· ยูโรพุ่งขึ้นแข็งแกร่งหลังทะลุต้านสำคัญ – ดอลลาร์อ่อนค่ามากสุดสุดรอบ 2 ปีครึ่ง
ค่าเงินยูโรปิดสัปดาห์ที่ดีทีสุดในรอบกว่า 1 เดือน จากกลุ่มนักลงทุนที่ลดการถือครองในค่าเงินดอลลาร์ ท่ามกลางการระบาดอย่างหนักของ Covid-19 ทั่วโลก
ค่าเงินยูโรปรับขึ้นประมาณ 1.5% ในสัปดาห์นี้ โดยมีการทรงตัวแถว 1.2555 ดอลลาร์/ยูโร และผ่าน 1.2000 ดอลลาร์/ยูโรขึ้นมาได้หลังจากที่พยายามฝ่าระดับสำคัญนี้มาหลายครั้ง จากบรรดากองทุนต่างๆที่ เพิ่มสถานะ Long มากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีแนวโน้มจะเห็นยูโรขึ้นไปถึงระดับแนวต้านถัดไปที่1.2555 ดอลลาร์/ยูโร
** นักกลยุทธ์จาก Rabobank วิเคราะห์ว่า ทองคำสามารถยืนได้เหนือระดับ 1.21 ดอลลาร์/ยูโรได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 โดยขึ้นได้ก่อนจากปัจจัยที่ว่าในสัปดาห์หน้าอีซีบีน่าจะมีการเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่เฟดเองก็มีการผ่อนคลายทางการเงินอย่างมาก จึงกดดันดอลลาร์มาตั้งแต่ต้นปีนี้
ค่าเงินยูโรยังทำระดับรายสัปดาห์ที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเงินเยนในรอบ 6 เดือน แม้ว่าเยนจะปรับแข็งค่าได้เพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบการอ่อนค่าอย่างหนักของดอลลาร์เมื่อวานนี้
ค่าเงินปอนด์ทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดรอบ 1 ปี ขณะที่ค่าเงินหลักอื่นๆอ่อนตัว แต่ค่าเงินในตลาดเอเชียแข็งค่า
** นักลงทุนทำ Short ในดอลลาร์อย่างหนักตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯที่มีแนวโน้มจะอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรดูจะให้ผลตอบแทนในการลงทุนที่ดีกว่า
ภาพรวมถึงตลาดจะมีความกังวลว่าฤดูหนาวนี้จะยิ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาเป็นจำนวนมากขึ้น และเกิดการ Lockdown เพิ่มในสหรัฐฯ แต่ก็ไม่อาจช่วยพยุงดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven ได้ เนื่องจากนักลงทุนให้น้ำหนักความสนใจไปยัง “การสนับสนุนทางการเงินของรัฐบาล” ที่รวมถึงนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน หรืองบประมาณทางการเงิน
ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงประมาณ 12% จากสูงสุดรอบกว่า 3 ปีที่ทำไหว้ในเดือนมี.ค. บริเวณ 102.99 จุด โดยมีการกลับมาทำ “อ่อนค่ามากสุดรอบ 2 ปีครึ่งที่ 90.504 จุด” ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา และในวันนี้ก็ยังทรงตัวใกล้เคียงกับระดับดังกล่าว
เม็ดเงินเพิ่มขึ้นหนุนตลาด
ค่าเงินยูโร ได้รับแรงหนุนจากค่าเงินที่เกี่ยวข้องกับด้านการค้าของเอเชีย อันเนื่องจากมุมมองเชิงบวกของการฟื้นคืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะวัคซีน จึงทำให้สินทรัพย์ในตลาดเอเชียตั้งแต่เกาหลีใต้ตลอดจนออสเตรเลีย และสิงคโปร์ มีเม็ดเงินเข้าสู่สินทรัพย์ต่างๆเพิ่มมากขึ้น
ค่าเงินหยวนแข็งค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ทำระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 29 เดือนบริเวณ 6.5358 หยวน/ดอลลาร์
ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้ปรับขึ้นกว่า 0.7% เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งมากที่สุดนับตั้งแต่กลางปี 2018 ขณะที่เม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าสู่ตลาดหุ้น Kospi เพิ่มมากขึ้นทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 90% เมื่อเทียบจากระดับต่ำสุดในเดือนมี.ค.
ค่าเงินออสเตรเลียและนิวซีแลนด์อ่อนค่าลงเล็กน้อยหลังทำแข็งค่ามากสุดในรอบกว่า 2 ปี โดยทั้งคู่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่ามาอย่างต่อเนื่อง 5 สัปดาห์ติด โดยเฉพาะค่าเงินกีวีขอนิวซีแลนด์ที่ที่ปรับขึ้นมาแล้วกว่า 8.6% เหนือระดับอ่อนค่ามากสุดที่ทำไว้ช่วงปลายเดือนก.ย.
