· นักลงทุนปิดสถานะบางส่วน หลังตลอดสัปดาห์ดอลลาร์เผชิญแรงขายต่อเนื่อง
ค่าเงินดอลลาร์ชะลอการอ่อนค่าหลังจากที่วานนี้หลุดแนวรับสำคัญลงมาจากแรงขายทำกำไรและการเพิ่มการถือสถานะ Short ของบรรดานักลงทุน
ดัชนีดอลลาร์รีบาวน์ 0.15% แตะ 89.986 จุด ยืนเหนือจากต่ำสุดรอบ 2 ปีครึ่งที่ 89.723 จุดวานนี้ ภาพรวมสัปดาห์นี้อ่อนค่าไปกว่า 1% และร่วงลงกว่า 12.6% จากที่ทำแข็งค่าไว้มากสุดในเดือนมี.ค.
เทรดเดอร์ในตลาดเอเชียเข้าทำกำไรในค่าเงินบางส่วน หลังดอลลาร์อ่อนค่าลงทำต่ำสุดในรอบ 9 เดือนเมื่อเทียบกับค่าเงินเยน และร่วงลงหนักเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร, ออสเตรเลียดอลลาร์ และกีวีของนิวซีแลนด์
ค่าเงินเยนแข็งค่ามาที่ 103.39 เยน/ดอลลาร์ ระหว่างสัปดาห์แข็งค่าแล้วประมาณ 0.6% เมื่อเทียบดอลลาร์ โดยไปทำแข็งค่ามากสุดนับตั้งแต่ก.ย. บริเวณ 103.18 เยน/ดอลลาร์
ด้านค่าเงินยูโรแข็งค่าต่อเนื่อง 7 สัปดาห์เมื่อเทียบดอลลาร์ กว่า 1.1%
เงินปอนด์สัปดาห์นี้แข็งค่าได้ 2.4% เป็นสัปดาห์ที่ดีที่สุดในรอบ 6 เดือน จากความหวังข้อตกลง Brexit ก่อนสิ้่นปี
แม้ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯจะค่อนข้างอ่อนแอ แต่ค่าเงินดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven ก็ไม่ได้ตอบรับมากนัก ขณะที่กลุ่มนักลงทุนให้ความสนใจกับ การกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็นสำคัญ ที่อาจช่วยสนับสนุนการอุปโภคบริโภค จึงยิ่งหนุนสินทรัพย์เสี่ยงให้เพิ่มขึ้น และกดดันดอลลาร์
Bitcoin ในตลาดเอเชียทรงตัว หลังจากที่สัปดาห์นี้ปรับขึ้นได้กว่า 20% เหนือ 23,000 จุด ท่ามกลางเม็ดเงินไหลเข้าจากกลุ่มนักลงทุนสถานบันเป็นหลัก และมุมมองต่อการลงทุนใน Bitcoin ในการใช้เป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ
เจรจาข้อตกลงการค้า
- มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯในวงเงิน 9 แสนล้านเหรียญของสภาคองเกรส
ขณะที่บรรดาสมาชิกรีพับลิกันเร่งผลักดันเพื่อให้มาแทนที่โครงการเงินกู้ของเฟดที่ะจหมดอายุลงในวันที่ 30 ธ.ค. และไม่ต้องการให้กลับมาใช้โครงการนี้ได้
- ข้อตกลงการค้าการค้า Brexit
การเจรจาระหว่างอียู-อังกฤษ ไม่น่าจะตกลงกันได้ และส่งสัญญาณลบระหว่างกันมากขึ้น
เงินบาทแข็งค่าหนักสุดรอบ 7 ปี จากความหวังเห็นเม็ดเงินไหลเข้าประเทศ หลังไทยมีแนวโน้มจะผ่อนคลายภาคการท่องเที่ยว แต่นักลงทุนก็กำลังจับตาคำเตือนจากสหรัฐฯ ที่อ้างถึงธปท. พยายามที่จะใช้มาตรการแทรกแซงเงินบาท
· ค่าเงินเยนยังแข็งค่าขานรับการขยายแพ็คเกจกระตุ้นเงินทุนของบีโอเจ
รายงานจาก FXStreet ระบุว่า ค่าเงินเยนทำแข็งค่ามากสุดแตะ 103.42 เยน/ดอลลาร์ ขานรับบีโอเจที่ตัดสินใจขยายกำหนดเส้นตาย 21 มี.ค.นี้ สำหรับแพ็คเกจมาตรการผ่อนคลายงบประมาณบริษัทออกไปอีก 6 เดือน
สรุปประชุมบีโอเจ:
- บีโอเจตัดสินใจตรึงดอกเบี้ยที่ระดับ -0.1% และยังคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีแถว 0%
- บีโอเจ มองว่า ยังไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงกรอบการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตร
- บีโอเจจะพิจารณาขยายโครงการช่วยเหลือทางการเงินหากจำเป็น (ขึ้นอยู่กับผลกระทบของการระบาดของ Covid-19)
- เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีการปรับตัวสูงขึ้น และธนาคารกลางคาดว่าเศรษบกิจจะสามารถฟื้นตัวได้ปานกลาง
- ภาพรวมการตัดสินใจดำเนินนโยบายของบีโอเจ จะขึ้นอยู่กับคาดการณ์ต่างๆ อาทิ ความล้มเหลวในการลดผลกระทบต่อค่าเงินเยน
ค่าเงินเยนแข็งค่ามากขึ้นจากระดับ 103.43 เยน/ดอลลาร์ ลงมาที่ 103.05 เยน/ดอลลาร์ก่อนการตัดสินใจของบีโอเจ ก่อนที่ดอลลาร์จะดีดกลับช่วงสั้นๆ และภาพทางเทคนิคเผชิญกับภาวะ Oversold แต่ภาพระยะยาวคาดว่ามีโอกาสเห็นเยนแข็งค่าได้ต่อ
