• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 14 ธันวาคม 2563

    14 ธันวาคม 2563 | Gold News


 ทองปรับขึ้นท่ามกลางนักลงทุนรอกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ

·         ราคาทองคำปรับขึ้นคืนวันศุกร์ ขณะที่ภาพรวมสัปดาห์ผ่านมาปรับขึ้นได้เป็นสัปดาห์ที่ 2 ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ให้ความสนใจกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

 

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.3% ที่ 1,839.90 เหรียญ หลังช่วงต้นตลาดปรับลง 0.6%

 

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนก.พ. ปิดปรับขึ้น 0.3% ที่ 1,843.60 เหรียญ



 

·         กองทุนทองคำ SPDR ขายทองคำออก 3.79 ตัน หลังจากไม่ทำอะไรมา 3 วันทำการ ล่าสุดถือครองที่ 1,175.99 ตัน ขณะที่เดือนธ.ค. ขายต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ล่าสุดมียอดขายสุทธิ 18.79 ตัน เป็นระดับการขายออกมากที่สุดเดือนที่ 2 ของปี

 

สำหรับภาพรวมรายปี จะพบว่ามีสถานะซื้อเข้าสุทธิ 282.74 ตัน ยังถือเป็นระดับซื้อเข้ารายปีมากที่สุดตั้งแต่ปี 2010

 

 

·         ผู้อำนวยการฝ่ายการซื้อขายโลหะมีค่าจาก High Ridge Futures กล่าวว่า พวกเราเชื่อว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเกิดขึ้น และเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองและซิลเวอร์ แต่ระยะสั้นการปราศจากแผนใดๆก็ดูจะกดดันให้ราคาทองคำอ่อนตัว โดยจะเห็นได้จากการที่ราคาปิดเหนือ 1,875 เหรียญ ก็เผชิญแรงกดดันให้อ่อนตัวต่ำกว่าระดับดังกล่าว ก่อนจะมีรีบาวน์บ้างจากดอลลาร์ที่อ่อนค่า

 

·         ล่าสุดทองคำปรับขึ้นได้ แม้ดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น เรียกได้ว่าเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 4 สัปดาห์ที่ทองคำปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่สมาชิกสภาคองเกรสยังต้องต่อเวลาเพื่อให้บรรลุข้อตกลงร่วมกันให้ได้ ท่ามกลางข้อมูลจ้างงานที่อ่อนแอและจำนวนติดเชื้อในสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น

 

 

·         ประธานฝ่ายการตลาดของ TIAA Bank กล่าวว่า ปีหน้ามีโอกาสเห็นทองขึ้นได้ต่อ แต่ปีนี้อาจเห็นการปรับขึ้นปานกลางในช่วงเข้าสู่ปีหน้า

 

·         หัวหน้านักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดจาก CMC Markets ระบุว่า ตลาดกำลังรอปัจจัยต่างๆที่จะหนุนให้ทองขึ้นต่อปี 2021 ได้แก่

-      ข้อตกลงมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของสภาคองเกรสที่น่าจะเกิดขึ้นได้ภายในสิ้นเดือนนี้

-      ประชุมเฟด ที่คาดว่าจะยังผ่อนคลายทางการเงินต่อ

 

·         ซิลเวอร์ปิด +0.3% ที่ 24.03 เหรียญ

·         พลาเดียมปิด -0.2% ที่ 2,327.31 เหรียญ

·         แพลทินัมปิด -0.8% ที่ 1,018.75 เหรียญ

 

·         ราคาแร่เหล็กจีนพุ่ง 10% แตะสูงสุดประวัติการณ์จากกังวลด้านอุปทาน

Iron ore futures ในตลาด DCE ของจีนปิดปรับขึ้นเกือบ 10% ในคืนวันศุกร์ ทำ All-Time High เหนือ 1,000 หยวน (152.95 เหรียญ) ต่อตันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยได้รับแรงหนุนจาก

การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์เหล็ก

พายุกระหน่ำฝั่งตะวันตกของออสเตรเลีย หวั่นเป็นอุปสรรคระยะสั้น (เนื่องจากออสเตรเลียเป็นผู้นำด้านสินค้าโภคภัณฑ์แร่เหล็ก จึงทำให้หลายๆฝ่ายกังวลต่ออุปทานที่อาจไม่พอต่ออุปสงค์)

  

