ทองขึ้นทดสอบ $1830 จากความหวังกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ กดดันดอลลาร์อ่อนค่า
· ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นได้ในรอบเกือบ 1 สัปดาห์ จากโอกาสที่จะเกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจเป็นแผนกระตุ้นที่ผนวกรวมกับงบค่าใช้จ่ายรัฐบาลที่อาจมีมูลค่าสูงถึง 1.4 ล้าล้านเหรียญ เพื่อเลี่ยง Shutdown ที่มีกำหนดเส้นตาย 11 ธ.ค.นี้ด้วย ที่จะนำมาซึ่งเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จึงส่งผลให้นักลงทุนเลือกถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง ในขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่ารลงทำต่ำสุดรอบหลายปี
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.74% ที่ 1,827.63 เหรียญ หลังทำสูงสุดที่ 1,832.2 เหรียญ เป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ 24 พ.ย. ในช่วงต้นตลาด
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนก.พ. ปิด +0.6% ที่ 1,830.20 เหรียญ
· กองทุน SPDR เมื่อวานนี้ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,191.28 ตัน
· ผู้อำนวยการฝ่ายการซื้อขาย ระบุว่า ทองคำปรับขึ้นได้จากข่าวกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงหนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งทองคำและซิลเวอร์ แต่กดดันให้ดอลลาร์อ่อนค่า
นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่โตได้เล็กน้อย ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือที่ลดน้อยลงไป สร้างความกังวลให้แก่สมาชิกเฟดสาขาฟิลาเดเฟีย
· นักวิเคราะห์จาก Kitco เผย ความต้องการทองคำบางส่วนที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นก็เป็นอีกปัจจัยที่หนุนราคาทองคำ
· ราคาซิลเวอร์ ปิด -0.2% ที่ 23.96 เหรียญ ราคาแพลทินัมปิด +1% ที่ 1,009.9 เหรียญ และราคาพลาเดียมปิด -0.4% ที่ 2,397.63 เหรียญ
· ADP เผยจ้างงานเอกชนแย่กว่าคาดแตะ 307,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. จากเดิมที่ 404,000 ตำแหน่งในเดือนก่อนหน้า (-97,000 ตำแหน่ง)
จากข้อมูลในเบื้องต้น ADP เผยว่า หน่วยงานเอกชนมีการจ้าง 307,000 ตำแหน่ง ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งต่ำกว่าที่คาดไว้ 475,000 ตำแหน่ง ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ค่าจ้างภาคเอกชนต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมท่ามกลางการชะลอตัวของการจ้างงานในธุรกิจขนาดใหญ่
· ไบเดนให้คำมั่นจะหนุนแรงงานที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ขณะที่ทรัมป์ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ต่อในปี 2024
· “เพโลซี” – “ชูมเมอร์ส” กลับเจรจามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านเหรียญ หลังเมื่อวานนี้ผู้นำเสียงข้างมากในสหรัฐฯมีการเสนอแผนกระตุ้นเศรษฐกิจช่วง Covid-19 ที่วงเงิน 9.08 แสนล้านเหรียญ เพื่อให้สภาคองเกรสสามารถส่งต่อความช่วยเหลือให้แก่ชาวอเมริกาได้ก่อนสิ้นปีนี้
ขณะที่สมาชิกพรรคเดโมแครตจากรัฐแคลิฟอร์เนีย และนิวยอร์ก ยังเห็นต่างและต้องการการวงเงินสนับสนุนไม่น้อยกว่า 2.2 ล้านล้านเหรียญ
อย่างไรก็ดี นางเพโลซีและนายชูมเมอร์สจากสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ข้อตกลงใหม่ที่มาจากข้อเสนอของนายแมคคอนเนล และนายแมคคาร์นีย์ของวุฒิสภาเมื่อวานนี้มีการประนีประนอมการากขึ้นและน่าจะทำให้มีการลงรอยต่อแนวทางช่วยเหลือมากขึ้นในการกลับมาเจรจา
หนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หวังว่า จะสามารถตกลงกันได้ก่อนสิ้นสัปดาห์นี้ เพื่อให้นำเสนอผ่านมติภายในสัปดาห์หน้า