เวลานี้ นักลงทุนให้ความสำคัญกับ “ข้อมูลภาคแรงงานสหรัฐฯคืนนี้” ว่าจะส่งสัญญาณล่าสุดต่อภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างไร ขณะที่เงินปอนด์จับตาเจรจาข้อตกลง Brext ที่ยังตกลงกันไม่ได้
· จ้างงานรัฐบาลสหรัฐฯมีแนวโน้มชะลอตัวในเดือนพ.ย. ท่ามกางผลกระทบจาก Shutdown จากไวรัส
ข้อมูลจ้างงานรัฐบาลสหรัฐฯประจำเดือนพ.ย. ที่จะประกาศในคืนนี้เวลา 20.30น. ถูกคาดว่าจะอ่อนแอกว่าข้อมูลในเดือนต.ค. เพราะได้รับผลกระทบจากการ Shutdown สู้การระบาดของ Covid-19 ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยผลสำรวจส่วนใหญ่ชี้ว่าจะโตได้ราว 440,000 ราย หรือ 500,000 รายโดยประมาณ
ด้านอัตราว่างงานมีแนวโน้มออกมาดีขึ้นจาก 6.9% โดยคาดว่าจะออกมาแถว 6.7% - 6.8% ขณะที่คนว่างงานมีมากขึ้นจากการที่ภาครัฐบาลปรับลดคนงานและลดค่าใช้จ่ายของรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น
ดังนั้น ข้อมูลเดือนพ.ย. จึงมีแนวโน้มจะชะลอตัวลงยาวจนถึงช่วงกลางไตรมาสที่ 1/2021 หรือปลายปี 2021 จากชาวสหรัฐฯส่วนใหญ่ที่ได้รับการฉีดวัคซีน ขณะที่ Pfzer คาดอาจเตรียมจัดหาวัคซีนเพื่อส่งมอบในช่วงปลายเดือนนี้ได้หาก FDA มีการอนุมัติ ขณะที่ Moderna คาดได้รับการอนุมัติตามมา
· ไบเดน ชวน “ดร.ฟาวซี” เข้าร่วมทีม Covid-19
· “ดร. ก็อททิเลียบ” อดีตประธานองค์การอาหารและยา และสมาชิกบอร์ดบริษัท “คาดหวัง” จะเห็นการจัดหาวัคซีนที่เพียงพอในปี 2021 หลังจากที่ล่าสุดทางบริษัทมีการปรับลดจำนวนโดสของวัคซีนที่สามารถจัดหาให้ได้ในช่วงสิ้นปีนี้ อันเนื่องจาก “ประสบปัญหาห่วงโซ่อุปทาน”
จึงคาดว่าการจัดหาวัคซีนจะสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วในปี 2021 เพียงเริ่มต้นปีประมาณ 1-2 สัปดาห์ และในเบื้องต้นคาดส่งมอบได้บางส่วนเร็วที่สุดในปีนี้ ท่ามกลางชาวอเมริกาที่มีอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาทุกๆ 30 วินาที ส่งผลให้ยอดเสียชีวิตโดยรมสะสมสูงกว่า 275,000 รายในสหรัฐฯ ขณะที่ยอดติดเชื้อใหม่จากข้อมูลของสถานพยาบาลยังพบการปรับขึ้นทำ All-Time High อย่างต่อเนื่อง
· นายกฯญี่ปุ่นจัดแถลงข่าวเกี่ยวกับ “Third Wave”
นายโยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น มีกำหนดจะจัดแถลงข่าวเพื่อให้ข้อมูลอัพเดตเกี่ยวกับการตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาภายในประเทศ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาพุ่งสูงขึ้นในเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา
โดยเขาคาดว่าจะอธิบายถึงการสนับสนุนแคมเปญที่หนุนการเดินทางเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งแคมเปญดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
ขณะที่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกที่สามได้เข้ามาในบางพื้นที่ของประเทศ ทางด้านกลุ่มแพทย์รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มตำหนิว่าเป็นการรณรงค์ของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ
· รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศจัดสรรงบประมาณมูลค่า 5 ล้านเหรียญ เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางให้ได้รับวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19
โดยกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ได้ออกแถลงการณ์ร่วมกันว่า งบประมาณดังกล่าวจะจัดสรรผ่านทางโครงการโคแวกซ์ เอเอ็มซี (COVAX AMC) ซึ่งจะให้ความช่วยเหลือประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางจำนวน 92 ประเทศ ให้เข้าถึงวัคซีนต้านไวรัส ผ่านโครงการดังกล่าวได้
· ทรัมป์เสี่ยงถูก “วีโต้” ร่างงบประมาณด้านความมั่นคงมูลค่า 7.4 แสนล้านเหรียญ สหรับการต่อสู้กับหน่วยงานด้านเทคโนโลยี 230 แห่ง หากบรรดาสมาชิกคองเกรสไม่เห็นด้วยมาตรการกำจัดสื่อภายใต้ร่างกฎหมายปกป้องและคุ้มครองบริษัทสื่อสังคมออนไลน์
· กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ขึ้นบัญชี Blacklist บริษัทจีนด้านการผลิตชิป และบริษัทผู้ผลิตน้ำมัน
บริษัทผู้ผลิตชิปและน้ำมันรายใหญ่ของจีน ถูกขึ้นบัญชีดำจากกระทรวงกลาโหมในสหรัฐฯ จากข้อหามีส่วนเกี่ยวข้องทางการทหารของจีนหรือถูกควบคุมโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชน (People’s Liberation Army) ของจีน โดยมีรายชื่อบริษัท ดังนี้
- Semiconductor Manufacturing International Corp.
