ดอลลาร์ร่วงทำอ่อนค่ามากสุดตั้งแต่ช่วง 2 ปีครึ่ง ท่ามกลางเงินปอนด์-ยูโรที่ยังแข็งค่าต่อตอบรับคืบหน้าข้อตกลง Brexit และคืบหน้าข้อตกลงกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ช่วยจุดประกายสินทรัพย์เสี่ยงและลดความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย
ตัวแทนเจรจาจากสภาคองเกรส ส่งสัญญาณ เข้าใกล้ข้อตกลงกระตุ้นเศรษฐกิจช่วง Covid-19 วงเงิน 9 แสนล้านเหรียญ
ประธานคณะกรรมาธิการอียูกล่าวว่า ข้อตกลง Brexit ก็ใกล้เข้ามา
ดัชนีดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงทำต่ำสุดที่ 89.97 จุด โดยหลุดต่ำกว่า 90 จุด เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เม.ย. ปี 2018
ค่าเงินยูโรทรงตัวแถว 1.22305 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากไปทำแข็งค่ามากสุดตั้งแต่เม.ย. 2018 ที่ระดับ 1.2235 ดอลลาร์/ยูโร
ค่าเงินปอนด์แข็งค่าที่ 1.3557 ดอลลาร์/ปอนด์ และไปทำแข็งค่ามากสุดแตะ 1.3564 ดอลลาร์/ปอนด์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่พ.ค. 2018
ประชุมเฟดวานนี้ส่งสัญญาณว่า จะยังคงการเสริมสภาพคล่องทางด้านเงินสดเข้าสู่ระบบตลาดการเงิน จนกว่าจะมั่นใจว่าเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว ซึ่งดอลลาร์แข็งค่าหลังจากทราบถ้อยแถลงประชุมเฟด แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นๆเท่านั้น
หัวหน้านักกลยุทธ์ค่าเงินจาก MUFG Bank กล่าวว่า ตราบที่ผลตอบแทนระยะยาวสหรัฐฯยังคงอยู่ระดับต่ำ "ดอลลาร์ก็จะอยู่ในทิศทางที่อ่อนค่า"
ภาพรวมค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่ามาแล้ว 10% เมื่อเทียบกับยูโร, เยน, และหยวน
ค่าเงินหยวนแข็งค่ามาที่ 6.5369 หยวน/ดอลลาร์ ใกล้ระดับแข็งค่ามากสุดตั้งแต่ช่วงต้นเดือนนี้แถว 6.4975 หยวน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ลงไปทำระดับดังกล่าวตั้งแต่ปีมิ.ย. 2018
ค่าเงินสวิสฟรังก์ ทรงตัวเล็กน้อยหลังจากที่ทำแข็งค่ามากสุดรอบ 6 ปี ที่ 0.8826 ดอลลาร์/ฟรังก์
Bitcoin ทำสูงสุดที่ 22.394 เหรียญ หลังจากที่ฝ่า 20,000 เหรียญได้เป็นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อคืนนี้
· ไบเดนหวังการเลือก "นางแกรนฮอล์ม" มาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน จะช่วยหนุนการใช้รถไฟฟ้าพลังงาน
· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ตั้งข้อกล่าวหา เวียดนาม และสวิตเซอร์แลนด์ มีการควบคุมค่าเงิน และการดำเนินการของทีมบริหารทรัมป์ครั้งนี้ อาจสร้างความซับซ้อนทางการค้ากับประเทศอื่นๆ ภายในการบริหารจัดการของนายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่จะเข้าสู่การดำเนินงานในเร็วๆนี้
นอกจากนี้ รายงานของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ยังกล่าวถึง อินเดีย, "ไทย" และไต้หวัน ก็เป็นกลุ่มประเทศที่ดูจะมีความตั้งใจลดค่าเงินประเทศตนเองเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์
อย่างไรก็ดี การระบาดของ Covid-19 ดูจะส่งผลต่อเม็ดเงินการค้าและทำให้ยอดขาดดุลของสหรัฐฯกับประเทศคู่ค้าเพิ่มสูงขึ้น ภายใต้การบริหารของนายทรัมป์ตลอดช่วงดำรงตำแหน่ง มีความพยายามจะปิดช่องโหว่ทางการค้าที่เกิดขึ้น
· BBC เผย หัวหน้าด้านการค้าของทีมบริหารทรัมป์ คาดหวังจะเห็นสหรัฐฯหวังจะทำข้อตกลงการค้ากับอังกฤษได้ แม้จะเป็น Mini-Trade Deal หรือข้อตกลงการค้าขนาดย่อมกับอังกฤษเพื่อลดภาษี อาทิ วิสกี้ สัญชาติก็อตแลนด์เป็นต้น
รวมทั้งเรื่องที่อังกฤษประกาศจะยุติการสนับสนับสนุนผู้ผลิตอะไหล่เครื่องบิน Airbus ของยุโรปด้วย
· FDA เผย การใช้จำนวนโดสของวัคซีนบริษัท Pfizer สามารถทำได้ โดยค้นพบรายงานการรักษาด้วยวัคซีนดังกล่าวที่มีการฉีดหนึ่งครั้งมากถึง 6-7 โดส ที่สามารถเห็นผลทางการแพทย์ แต่ก็ยังปราศจากความชัดเจนว่าการฉีดจำนวนมากขึ้นจะได้รับการอนุมัติจากกลุ่มผู้ผลิตต่างๆ และอาจทำให้แนวทางการฉีดวัคซีนครั้งละหลายโดสต้องถูกมองข้ามไป
· ข้อมูลอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นว่า การจดทะเบียนรถยนต์ในยุโรปประจำเดือนพ.ย.ลดลง ซึ่งเป็นการปรับลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน เนื่องจากมาตรการ Lockdown เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาไวรัสครั้งระลอกสองที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายในตลาด
โดยการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ลดลง 13.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีเหลือ 1.05 ล้านคันในสหภาพยุโรปและประเทศใน European Free Trade Association (EFTA)
· ไต้หวันหวังจะลดยอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ หลังสหรัฐฯแสดงความกังวลเกี่ยวกับเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินไต้หวัน
· เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรายหนึ่งของญี่ปุ่น ระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายวันในกรุงโตเกียวพุ่งทะลุ 822 รายเป็นครั้งแรกในวันนี้ ท่ามกลางความวิตกที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะตึงตัวของระบบการแพทย์ภายในประเทศ
โดยเพิ่มระดับการเตือนความพร้อมด้านการแพทย์สู่ระดับ "สีแดง" ซึ่งเป็นการเตือนขั้นสูงสุดใน 4 ระดับเป็นครั้งแรก ขณะที่โรงพยาบาลต่างๆ รับผู้ป่วยเข้ารักษาตัวจนเต็มเกือบทุกเตียงแล้ว
· เกาหลีใต้รายงานจำนวนผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่มากที่สุดของประเทศนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของไวรัสดังกล่าว และกระตุ้นให้เกิดการซื้ออย่างตื่นตระหนกเนื่องจากคาดว่าจะมีการประกาศมาตรการ Lockdown ครั้งใหม่
โดยสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคแห่งเกาหลี (KDCA) รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นอีก 22 รายเมื่อเที่ยงคืนของวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากระดับสูงสุดก่อนหน้านี้ที่มีผู้เสียชีวิต 13 รายในวันเดียวในช่วงต้นสัปดาห์
· รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ ระบุว่า วัคซีน Covid-19 จะเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัวปี 2021 แต่ไม่อาจช่วยให้ "ภาคธุรกิจกลับสู่ภาวะปกติ"
โดยคาดว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์จะได้รับอานิสงส์จากวัคซีน แต่อาจไม่ได้ทำให้ทุกอย่างสามารถกลับไปเหมือนช่วงก่อนการระบาดได้ และคิดว่าต่อไปนี้จะเป็นไปในรูปแบบของ NEW NORMAL
· สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) รายงานว่า ตัวเลขจ้างงานเดือนพ.ย. พุ่งขึ้น 90,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานของออสเตรเลียลดลงเหลือ 6.8 % ตลอดจนส่งสัญญาณว่ามาตรการกระตุ้นทางการเงินและการคลังได้ผล หลังจากที่ออสเตรเลียสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้
ตัวเลขจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในเดือนพ.ย.นั้น นำโดยการเพิ่มขึ้นของรัฐวิกตอเรีย ซึ่งฟื้นตัวจากการ Lockdown ที่ยาวนานในเดือนที่ผ่านมา
· ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือนหลังจากสต็อกน้ำมันดิบลดลง
น้ำมันพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 ในวันนี้หลังจากข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯลดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ขณะที่ความคืบหน้าข้อตกลงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯและอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในเอเชียหนุนให้ราคาเพิ่มขึ้น
โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงาน ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯลดลง 3.1 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์นี้จนถึงวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลง 1.9 ล้านบาร์เรล
ด้านค่าเงินดอลลาร์ยังทำระดับต่ำสุดใน 2ปีครึ่งเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ โดยทั่วไปราคาน้ำมันจะสูงขึ้นเมื่อค่าเงินดอลลาร์ร่วงลง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในสกุลเงินดอลลาร์จะถูกกว่าสำหรับผู้ซื้อที่ถือสกุลเงินอื่น
ทั้งนี้ น้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 72 เซนต์ หรือ 1.4% หรือ 51.80 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WIT ปรับขึ้น 71 เซนต์ หรือ 1.5% ที่ระดับ 48.53 เหรียญ/บาร์เรล โดยน้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิด เพิ่มขึ้นทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.