CNBC ระบุว่า ภาพรวมการเรียกร้องการกระตุ้นเศรษฐกิจดูจะเห็นการประนีประนอมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะยังเห็นต่างกันในหลายๆประเด็นสำคัญ ขณะที่นายแมคคอนเนลส่งสัญญาณว่าการผ่านร่างกระตุ้นเศรษฐกิจจะต้องมีวงเงินช่วยเหลือรัฐบาลเพื่อเลี่ยงภาวะ Shutdown 11 ธ.ค. นี้ และมีความเป็นไปได้ที่ทางเดโมแครตจะยอมรวมสองมาตรการไว้ในฉบับเดียว ซึ่งอาจมีมูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญ ขณะที่หลายๆฝ่ายหวังให้เกิดการลงนามให้ได้เร็วที่สุดภายในวันนี้
แม้จะมีการกลับมาเจรจามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจร่วมกัน แต่ก็มีประเด็นการจ่ายเช็คและสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯที่ยังมีความไม่แน่นอน เนื่องด้วยในวงเงินแผนฉบับใหม่ที่ 9.08 แสนล้านเหรียญจะรวมการมอบสวัสดิการว่างงานที่ 300 เหรียญ/สัปดาห์ และนี่เป็นสิ่งที่เดโมแครตยังเห็นต่าง ขณะที่คนว่างงานในเวลานี้มีมากถึง 12 ล้านรายในสหรัฐฯ และปราศจากการรับสวัสดิการว่างงานเพื่อช่วยเหลือ รวมทั้งนโยบายปกป้องกลุ่มผู้เช่าและการกู้ยืมทางการศึกษาที่หมดอายุลงเช่นกัน
· “โรเบิร์ต เคพแลนด์” ประธานเฟดสาขาดัลลัส ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มการซื้อพันธบัตรของเฟด
· รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของเฟด สะท้อนว่าไม่มีสัญญาณการเติบโตมากนักจากการปราศจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่การระบาดยังคงสร้างความเสียหายแก่ภาคธุรกิจและครัวเรือน รวมทั้งกดดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
· COVID-19 UPDATES:
ยอดติดเชื้อทั่วโลกใกล้ถึง 65 ล้านรายในเร็วๆนี้ โดยเมื่อวานมียอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกรวมกว่า 613,000 ราย และมียอดเสียชีวิตสะสมที่ 1.49 ล้านราย ใกล้แตะ 1.5 ล้านรายในเร็วๆนี้เช่นกัน
Ø สำหรับยอดติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเกือบ 189,000 ราย ทำให้ยอดสะสมล่าสุดอยู่ที่ 14.29 ล้านราย และยอดเสียชีวิตภายในประเทศเพิ่มกว่า 2,700 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 279,763 ราย
Ø อินเดียตามมาด้วยยอดติดเชื้อสะสม 9.53 ล้านราย และบราซิลยังสะสมสูงที่ 6.43 ล้านราย
Ø พม่าติดเชื้อเพิ่มหนักกว่า 1,411 ราย ทำให้ยอดรวมสะสมทะลุ 93,000 ราย
Ø ประเทศไทยมีรายงานจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 18 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 4,008 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 60 ราย
กรมควบคุมโรคของไทยแถลงยืนยัน 6 สาวไทย ข้ามจากสถานบันเทิงในเมียนมา ติดเชื้อ COVID-19 รวมเป็น 10 คน กระจายไป 6 จังหวัด
- เชียงใหม่
- เชียงราย
- พะเยา
- กรุงเทพฯ
- พิจิตร
- ราชบุรี
· ผู้อำนวยการจาก CDC เตือน ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า อาจเป็น “ช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดสำหรับประวัติศาสตร์ด้านสาธารณสุขของสหรัฐฯ”
ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดสหรัฐฯ กล่าวเตือน เนื่องจากร้อยละ 90% ของโรงพยาบาลต่างๆภายในประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะ Hot Zones และ Red Zones และกว่า 90% เชื่อว่าจะสูงกว่า 90% ได้ในระยะยาวจากพื้นที่ที่มีการระบาดจำนวนมาก
โดยระหว่างเดือนธ.ค. - ก.พ. จะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดของระบบสุขภาพภายในประเทศ ท่ามกลางกรอบการเสียชีวิตจาก Covid-19 ที่อยู่ระหว่าง 1,500 – 2,500 รายในทุกๆวัน
· “โอบามา” อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะร่วมฉีดวัคซีน Covid-19 เพื่อหนุนความเชื่อมั่น และแสดงความมั่นใจในทีมแพทย์
ความคิดเห็นของโอบามา เกิดขึ้นหลังจากโพลสำรวจ ชาวอเมริกาหลายคนไม่เชื่อมั่นในวัคซีนป้องกัน Covid-19 กังวลว่าวัคซีนจะก่อให้เกิดอันตราย ในขณะที่ไวรัสโคโรนาได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 1.48 ล้านคนทั่วโลก ในทางกลับกันคนผิวสีได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสเป็นจำนวนมาก ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่ยอมรับวัคซีนเพื่อคุ้มกันอีกด้วย
