• สิ่งที่จะส่งผลต่อนโยบายการค้า “สหรัฐฯ-จีน” ในฐานะที่ “เยลเลน”เป็นรมว.คลังสหรัฐฯคนใหม่

    3 ธันวาคม 2563 | Economic News
 

นางเจเน็ต เยลเลน อดีตประธานเฟด ผู้ได้รับเลือกจากนายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯให้มาดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองในฐานะ “รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ” จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นตามมาเกี่ยวกับโอกาสที่สหรัฐฯจะมีการเจรจาข้อตกลงกันแบบไหน


ความตึงเครียดสหรัฐฯ-จีน

- ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ที่นายทรัมป์รับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในปี 2017

- นายทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีสินค้าจีน

- จำกัดบริษัทจีนบางแห่งในการเข้าถึงตลาดสหรัฐฯ

ทั้งหมดนี้ นายทรัมป์ กล่าวอ้างถึงความเสี่ยงด้านความมั่นคงแห่งชาติ และความไม่ยุติธรรมทางการค้า


ที่ผ่านมา ภาพรวมนางเยลเลนมีความคิดเห็นต่อจีนและการค้า ดังนี้
- กังวลเกี่ยวกับ การปฏิบัติด้านอุตสาหกรรมต่างๆของจีน
- มีแนวทางนโยบายต่อจีนค่อนข้างน้อย
- สนับสนุนการเปิดการค้าเสรี และระบบการค้าสากล

และการเข้าร่วม “ทีมกับนายไบเดน” อาจเห็นท่าทีที่เพิ่มมากขึ้นจากนางเยลเลน

อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายเจรจาระดับสูงประจำทำเนียบขาว กล่าวว่า หากพิจารณาท่าทีของนางเยลเลน จะเห็นถึงท่าทีที่เป็นมิตรอย่างมากกว่าทีมบริหารของนายทรัมป์ ดังนั้น ทีมบริหารของนายไบเดนน่าจะให้ความสำคัญกับเรื่องเจรจาและแนวทางการสื่อสารเพื่อพยายามบรรเทาความตึงเครียดมากกว่า แต่ก็ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดกับบทบาทใหม่ที่เธอได้รับ

ถ้อยแถลงของนางเยลเลนในอดีตเกี่ยวกับ “การค้า” และ “จีน”


นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ

ในปี 2018 หลังจากที่เธอลงจากตำแหน่งประธานเฟด
- มีความกังวลเพิ่มมากขึ้นว่าทีมบริหารของนายทรัมป์จะดำเนินการที่ฉีกกฎเกณฑ์จากระบบพหุภาคี (Multilateral system)
- มองนโยบายกีดกันทางการค้า “สร้างความแตกแยก” และส่งผลให้ก้าวออกจากสากล

- ปัญหาทางการค้าที่เกิดกับจีนและยุโรปในบางครั้ง สหรัฐฯจะเลือกจัดการได้อย่างเหมาะสมตามข้อกำหนดของ WTO และหลักปฏิบัติทางการค้าที่มีมาอย่างยาวนาน และการใช้ระบบทวิภาคี (ในยุคทรัมป์) ทำให้เธอเป็นกังวลมากต่อการดำเนินการูปแบบเดียวของสหรัฐฯ



สหรัฐฯกังวลเกี่ยวกับจีน

- นางเยลเลนมีสัญญาณต่อประเด็นนี้เล็กน้อย แต่เห็นควรที่จะใช้แนวทางการเจรจาที่เหมาะสมกับจีน

- เธอค่อนข้างกังวลมากขึ้นต่อหลายๆประเด็นขัดแย้งที่เกี่ยวข้องทางการค้าของสหรัฐฯกับจีน อาทิ เรื่องการบังคับถ่ายโอนข้อมูลจากบริษัทต่างประเทศ และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ซึ่งเรื่องสำคัญเหล่านี้ เธอมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อปัญหาระหว่างกัน


สหรัฐฯขึ้นภาษีจีน

- เธอไม่แน่ใจว่าการใช้นโยบายภาษีจะสามารถช่วยให้สหรัฐฯบรรลุผลที่คาดหวังไว้
- เธอยินดีกับการบรรลุข้อตกลง “เฟสแรก” ของสหรัฐฯจีน ที่ดูจะนำมาซึ่งทิศทางที่ดีขึ้น เพราะจะยิ่งช่วยเสริมความมั่นใจให้แก่ภาคธุรกิจ
- เธอมองว่าการมีข้อตกลงแต่ยังมีการขึ้นภาษี จะส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจของสหรัฐฯ
- เธอคิดว่า แม้การขึ้นภาษีจะช่วยปกป้องกลุ่มผู้ผลิตบางรายในสหรัฐฯ แต่หากการขึ้นภาษียังดำเนินต่อไป จะส่งผลกระทบมากขึ้นต่อ “กลุ่มผู้ผลิตสหรัฐฯ” ที่ต้องผลักดันด้านการแข่งขันมากขึ้น รวมไปถึง “การเพิ่มตำแหน่งงาน” ในภาคการผลิตของสหรัฐฯ


ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com