- China National Offshore Oil Corp.
- China Construction Technology Co. Ltd.
- China International Engineering Consulting Corp.
ทำให้ยอดรวมบริษัทจีนถูกขึ้นบัญชีดำรวมแล้ว 35 แห่ง ขณะที่สถานทูตจีนในสหรัฐฯยังไม่ได้ออกมาตอบโต้ต่อถ้อยแถลงและการดำเนินการใดๆของสหรัฐฯ
· ผลสำรวจ Reuters ชี้ ยอดส่งออก-นำเข้าจีนพ.ย.จะปรับขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
โพลล์สำรวจจากสำนักข่าว Reuters เผย ยอดการส่งออกและนำเข้าของจีนประจำเดือนพ.ย.คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยได้รับปัจจัยหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งและการหยุดชะงักของโรงงานในประเทศอื่นๆ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อนหน้า ซึ่งจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเพิ่มขึ้น 11.4% ในเดือนต.ค.
ขณะที่การนำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 6.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีและเร่งขึ้นจาก 4.7% ของเดือนก่อน โดยได้รับปัจจัยหนุนจากอุปสงค์ในประเทศที่ดีขึ้นและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ งบการเกินดุลการค้าของจีนเดือนต.ค.คาดว่าจะลดลงเล็กน้อยเหลือ 5.35 หมื่นล้านเหรียญในเดือนพฤศจิกายนจาก 58.44 พันล้านดอลลาร์
· ยอดคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมันประจำเดือนต.ค.เพิ่มขึ้นเกินคาด ช่วยเพิ่มความหวังที่ว่าภาคการผลิตในเศรษฐกิจเริ่มต้นไตรมาสที่ 4/2020 จะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งมั่นคง แม้เผชิญกับ Second Wave
สำนักงานสถิติของรัฐบาล กล่าวว่า ยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของ Reuters ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.5%
ทางด้านยอดคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนนี้ ขณะที่คำสั่งซื้อจากต่างประเทศสูงขึ้น 3.2%
ทั้งนี้ อุปสงค์ในกลุ่มสินค้าราคาสูงและสินค้าระดับกลางกลางมีการเพิ่มขึ้น ขณะที่อุปสงค์สินค้าทั่วไปสำหรับกลุ่มผู้บริโภคหดตัวลง
· ธนาคารกลางอินเดียคงดอกเบี้ยที่ 4% หลังจากที่ม.ค.ปีนี้หั่นดอกเบี้ยลงไป 1.15% ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ระดับสูง ขณะที่ดอกเบี้ย RRR คงไว้ที่ 3.35%
· น้ำมันดิบปรับขึ้นหลัง OPEC+ ตกลงกันได้เรื่องอุปทานน้ำมัน
น้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 1.04 เหรียญ หรือ +2.1% ที่ 49.75 เหรียญ/บาร์เรล
น้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 84 เซนต์ หรือ +1.8% ที่ระดับ 46.48 เหรียญ/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นได้ราว 2% วันนี้ และทำให้ภาพรวมสัปดาห์นี้ปรับขึ้นได้ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 ท่ามกลางกลุ่ม OPEC+ ที่ประนีประนอมตกลงนโยบายการปรับลดกำลังการผลิตกันได้ในช่วงการระบาดของไวรัส โดยเพิ่มการผลิตน้อยกว่าที่เคยคาดการณ์กันไว้ ซึ่งมีการปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพียง 500,000 บาร์เรล/วัน จากระดับ 7.7 ล้านบาร์เรล/วัน มาที่ 7.2 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็น 7% ของอุปสงค์น้ำมันโลกตั้งแต่เดือนม.ค.ปีหน้า แต่ก็ยังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับแนวโน้มนโยบายระหว่างช่วงที่เหลือของปีหน้า
Goldman Sachs เผยรายงานว่า กลุ่ม OPEC+ ค่อนข้างชัดเจนต่อแนวทางที่ต้องการถอนข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิต พร้อมมองว่าราคาน้ำมันดิบจะทรงตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้นในปี 2021