· “ทรัมป์” สนับสนุนให้ประชาชนสหรัฐฯได้รับการฉีดวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกัน Covid-19 ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้
สหรัฐฯ ควรสามารถแจกจ่ายวัคซีนโควิดในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนกว่า 100 ล้านคน ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์รู้สึกกังวลมากเนื่องจากการระบาดเชื้อไวรัสโคโรนามีความเกี่ยวข้องกับนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะอนุมัติวัคซีนท่ามกลางความไม่เชื่อถือของประชาชนในเวลานี้
· อังกฤษกลายเป็นประเทศแรกที่มีการอนุมัติใช้วัคซีน Pfizer-BioNTech และเริ่มใช้ได้สัปดาห์หน้า โดยกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีนคือกลุ่มผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา และผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ ขณะที่องค์การอาหารและยากำลังอยู่ระหว่างตรวจสอบและพิจารณาข้อมูลก่อนทำการอนุมัติวัคซีน
· ทำเนียบขาคาด “ทรัมป์” จะลงนามเพิ่มชื่อบริษัทจีนสู่ Blacklist ที่อาจสร้างอุปสรรคต่อบริษัทจีนในการเข้าสู่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
· U.S. สั่งห้าม นำเข้า ฝ้าย จาก XPCC หรือแรงงานทาสซินเจียง
· การบริหารของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ขยายความกดดันเศรษฐกิจต่อมณฑลซินเจียง ออกคำสั่งห้ามนำเข้า “ฝ้าย” จากองค์กรกึ่งทหารที่มีอำนาจของจีนซึ่งใช้แรงงานบังคับชาวมุสลิมอุยกูร์ที่ถูกคุมขัง
· ทีมนักวิจัยจีนลาออกจากสหรัฐฯ กว่า 1,000 ราย ต้านปัญหาขโมยเทคโนโลยีจีน และคาดจะมีเป้าหมายต่อไปในการบริหารงานของทีมไบเดน
· อียูเตรียมยืนเสนอแผนการฟื้นความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และการร่วมมือกับนายไบเดน ในฐานะผู้นำสหรัฐฯคนใหม่
· ผลสำรวจ ชี้ เศรษฐกิจยูโรโซนจะได้รับแรงผลักดันในปีหน้า จากความหวังในการฉีดวัคซีน
ผลการสำรวจจาก Reuters ระบุว่า เศรษฐกิจยูโรโซนจะหดตัวอีกครั้งในไตรมาสนี้เนื่องจากการกลับมาประกาศ Lockdown อีกครั้ง เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจีดีพีจะกลับสู่ระดับก่อนวิกฤตภายในสองปี
นักเศรษฐศาสตร์ประจำ Capital Economics กล่าวว่า ตอนนี้เราถือว่าวัคซีนจะถูกนำไปใช้ในยูโรโซนได้ในปีหน้าและข้อจำกัด ส่วนใหญ่เกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะถูกยกเลิกในช่วงไตรมาสที่ 2 ส่งผลให้จีดีพีเพิ่มขึ้นราว 5% ในปีหน้าและฟื้นตัวเหมือนช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาในต้นปี 2022
แต่ยังคงมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากอาจจะมีการแพร่ระบาดของไวรัสในระลอกที่ 3 และการกระจายวัคซีนอาจก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองหรือลอจิสติกส์ รวมทั้งรัฐบาลอาจจะผ่อนปรนข้อ จำกัดได้ช้าลง ในทางกลับกันวัคซีนอาจมีประสิทธิภาพหรือง่ายต่อการขยายตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
เกือบ 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามหรือ 36 จาก 45 คนที่ตอบคำถามเพิ่มเติมกล่าวว่าเศรษฐกิจจะกลับสู่ระดับก่อนวิกฤตภายในสองปี
โดยการสำรวจความคิดเห็นพบว่าหลังจากที่เศรษฐกิจหดตัว 2.6% ในไตรมาสนี้ เศรษฐกิจจะเติบโต 1.1% ในไตรมาสแรกของปี 2021 จากนั้นคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 2.0% และ 1.8% ใน Q2 และ Q3 ซึ่งดีกว่าการคาดการณ์ที่ 1.8%, 1.2% ในเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา
· กิจกรรมภาคบริการในญี่ปุ่นยังคงอ่อนแอ ท่ามกลางยอดติดเชื้อไวรัสที่เพิ่มขึ้น