· นักวิเคราะห์จาก RBC Capital Markets กล่าวว่า ค่าเงินเอเชียจะยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในปี 2021 จากแนวทางการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของภูมิภาคที่เป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญ
· อดีตเจ้าหน้าที่เจรจาการค้าของทีมบริหารทรัมป์ เผย ไบเดน เลือก "แคทเธอรีน ไท" ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่การค้าระดับสูง ที่อาจยิ่งสร้างความตึงเครียดกับจีนได้มากขึ้น
ซึ่งนางแคทเธอรีน ไท เป็นนักกฎหมายด้านการค้าที่ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของนายไบเดน ในการเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการค้า ในการรับตำแหน่งสำคัญในการดูแลจัดการการบังคับใช้กฎระเบียบการนำเข้าของประเทศสหรัฐฯ และการเจรจาทางการค้ากับจีนและประเทศอื่นๆ
อย่างไรก็ดี อดีตเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยด้านกฎหมายของบริษัท Akin Gump Starauss Hauer&Feld กล่าวว่า นางแคทเธอรีน ไท เป็นคนฉลาด ดังนั้น ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับหน่วยงาน สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) และถือเป็นการวางตำแหน่งการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง
· บริษัท Coca-Cola จะปรับลดคนงานทั่วโลก 2,200 ตำแหน่ง อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วจากวิกฤตไวรัส Covid-19
· CEO จาก Quill Inteligence แนะนำ เตรียมรับมือ “ความเสี่ยงที่แท้จริง” สำหรับภาวะถดถอย ในปี 2021
เศรษฐกิจอาจถดถอยอีกครั้งในปี 2021 เนื่องจากภาคธุรกิจรายย่อยที่ประสบภาวะล้มละลายเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง คนว่างงานที่เพิ่มมากขึ้นยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญ ขณะที่รายงานยอดค้าปลีกอ่อนแอ และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานมีการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ดังนั้น จึงมีการสรุปความเสี่ยงที่แท้จริงที่เป็นสาเหตุหลักทำให้สหรัฐฯอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย มีอยู่ 3 ปัจจัย
-แนวโน้มจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นในประเทศ
-การปิดหน่วยงานราชการของประเทศ ซึ่งส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจอย่างมาก
-ประชาชนลดการจับจ่ายในช่วงเทศกาล ที่มักซื้อสินค้าทั้งออนไลน์และหน้าร้าน
ทั้งนี้ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ระบุในสัปดาห์นี้ว่านโยบายการเงินจะยังคงผ่อนคลายต่อไปอีกหลายเดือนข้างหน้า
อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อมีโอกาสปรับขึ้นสูงกว่าเป้าหมาย 2% ที่เฟดกำหนดได้จากผลการเลือกตั้งผู้แทนวุฒิสภาในรัฐจอร์เจีย
· ยอดค้าปลีกของอังกฤษประจำเดือนพ.ย.ลดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากการประกาศมาตรการ Lockdown 4 สัปดาห์ในอังกฤษ ซึ่งปิดร้านค้าที่ขายสินค้าที่ไม่จำเป็นให้กับประชาชน
โดยยอดขายปลีกลดลง 3.8% ซึ่งลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่การ Lockdown ครั้งแรกในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาและเป็นไปตามการคาดการณ์ในแบบสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์จาก Reuters ขณะที่เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมาปรับตัวขึ้น 1.3%
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวว่า การเติบโตของยอดขายประจำปีลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ 2.4% จาก 5.8%
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ทางธนาคารแห่งอังกฤษประเมินว่าทำให้เศรษฐกิจหดตัว 11% ในช่วงปี 2020 ซึ่งเป็นการตกต่ำครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1709
· รัฐมนตรีอังกฤษ เผย มาตรการ Lockdown ใหม่ของอังกฤษอาจไม่มีการยกเว้นช่วงหลังเทศกาลคริสต์มาส
· รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการอังกฤษ ชี้ อังกฤษต้องการข้อตกลงการค้า Brexit แต่จะเดินร่วมกันได้หากอียูยอมเปลี่ยนแปลงท่าทีหลายๆประเด็น โดยระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่เหลือก่อนออกอย่างเป็นทางการจะพบว่าข้อแตกต่างหลักๆ 2 เรื่องใหญ่ ยังเป็นเรื่องของการประมง และการปกป้องผลประโยชน์มูลค่านับล้านล้านเหรียญด้านการค้าทั้งเรื่องของภาษีและโควต้า
นอกจากนี้ สถานการณ์ในเวลานี้จึงค่อนข้างน่ากังวล และทุกๆฝ่ายยังพยายามให้ได้มาซึ่งข้อตกลงการค้าเสรีกับทางอียู แต่เราก็ยังไม่สามารถที่จะตกลงร่วมกันได้
· นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส คาด ยังไม่มีโอกาสฟื้นคืนภาวะปกติช่วงหลังจบ Covid-19 ได้ก่อนก.ย. ปี 2021 (ช่วงฤดูใบไม้ร่วง)
· รัสเซียถูกแบนห้าใช้เอ่ยชื่อ-ธงชาติ การแข่งขันโอลิมปิกที่จะถูกจัดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า
รายงานจาก CNBC ระบุว่า ทางศาลอนุญาโตตุลาการกีฬา (Court of Arbitration for Sport หรือ CAS) มีคำสั่งห้ามรัสเซียในการใช้ชื่อ, และใช้ธงกิจกรรมแข่งกีฬาโอลิมปิกที่จะถูกจัดขึ้นในกรุงโตเกียวปี 2022 รวมไปถึงกีฬาWinter Games ปี 2022 ที่ถูกจัดขึ้นที่ประเทศจีน รวมทั้งการแข่งขันชิงแชมป์โลกต่างๆ อาทิ World Cup ในประเทศการ์ตา
จากกรณีที่คณะกรรมาธิการโอลิปิก พบการปลอมแปลงข้อมูลว่าเป็น "การบิดเบือน" และ "มีการดูถูกการเคลื่อนไหวทางด้านการกีฬา"
นอกจากนี้ รัสเซียยังมีกำหนดการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล และกีฬายิงปืนชิงแชมป์โลกในปี 2022 ซึ่งต้องจับตาดูประเด็นนี้เช่นกัน เนื่องจากประธานสหพันธ์ยิงปืนมีความสนิทสนมกับนายปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียสูง
· จีนเรียกร้องสหรัฐฯยุติการขึ้นบัญชีดำบริษัทต่างๆ โดยปราศจากการพิสูจน์ข้อเท็จจริงของบริษัทต่างๆในจีน หลังจากสำนักข่าว Reuters รายงานว่า สหรัฐฯมีแผนจะเพิ่มรายชื่อบริษัทจีนอีก 12 แห่งเข้าสู่บัญชีดำด้านการค้า
นอกจากนี้ โฆษกรัฐมนตรีของจีน กล่าวว่า จีนมีการพยายามอย่างต่อเนื่องในการหามาตรการที่จำเป็นเพื่อรับรองว่าบริษัทจีนมีการดำเนินการอย่างถูกกฎหมายและในเรื่องของผลประโยชน์
· โพลล์สำรวจจาก Reuters แสดงให้เห็นว่า ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นประจำเดือนพ.ย.มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ที่ระดับ 1.7% จากปีก่อนหน้า หลังจากที่เดือนต.ค.อยู่ที่ระดับ 6.4% เนื่องจากไวรัสโคโรนาส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายของผู้บริโภค
· ออสเตรเลียประกาศปิดพรมแดนจำกัดการระบาด หลังพบยอดติดเชื้อจากบริเวณชายหาดของซิดนีย์เพิ่มมากขึ้น
· น้ำมันปรับลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน เนื่องจากความกังวลต่อ COVID-19 ที่พุ่งสูงขึ้น
ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงในวันนี้ แต่ยังคงอยู่ในช่วงแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน เนื่องจากกรณีผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลต่อความต้องการเชื้อเพลิง และข้อตกลงกระตุ้นเศรษฐกิจแพ็คเกจ Covid-19 วงเงิน 9 แสนล้านเหรียญ
น้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 17 เซนต์ หรือ 0.4% ที่ 48.19 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมับดิบ Brent ปรับลดลง 26 เซนต์ หรือ 0.5% ที่ระดับ 51.24 เหรียญ/บาร์เรล
มีรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกมากกว่า 73.65 ล้านคนและเสียชีวิต 1,654,920 คน
โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็วในกรณีนี้นำไปสู่มาตรการที่เข้มงวดในการเดินทาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความต้องการเชื้อเพลิงในระยะสั้นรวมทั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาด