• อดีต สว. สหรัฐฯ ชี้ สหรัฐฯพลาดโอกาสกดดันจีนเพิ่ม

    9 ธันวาคม 2563 | Economic News

นายบ็อบ คอร์เกอร์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ กล่าวว่า ข้อตกลงตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) กล่าวว่า “สหรัฐฯพลาดโอกาสที่จะเพิ่มแรงกดดันจีน”


ขณะที่ข้อตกลง TPP เป็นสิ่งที่นายโอบามา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ พยายามเจรจาและผลักดันให้เข้าร่วมข้อตกลงกับ 11 ประเทศสมาชิกที่ไม่รวมจีน ซึ่งถือเป็นข้อตกลงการค้าที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็นสัดส่วนเศรษฐกิจโลก 40%


*** แต่ข้อตกลงนี้ก็ไม่เคยผลักดันให้ผ่านสภาคองเกรส ***


พร้อมกันนี้ในการเข้ารับตำแหน่งของนายทรัมป์ เมื่อปี 2017 ก็มีการถอนรายชื้อสหรัฐฯออกจากข้อตกลงดังกล่าว


ดังนั้น สหรัฐฯจึงเสียโอกาสที่สามารถสร้างแรงกดดันมากขึ้นแก่จีน ที่ดูเหมือนจีนจะมีการเชื่อมสัมพันธไมตรีกับชาติพันธมิตร และนี่คือข้อแตกต่างของสหรัฐฯ-จีน


การมาของนายไบเดนในการเลือกใช้วิธีอื่นในการฟื้นความสัมพันธ์กับพันธมิตรที่อยู่ในข้อตกลง “อาจเป็นวิธีที่ดีสุด” เพราะส่วนหนึ่งในการเปิดช่องทางเจรจาคือนายไบเดน ระบุถึง การไม่ต้องการเร่งทำข้อตกลงการค้าใหม่ แต่จะใช้วิธีร่วมปรึกษาหารือกับชาติพันธมิตรใน “เชิงกลยุทธ์ด้านความร่วมมือ” เพื่อดำเนินการกับจีน


เพราะหลังจากที่สหรัฐฯถอนตัวจากข้อตกลงไป ประเทศสมาชิก 11 แห่งยังคงอยู่ ภายใต้ข้อตกลง CPTPP


นายวิลเบอร์ รอส รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ กล่าวว่า “การถอนตัวออกจากข้อตกลง TPP ไม่ได้เป็นสัญญาณที่ว่าสหรัฐฯใช้นโยบายกีดกันทางการค้า” และทีมบริหารของนายทรัมป์ค่อนข้างชัดเจนอย่างมากที่ต้องการข้อตกลงการค้าเสรีกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แต่ข้อตกลงก็ต้องระบุรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงด้วย เพราะข้อตกลง TPP จะยิ่งเพิ่มยอดขาดดุลทางการค้า จึงจะเห็นได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งก่อน ไม่ว่านายทรัมป์ หรือนางคลินตันก็ไม่มีใครให้การสนับสนุน รวมทั้งการสนับสนุนจากสภาคองเกรสด้วย




การร่วมมือกับชาติพันธมิตร

ภายใต้การนำของ “ทรัมป์” มักย้ำเน้นปัญหาของจีนในการปฏิบัติต่อภาคธุรกิจ และการปราศจากการปกกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ที่ประเทศอื่นๆต่างก็เห็นพ้องต่อข้อตำหนิจีนดังกล่าว “แต่ทีมบริหารทรัมป์กลับใช้กานดำเนินการตอบโต้จีนด้วยแนวทางตนเองเท่านั้น” ด้วยแผนภาษี


และการขึ้นภาษีก็ใช่ว่าจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมจีน แต่กลับไปสร้าง “ความท้าทาย” ให้แก่นานาประเทศที่มีการติดต่อกับจีน


ขณะที่แนวทางของไบเดนในการร่วมมือกับชาติพันธมิตร จะเป็นการเตือนจีนว่าประเทศคู่ค้าหลักหลายๆประเทศก็เป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ แน่นอนว่าวิธีนี้มาแนวโน้มสำเร็จและมีประสิทธิภาพที่ดีในระยะยาว แต่ก็ต้องระวังกรอบการดำเนินการจำนวนมากก็อาจเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจของทุกฝ่ายได้


ที่มา: CNBC



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com