ผลสำรวจของภาคเอกชนแสดงให้เห็นว่า ภาคบริการของญี่ปุ่นประจำเดือนพ.ย.ยังคงอ่อนแอ ท่ามกลางการฟื้นตัวของการติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจใหม่และการจ้างงาน
เศรษฐกิจญี่ปุ่นค่อยๆฟื้นตัวจากระดับตกต่ำเมื่อต้นปีนี้ แต่คาดว่าจะใช้เวลาหลายปีก่อนที่จะกลับสู่ระดับก่อนการระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการซึ่งคิดเป็นเกือบ 70% ของจีดีพี
โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 47.8 จาก 47.7 แม้ว่าจะดีกว่าดัชนี PMI เบื้องต้นที่ระดับ 46.7 แต่ดัชนียังคงอยู่ในแดนหดตัวต่ำกว่าระดับเป็นกลางที่ 50
ทั้งนี้ บริษัทที่ทำการสำรวจ กล่าวว่า การติดเชื้อจากการระบาดไวรัสโคโรนาระลอกที่ 3 ทำให้อุปสงค์ลดลงและนำไปสู่สภาวะทางธุรกิจที่ท้าทายมากขึ้น
· นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 30.15-30.30 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาททรงตัว อยู่นิ่งๆ ระหว่างวันแกว่งตัวในกรอบแคบๆ รอปัจจัยใหม่เข้ามากระทบ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- รมว.พาณิชย์ คาดว่า การส่งออกของไทยในปี 64 ฟื้นตัวดีขึ้นกลับมาขยายตัวเป็นบวก 4%จากปีนี้ที่ติดลบหนักในช่วงโควิด-19 ระบาด โดยทั้งปีคาด -7% สำหรับการส่งออกในปี 63 ถือว่าไทยทำได้ดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ประสบปัญหาโควิด-19
- คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 63 หดตัวน้อยลงกว่าที่เคยคาดไว้เดิม โดยจะหดตัวอยู่ในกรอบ -7.0% ถึง -6.0% ขณะที่การส่งออกหดตัวในกรอบ -8.0% ถึง -7.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะหดตัว -1.0% ถึง -0.9%
ส่วนปี 64 แม้เศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเผชิญในระยะข้างหน้า ที่ ประชุม กกร.จึงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ในกรอบ 2.0% ถึง 4.0% ขณะที่การส่งออกจะขยายตัวในกรอบ 3.0% ถึง 5.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ในกรอบ 0.8%-1.2%
- ที่ประชุมศูนย์บริการสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) เห็นชอบมาตรการคนละครึ่ง ระยะที่สอง โดยเพิ่มยอดผู้เข้าร่วมรายใหม่ 5 ล้านคน และเพิ่มยอดเงินให้คนละ 3,500 บาท นอกจากนี้ เห็นชอบเพิ่มวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาท/คน/เดือน เป็น ระยะเวลา 3 เดือน ระยะเวลาตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค.64
- ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เปิดเผยว่า ธนาคารยังมองภาพรวมของเศรษฐกิจปี 64 ดีขึ้นเล็กน้อยจากปีนี้ เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยังไม่คลี่คลายได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจและกำลังซื้อ ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ระบุว่า หลังจากสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ พบว่าลูกค้าผู้ประกอบการสัดส่วน 81% จากลูกค้าที่เข้ามาตรการพักชำระหนี้กว่า 100,000 ราย สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ปกติ ขณะที่กลุ่มธุรกิจส่วนใหญ่ที่ยังไม่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติจะเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวที่ยังไม่กลับมาฟื้นตัวขึ้นตามภาวะอุตสาหกรรม
- ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริ
มการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่
นของนักลงทุนต่างชาติ
ในประเทศไทย ประจำปี 63 จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 บริษัท พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจ 96% มีแผนการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่
อง โดย 76.67% ยังคงรักษาระดับการลงทุน ในขณะที่ 19.33% มีแผนจะขยายการลงทุนเพิ่มเติม แม้จะอยู่ในสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโควิด-19