· หัวหน้านักกลยุทธ์การลงทุนระดับสูงจาก Ally Invest คาดหุ้นสหรัฐฯจะปิดปี 2020 ได้ดี โดยอาจได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของจีดีพีไตรมาสสุดท้าย ท่ามกลางปัจจัยบวกต่างๆ
- ความคืบหน้าแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯช่วง Covid-19 (ที่ระยะสั้นๆจะช่วยหนุนให้หุ้นต่างๆในตลาดปรับขึ้นได้)
- ความแข็งแกร่งของค่าใช้จ่ายผู้บริโภค
อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของเดือนธ.ค. ส่งท้ายปีอาจเพิ่มขึ้นได้น้อยกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมาเนื่องจากเดือนพ.ย. พุ่งขึ้นไปอย่างหนัก และก็ควรระวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวเนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนของวงเงินและกรอบเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนยังกังวล แต่ก็อาจเห็นการซื้อขายในตลาดเป็นไปในระดับปานกลาง
แต่ภาพรวม "เดือนธ.ค. ก็จะยังเป็น เดือนที่ 3 ที่ปรับขึ้นได้ดีที่สุดสำหรับตลาดหุ้น" ที่โดยปกติคุณจะเห็นได้ถึงการปรับขึ้นของดัชนี S&P 500 ประมาณ 1.5% แต่ปีนี้อาจปรับขึ้นได้น้อยกว่าเล็กน้อย
ระยะสั้นๆ มีโอกาสเห็นหุ้นเทคโนโลยีกลุ่ม Mega-Cap และ High Flying ที่ตอบรับมาตรการ Stay-at-Home ปรับขึ้นได้มากที่สุดในเวลานี้
· ดัชนีฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯส่วนใหญ่เคลื่อนไหวทรงตัว เนื่องจากนักลงทุนกำลังรอคอยข่าวเกี่ยวกับการเจรจามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและกระบวนการอนุมัติวัคซีน
โดยดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สดิ่งลง 28 จุด และดัชนี S&P 500 ฟิวเจอร์ส ก็ลดลงเล็กน้อยเช่นกัน ขณะที่ดัชนี Nasdaq 100 ฟิวเจอร์ส อยู่ในแดนบวกเล็กน้อย
ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของดัชนีฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯเกิดขึ้นหลังจากปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเงียบเหงาในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อาจเกิดขึ้น
· ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสานกันในวันนี้ ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายปานกลางในตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากส่วนหนึ่งจากรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯที่น่าผิดหวัง ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงทำระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปีครึ่ง ที่ระดับ 90.948 จากมุมมองเชิงบวกที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวัคซีนรักษาไวรัสโคโรนา
ขณะที่อังกฤษกลายเป็นประเทศตะวันตกกลุ่มแรกที่อนุมัติวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา โดยบริษัทไฟเซอร์ เตรียมลำเลียงวัคซีนป้องกันจำนวน 8 แสนโดสแรกในสัปดาห์หน้า
ท่ามกลางความหวังของแพ็คเกจสนับสนุนทางการเงินในสหรัฐฯยังช่วยเพิ่มการมองโลกในแง่ดีของนักลงทุน
ด้านดัชนี S&P500 E-Mini ฟิวเจอร์ส ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ส ด้านดัชนี Eurostoxx 50 ลดลง 0.1% และดัชนี Dax ของเยอรมนี ลดลง 0.2% รวมทั้งดัชนี FTSE ฟิวเจอร์ส ของลอนดอนลดลง 0.4%
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.4% หลังปรับขึ้นสองวันติดต่อกัน
· หุ้นญี่ปุ่นปิดทำระดับสูงสดในรอบ 29 ปีครึ่ง เนื่องจากประเทศสำคัญ ๆ เข้าใกล้การเปิดตัววัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนามากขึ้น ขณะที่ความหวังในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมก็ช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนเช่นกัน
โดยดัชนี Nikkei ปิด +0.03% ที่ระดับ 26,809.37 จุด แต่เคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงุสดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ปี 1991 ที่ผ่านมา ด้านดัชนี Topix +0.07% ที่ระดับ 1,775.25 จุด