·         ยอดติดเชื้อ Covid-19 ล่าสุดสะสมทั่วโลกทะลุ 72.62 ล้านราย วานนี้ติดเชื้อเพิ่มทั่วโลกกว่า 5.35 แสนราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสมทั่วโลกเพิ่มขึ้นทะลุ 1.61 ล้านราย

ยอดติดเชื้อ Covid-19 ในสหรัฐฯวานนี้พบติดเชื้อใหม่เพิ่ม 185,966 รายลรวมล่าสุด 16.73 ล้านราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสมในประเทศแตะ 306,451 ราย

 


·         เกาหลีใต้ เผยรายงานยอดติดเชื้อใหม่ทะลุ 950 ราย ทำสูงสุดประวัติการณ์  เหนือ 909 รายที่ทำจุดพีคเดือนเม.ย.

ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เตือนถึง ภาวะฉุกเฉิน” ที่อาจทำให้เกิดการใช้มาตรการเว้นระยะห่างที่เขเมงวดมากขึ้น หลังยอดติดเชื้อกว่า 70% พบว่า มาจากกรุงโซลของประเทศ และบรรรดาประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง

 

·         นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประกาศ ขยาย Lockdown สู้ Covid-19 โดยห้างร้านส่วนใหญ่จะยังปิดทำการจนถึง 10 ม.ค.


 

·         FDA อนุมัติใช้วัคซีน Pfizer – เริ่มกระบวนการขนส่ง

 

ในวันเสาร์ที่ผ่านมาทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ FDA มีการประกาศใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉินภายใต้เงื่อนไข EUA สำหรับบริษัท Pfizer ในการใช้วัคซีน Covid-19 สำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป จึงส่งผลให้เกิดการขนส่งวัคซีนเริ่มต้นขึ้น ท่ามกลางยอดติดเชื้อและเสียชีวิตในสหรัฐฯที่พุ่งสูง


 

·         “โพโลซี” เรียกร้องให้เกิดความเร่งด่วน, ยุติธรรม และกระจายวัคซีน Covid-19 สำหรับชาวอเมริกาหากเป็นไปได้

 

นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎรเรียกร้องการส่งมอบวัคซีนไวรัสโคโรนา หลังมีการอนุมัติใช้ฉุกเฉินจาก FDA เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว, เป็นธรรม และฟรีสำหรับชาวอเมริกาหากเป็นไปได้ ขณะที่การดำเนินการภายใต้เงื่อนไขนโยบายความมั่นคงด้านการผลิต หรือ DPA อาจนำมาซึ่งกระบวนการเร่งดำเนินการผลิตวัคซีนของ Pfizer-BioNTech ได้

 

 

·         ภาพรวมสหรัฐฯจำเป็นต้องอัดฉีดเงินเพิ่มสำหรับการฉีดวัคซีน แต่คองเกรสยังไม่สามารถผ่านร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจได้

 

พรรครีพับลิกันและเดโมแครตเห็นพ้องกันถึงการเพิ่มวงเงินวัคซีนนับพันล้านเหรียญ แต่ข้อตกลงกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นยังไม่สามารถตกลงกันได้

 

ขณะที่ที่ปรึกษาของ CDC กล่าวเตือนว่า รัฐบาลท้องถิ่นอาจไม่มีเงินเพียงพอเพื่อเข้าร่วมโครงการฉีดวัคซีนได้

 

ทั้งนี้ ในวงเงินเจรจา 9.08 แสนล้านเหรียญ จะประกอบไปด้วย 6 พันล้านเหรียญสำหรับการพัฒนาวัคซีนและการกระจายวัคซีน ควบคู่กับวงเงิน 3.5 หมื่นล้านเหรียญในการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ ขณะที่นายมิทช์ แมคคอนเนล ผู้นำเสียงข้างมากของวุฒิสภาค้านข้อเสนอดังกล่าวและได้เรียกร้องให้เกิดข้อตกลงที่ไม่รวมการคุ้มครองภาคธุรกิจและเงินอุดหนุนรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น

 

ภาพรวมสภาคองเกรสจึงยังไม่สามารถตกลงกันได้ และวัคซีนตัวแรกก็ถูกคาดว่าจะถึงสหรัฐฯได้อย่างกว้างขวางในวันนี้ ขณะที่รัฐและรัฐบาลท้องถิ่นต่างๆจำเป็นที่ต้องมีเงินสนับสนุนเพิ่มสำหรับโครงการวัคซีนนี้

 


 

