich Associates กล่าวว่า นักลงทุนที่ถือครองกองทุนเบี้ยบำนาญ ก็ควรแบ่งเงินลงทุน 3% ถึง 5% เพื่อถือครองสินทรัพย์ในจีน
ดัชนี MSCI ในตลาดเกิดใหม่ที่มีการซื้อขายในจีนเป็นส่วนใหญ่ก็ปรับขึ้นได้กว่า 5.1% ในช่วงส.ค. ปีนี้ และนักวิเคราะห์ก็ยังมองว่าการขึ้นนี้ยังไม่ขึ้นได้เต็มที่สำหรับ New World ที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น การเพิ่มการถือครองหุ้นจีนควรเพิ่มให้มากถึง 20% ในช่วง 10 ปีข้างหน้า เพราาะช่วงหลัง Covid-19 ก็จะเห็นยุคใหม่ของการส่งคำสั่ง จึงทำให้ นักลงทุนควรบริหารพอร์ตเข้าสู่จีนมากขึ้น เพราะ "ความสภาวะทางการเมืองที่หลากหลาย" จะมีบทบาทสำคัญมากต่อการลงทุนในพอร์ตการลงทุนนับจากนี้ไป
· หุ้นเอเชียปรับตัวลดลง ท่ามกลางเหล่าเทรดเดอร์ที่ให้ความสนใจไปยังข้อมูลภาคการผลิตประจเดือนพ.ย.ของจีน
โดยข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตในเดือนพ.ย. ออกมาดีขึ้นเกินคาดแตะ 52.1 จุด เดิม 51.4 จุดในเดือนต.ค. ถือเป็นการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 สะท้อนถึงภาวะการเติบโตของจีนยังคงเติบโตได้จากที่เผชิญวิกฤต Covid-19
ด้านดัชนี Kospi เกาหลีใต้ -1.6% ปิดที่ 2,591.34 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย -1.26%
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ร่วงลง 1.3%
สำหรับวันนี้ตลาดอินเดียปิดทำการเนื่องในวันหยุด
· หุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวลดลง ภาพรวมรายเดือนปรับตัวสูงขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 27 ปี ได้รับแรงหนุนจากข่าววัคซีน
และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯที่เบาบางลงไป ช่วยหนุนความต้องการในสินทรัพย์เสี่ยง
โดยดัชนี Nikkei ปิด -0.7% ที่ระดับ 26,433.62 จุด ภาพรวมรายเดือนเพิ่มขึ้น 15% สูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปี 1994 ที่ผ่านมา ด้านดัชนี Topix -1.77% ที่ระดับ 1,754.92 จุด
· หุ้นจีนปิดปรับตัวลง แต่ภาพรวมเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้น 5% เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม เนื่องจากข้อมูลเพิ่มเติมชี้ให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจหลังการระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยดัชนี blue-chip CSI300 ปิด -0.4% ที่ระดับ 4,960.25 จุด และดัชนี Shanghai Composite -0.5% ที่ระดับ 3,391.76 จุด
สำหรับภาพรวมรายเดือนดัชนี CSI300 +5.6% และดัชนี SSEC +5.2% ซึ่งทั้งสองดัชนีปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.ที่ผ่านมา
ขณะที่ความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดนระหว่างสหรัฐฯและจีน หลังทรัมป์เพิ่มบริษัท "SMIC" และ "CNOOC" ของจีนเข้าสู่รายการ Blacklist ด้านความมั่นคง
· หุ้นยุโรปปรับตัวลดลง เนื่องจากหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงหลังจากเดือนที่ผ่านมาได้รับแรงหนุนจากข่าววัคซีนเชิงบวก โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.5% ขณะที่หุ้นกลุ่มน้ำมันและก๊าซร่วงลง 2.3% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ปิดเช้าร่วง 18.89 จุด MSCI ลดน้ำหนักลงทุนหุ้นไทยวันนี้-วิตกโควิดในปท.
ปิดช่วงเช้าวันนี้ที่ระดับ 1,418.89 จุด ลดลง 18.89 จุด (-1.31%) มูลค่าการซื้อขายราว 45,242 ล้านบาท
การซื้อขายหุ้นช่วงเช้าวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดช่วงเช้า โดยทำระดับสูงสุดที่ 1,435.04 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,416.71 จุด
- ธปท.เตรียมออกแพ็คเกจมาตรการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนระยะสั้น-ยาวตามแผน FX Ecosystem
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทว่า ธปท.เตรียมจะสรุปมาตรการเพื่อดูแลอัตราแลกเปลี่ยนโดยจะออกเป็นแพ็คเกจในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งส่วนหนึ่งของมาตรการบางส่วนเป็นเรื่องที่ทำไปแล้ว แพ็คเกจดังกล่าวจะดูทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะต้องยอมรับว่าความผันผวนที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากปัจจัยระยะสั้นเพียงอย่างเดียว แต่มาจากปัจจัยโครงสร้างอัตราแลกเปลี่ยนของไทย ซึ่งแพ็คเกจดังกล่าวจะอยู่ในแผน FX Ecosystem ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวใน 2 ทิศทางมากขึ้น รวมทั้งทำให้ผู้ประกอบการสามารถรับการแข็งค่าของเงินบาทได้มากขึ้น
- โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี รับทราบรายงานที่ บริษัท S&P Global Ratings (S&P)
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เนื่องจากประเทศไทยมีความเข้มแข็ง ภาคการคลังและภาคการเงินต่างประเทศอยู่ในระดับสูง
- เอกชนขานรับสัญญาณบวก "วัคซีนโควิด" หนุนตลาด ไต่ระดับฟื้นตัว เพิ่มความมั่นใจเดินทางระหว่างประเทศ เดินหน้าปรับ กลยุทธ์ ทบทวนแผนลงทุน แนะรัฐเร่งแรงส่ง มาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวไร้โควิด "หอการค้า" มั่นใจกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้น
- คลัง-ธปท.-ก.ล.ต.ถก ตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ 1 แสนล้าน แหล่งทุนช่วยธุรกิจท่องเที่ยวหลังแบงก์ไม่ปล่อยกู้ ก.ล.ต.เล็งออกเกณฑ์ตั้งกองรีทรูปแบบใหม่หนุนไตรมาส 4 สศช.ชี้ตั้งกองทุนช่วยเพิ่มสภาพคล่อง รัฐลดต้นทุนการเงิน ประชาชนได้ผลตอบแทน ททท.ลุ้น
ต่อลมหายใจผู้ประกอบการ "สมาคมโรงแรม" เร่งรัฐประคองสภาพคล่อง