ขณะที่หุ้นอสังหาริมทรัพย์ วัฏจักรของผู้บริโภค บริษัทอุตสาหกรรมและกลุ่มการเงินเพิ่มขึ้น เป็นสัญญาณว่านักลงทุนกำลังคาดการณ์ภาคส่วนที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฟื้นตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
· หุ้นจีนปิดปรับตัวลดลง โดยถูกกดดันจากความตึงเครียดครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯกับจีน หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ผ่านร่างกฎหมาย "Holding Foreign Companies Accountable Act" ซึ่งอาจทำให้บริษัทสัญชาติจีนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐถูกถอดออกจากตลาด
โดยพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันสะท้อนให้เห็นถึงแนวร่วมที่ต่อต้านจีน ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นในปีนี้ เนื่องจากทรัมป์กล่าวโทษจีนว่า เป็นต้นเหตุของไวรัสโคโรนาทำลายสหรัฐฯ
ความสัมพันธ์ระหว่างจีน - สหรัฐฯเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของตลาดนับตั้งแต่เกิดสงครามการค้าในปี 2018 ขณะที่เมื่อวันพุธที่ผ่านมานายโจ ไบเดนประธานาธิบดีผู้ได้รับการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์กับ New York Times ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่มีแผนที่จะยกเลิกข้อตกลงการค้าเฟสแรกที่นายทรัมป์ลงนามร่วมกับประเทศจีน และจะยังไม่มีการยกเลิกภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในทันทีที่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี
ทั้งนี้ ดัชนี Shanghai Composite ปิด -0.21% ที่ระดับ 3,442.14 จุด ด้านดัชนี blue-chip CSI300 -0.2%
· หุ้นยุโรปเคลื่อนไหวผสมผสานกัน ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่กำลังรอคอยข่าวเกี่ยวกับมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯและการอนุมัติวัคซีน โดยดัชนี Stoxx600 เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว ด้านหุ้มภาคธนาคารร่วงลง 1% ขณะที่หุ่นกลุ่มเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น 0.5%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- "ททท." ลุ้นวัคซีนโควิด-19 สำเร็จ หนุนท่องเที่ยวระหว่างประเทศฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 3/2564 ก่อนกลับมาผงาดในปี2565 คาดต่างชาติแห่เข้าไทย 20 ล้านคน ด้าน "จุรินทร์" เผยแผนผลักดันการส่งออกปี 64 เตรียมอัดกิจกรรมทำตลาด 343 กิจกรรมกระตุ้น
รมว.คลัง ปาฐกถาพิเศษ "Thailand 2021 New game New normal" ว่า คาดว่าประเทศไทยจะใช้เวลา 4 ปีหรือภายในปี 67 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นกลับมาเท่าเดิมที่ 40 ล้านคน/ปี โดยประเมินว่าปีหน้าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาราว 8 ล้านคน จากนั้นในช่วงปี 65-66 จะทยอยเพิ่มเป็น 16 ล้านคน และ 32 ล้านคนตามลำดับ
มาตรการคนละครึ่ง, เราเที่ยวด้วยกัน และช้อปดีมีคืน ต่อไปอีก 3-6เดือน หรือสิ้นสุดกลางปี 64 เนื่องจากเป็นมาตรการกระตุ้นการบริโภคที่ส่งผลให้เศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยให้รัฐจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) สูง รวมทั้งกระจายรายได้ร้านค้ารายย่อยที่เห็นผลได้จริง
- นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยในงานสัมมนาโควิด-19 ปฏิวัติเศรษฐกิจโลกพลิกโฉมเศรษฐกิจไทย เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า รัฐบาลจะพยายามทุกวิถีทางประคับประคองเศรษฐกิจไทยในปี 64 แม้ว่าอยู่ในทิศทางที่ฟื้นตัวดีขึ้น แต่ยังมีสิ่งที่ท้าทายเพราะเศรษฐกิจยังไม่ได้ฟื้นเร็วมาก จนกว่าวัคซีนป้องกันโรคจะสามารถนำมาใช้ได้จริงก็คงเป็นช่วงไตรมาสที่ 2-3 ปีหน้าโดยตอนนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานเศรษฐกิจตั้งเป้าหมายเตรียมเอาไว้ คือ ต้องกลับมาฟื้นตัวใน 12-18 เดือน เป็นอย่างน้อย