·         นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงนามร่างงบประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อซื้อเวลาให้คองเกรสเจรจากระตุ้นเศรษฐกิจช่วง Covid  หลังวุฒิสภาลงมติผ่านร่างกฎหมายที่ได้รับจากทางสภาผู้แทนราษฎร

อย่างไรก็ดี หากยังไม่สามารถตกลงกันได้ ในวันเสาร์นี้รัฐบาลจะเผชิญ Shutdown

 

·         ภาพรวมรัฐบาลมีแผนจะกระจายวัคซีนจำนวน 2.9 ล้านโดสให้ได้ในเวลา 24 ชั่วโมง  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนต้องรอเวลาอีก 21 วันจึงจะได้รับวัคซีนโดสที่ 2

ขณะที่บริษัท Pfizer มีแผนจะส่งมอบวัคซีนให้ได้ 50 ล้านโดสในปีนี้ ซญึ่งน่าจะเพียงพอในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนราว 25 ล้านคนก่อนได้รับวัคซีนโดสที่ 2

ดร.แอนโธนี ฟาวซี ที่ปรึกษาจากสถาบันโรคระบาดแห่งชาติสหรัฐฯ เผยว่า วัคซีนในสหรัฐฯอาจส่งมอบได้อย่างเพียงพอแก่ชาวอเมริกาทุกคนประมาณช่วงเดือนเม.ย.

 

“ผู้ที่จะได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก”

ชาวอเมริกันกลุ่มแรกที่จะได้รับการฉีดวัคซีนในไม่กี่วันนี้ คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านสุขภาพ และผู้อยู่อาศัยในสถานดูแลระยะยาว

อย่างไรก็ตาม ดร. แนนซี่ เมซอนเนียร์ ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์สร้างภูมิคุ้มกันและโรคระบบทางเดินหายใจแห่งชาติของ CDC ระบุว่า รัฐส่วนใหญ่และเขตอำนาจศาลท้องถิ่น คาดหวังว่า ภายในสามสัปดาห์จะฉีดวัคซีนให้กับเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพได้ทั้งหมด

 

·         พลเอกแห่งกองทัพสหรัฐฯ เผยว่า สหรัฐฯจำเป็นต้องมีการผลิตวัคซีนโดสแรกให้ได้สูงกว่า 50และต้องเริ่มต้นส่งมอบวัคซีนให้ประชาชนให้ได้ภายในสัปดาห์นี้ ขณะที่ภาพรวมมองว่าการทำงานของวัคซีนต้องได้รับทั้งสิ้นจำนวน 2 โดส จึงจะให้ประสิทธิภาพที่ดี แต่กระบวนการส่งมอบวัคซีนภาพรวมยังดูเป็นปัญหา

 

·         FDA ยังมั่นใจต่อการส่งมอบวัคซีนต้องผ่านกระบวนการตู้แช่ที่เย็นจัดและอุณหภูมิไม่น้อยกว่า -94 องศาฟาเรนไฮต์

 

·         AstraZeneca ร่วมมือกับผู้ผลิต Sputnik V ของรัสเซีย ผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19

AstraZeneca บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเวชภัณฑ์ของอังกฤษ เผยว่า เร็ว ๆ นี้จะเริ่มทำงานร่วมกับสถาบัน Gamaleya ของรัสเซีย เพื่อตรวจสอบว่าวัคซีนโควิดของทั้งสองฝ่าย สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นไม่นาน หลังจากที่ผู้ผลิตวัคซีน Sputnik V ทวีต ถึง AstraZeneca ผ่านทาง Twitter เมื่อปลายเดือนที่แล้ว เพื่อถามว่า ทั้งสองบริษัทควรลองรวมวัคซีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือไม่

อย่างไรก็ดี กองทุนเพื่อความมั่นคงของรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนการพัฒนาวัคซีน Sputnik V เผยว่า การทดลองทางการแพทย์ของวัคซีน AstraZeneca ร่วมกับบริษัท Sputnik V จะเริ่มภายในสิ้นเดือนนี้

ทั้งนี้ความสามารถในการผสมวัคซีนโควิด ที่แตกต่างกันอาจเป็นประโยชน์เพื่อช่วยปรับปรุงความสามารถในการป้องกันได้ดีขึ้นหรือช่วยในการเข้าถึงได้มากกว่าเดิม ด้วยเหตุนี้จำเป็นต้องตรวจสอบการผสมกันของวัคซีนที่แตกต่างเพื่อช่วยให้โปรแกรมการสร้างภูมิคุ้มกันมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และให้ทางการแพทย์มีทางเลือกมากขึ้นในการเลือกวัคซีน

 

·         สภาสูงสหรัฐฯปฏิเสธคำร้องของทีมกฎหมายทรัมป์ เพื่อพลิกชัยชนะไบเดน

 

·         เจรจา Brexit ขยายเวลาต่อจากกำหนดเส้นตายเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ท่ามกลางบรรดาผู้นำที่ยังมองต้องต่อเวลาฉุกเฉิน

ทั้งนี้ นายกฯอังกฤษ และประธานคณะกรรมาธิการอียูเจรจาร่วมกันผ่านทางโทรศัพท์ก่อนจะประกาศแถลงการณ์ดังกล่าว เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย เดินหน้าเจรจาต่อได้

สื่ออังกฤษรายงานว่า การเจรจามีความคืบหน้าขึ้นในบางส่วนเมื่อไม่กี่วันมานี้ แม้จะยังตกลงกันไม่ได้ แต่ผู้นำของทั้งสองฝ่ายก็ไม่ได้มีการกำหนดเส้นตายรอบใหม่



เจรจา Brexit ยังคงเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องด้วยนี่ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อียูที่ทั้งสองฝ่ายแยกตัวออกจากกัน  และมีความเห็นต่างเรื่องกฎระเบียบ ทำให้ต้องมีการตกลงกันใหม่ในเรื่องข้อตกลงการค้า ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหารพลังงาน และมาตรฐานอื่นๆ

นายซิมมอน โคเวนนีย์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไอร์แลนด์ กล่าวทางทวิตเตอร์ว่า การเจรจาของผู้นำทั้งสองฝ่ายมีสัญญาณที่ดี แม้ว่าจะมีความแตกต่างด้านข้อตกลงอย่างชัดเจน แต่ก็มีโอกาส "เป็นไปได้"

 

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวเดลินิวส์

เงินบาทจ่อหลุด30บ.อีกครั้งสัปดาห์หน้า จับตาธปท.ดูแลใกล้ชิด

รายงานข่าวจากธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ได้ประเมินค่าเงินบาทในสัปดาห์หน้า ระหว่างวันที่ 14-18 ธ.ค. เคลื่อนไหวในกรอบ 29.80-30.20 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สัญญาณการดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ในวันที่ 15-16 ธ.ค.นี้ กระแสเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ตลอดจนปัจจัยทางการเมืองและสถานการณ์ Covid-19 ในประเทศ

การแข็งค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสัญญาณอ่อนแอของเงินดอลลาร์ และแรงขายเงินดอลลาร์ของกลุ่มผู้ส่งออก ประกอบกับมีจังหวะการสลับเข้าซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยวันอังคาร (ธ.ค.) และซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทยในวันพุธ (ธ.ค.) ของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน

 

·         อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” เชื่อเฟดยังไม่ผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมปีนี้ ส่งสัญญาณไตรมาสแรกปีหน้าออกมาตรการเพิ่มเติม กดดันค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่กรอบ 0.00-0.25% ตามเดิม และน่าจะไม่มีการประกาศใช้เครื่องมือผ่อนคลายทางการเงินอื่น ๆ เพิ่มเติมในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 15-16 ธ.ค. นี้

อย่างไรก็ดี จุดจับตาในการประชุมเฟดรอบนี้น่าจะอยู่ที่ 2 เรื่อง คือ
1. รายละเอียดของแนวทางสำหรับโครงการซื้อสินทรัพย์
2. ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เฟดอาจจะปรับเพิ่มตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจในปี 2565-2566 ขึ้นเล็กน้อย

แต่สำหรับปี 2564 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เฟดจะยังคงมีความระมัดระวังในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐฯ ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นจะเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงหลายเดือนข้างหน้า

ซึ่งทำให้ประเมินว่า เฟดจะยังคงส่งสัญญาณพร้อมผ่อนคลายมาตรการทางการเงินเพิ่มเติม โดยเฉพาะในช่วงต้นปี 2564 ซึ่งภาพดังกล่าวจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินดอลลาร์ฯ มีแนวโน้มอ่อนค่า และกดดันให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นเพิ่มเติมได้ในช่วงหลังจากนี้

ทั้งนี้ หากนับเฉพาะในช่วงประมาณกว่า 1 เดือนหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ สิ้นสุดลง (3 พ.ย.-9 ธ.ค. 2563) จะพบว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแล้วประมาณ 3.7% และกำลังเข้าทดทดสอบแนว 30.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ณ วันที่ 9 ธ.ค. 2563 ท่ามกลางสัญญาณเงินทุนไหลเข้า โดยนักลงทุนต่างชาติมีสถานะซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยรวมกันประมาณ 6.38 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตร 4.61 หมื่นล้านบาท และ 1.77 หมื่นล้านบาทตามลำดับ)

ซึ่งอัตราการแข็งค่าของเงินบาทดังกล่าวเป็นอันดับ 3 หากเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค โดยเป็นรองจากเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียที่แข็งค่าแล้ว 4.0% และเงินวอนของเกาหลีใต้ที่แข็งค่าขึ้นมาแล้วถึง 4.6%


 

ส่องทิศทางเศรษฐกิจไทยปี64 โตต่ำ-เสี่ยงสูง” จับตา 3 อุตสาหกรรม ฟื้นช้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักวิจัยด้านเศรษฐกิจหลายแห่งได้ออกมาคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีหน้า จะเติบโตดีขึ้นกว่าปีนี้ โดยขยายตัว 2.6% ต่อปี จากปี 2563 ที่คาดว่าจะหดตัวที่ -6.7% ขณะที่ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ พยากรณ์ว่าปีหน้า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 3.8% จากปีนี้ที่คาดว่าจะหดตัว -6.5%

แม้จะมองเศรษฐกิจไทยปีหน้ามีแนวโน้มฟื้นตัวเป็นบวก 2.6% โดยมีแรงหนุนจากการใช้จ่ายของภาครัฐทั้งการบริโภคและการลงทุน แต่อัตราการเติบโตของจีดีพีที่ถือว่าไม่สูงนักดังกล่าว สะท้อนภาพของความไม่แน่นอน โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดยังเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลกในปี 2564 ท่ามกลางการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิดที่ยังมีประเด็นเรื่องความเพียงพอและการเข้าถึงวัคซีน ทำให้คาดว่าแนวทางการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยคงจะทยอยทำได้อย่างช้า ๆ ในช่วงครึ่งปีหลังเป็นต้นไป

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่า และปัจจัยการเมืองในประเทศ ในขณะที่ การส่งออกไทยในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวที่ 3.0% หลังจากที่คาดว่าจะหดตัว 7.0% ในปี 2563 นี้

ทิศทางการส่งออกที่ฟื้นตัวช้ามาจากปัจจัยกดดันทั้งในเรื่องค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์ฯ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

สำหรับภาคส่งออกของไทย มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ 4.7% ตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลก อย่างไรก็ดี ปัญหาการขาดแคลนและต้นทุนที่สูงขึ้นของตู้คอนเทนเนอร์โดยเฉพาะในช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงช่วงต้นปีหน้า และแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ จะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปีหน้า

5 ปัจจัยเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจปีหน้า

เศรษฐกิจไทยในปี 2564 ยังมีความเสี่ยงด้านต่ำที่สำคัญ ประกอบด้วย

1) การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 และความล่าช้าในการกระจายวัคซีนในไทยอย่างแพร่หลาย

2) แผลเป็นทางเศรษฐกิจที่อาจส่งผลต่อเสถียรภาพสถาบันการเงินผ่านระดับหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อความสามารถในการเข้าถึงเงินทุนของภาคเอกชน

3) ปัญหาเสถียรภาพการเมืองในประเทศ ซึ่งอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน

4) ภัยแล้ง จากระดับน้ำในเขื่อนที่ยังอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต

5) เงินบาทที่แข็งค่าเร็วกว่าคู่ค้าคู่แข่งซึ่งอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ

3 อุตสาหกรรมหลัก ท่องเที่ยว-อสังหาฯ-รถยนต์” ฟื้นช้า

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- กกต.เชิญชวนประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น 20 ธ.ค.นี้ พร้อมกันนี้ กกต. เตือนหากไม่ไปเลือกตั้งอบจ.ต้องแจ้งเหตุภายใน 27 ธ.ค. ป้องกันเสียสิทธิ

- กลุ่มราษฎรออกแถลงการณ์เรียกร้องยกเลิกมาตรา 112 เพื่อลดความขัดแย้งทางสังคม


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com