· ดอลลาร์แข็งค่าจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในอังกฤษ
ดอลลาร์แข็งค่าแต่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับสูงสุดตั้งแต่วันจันทร์ ท่ามกลางเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในอังกฤษที่ส่งผลให้เกิดความผันผวนในช่วงสัปดาห์ซื้อขายที่เบาบางช่วงก่อนเทศกาล
เงินปอนด์ และนิวซีแลนด์อ่อนค่าลงกว่า 0.5% ท่ามกลางการซื้อขายที่เป็นไปอย่างระมัดระวังในตลาดเอเชีย ด้านออสเตรเลียดอลลาร์อ่อนค่า 0.4% และยูโรร่วง 0.2% มาที่ 1.2228 ดอลลาร์/ยูโร
ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าแตะ 1.3308 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังจากวานนี้อ่อนค่าลงหนักกว่า 2.5% หลังมีข่าวสายพันธุ์ใหม่ ที่ส่งผลให้ลดการเดินทางที่เชื่อมต่อกับอังกฤษและเจรจา Brexit ที่ชะงักงัน
สภาพคล่องในตลาดที่อยู่ระดับต่ำ ท่ามกลางเทรดเดอร์ที่ลดสถานะส่งท้ายปี และทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ประกอบกับคำสั่ง Stop Loss ที่กดดันนักลงทุนในการก้าวออกจากสถานะ
รายงาน Bloomberg ยังย้ำว่าความคืบหน้าของ Brexit และคองเกรสสหรัฐฯดูจะหนุนให้ เกิดแรงซื้อคืนค่าเงินสกุลอื่นๆ จึงมีโอกาสเห็นดอลลาร์อ่อนค่าอีกครั้ง
ยูโรยืนเหนือต่ำสุดวันจันทร์บริเวณ 1.2130 ดอลลาร์/ยูโร
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ กล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้ว่าวัคซีนสามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ แต่หัวหน้าที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ระบุว่า การใช้มาตรการคุมเข้มที่เข้มงวดมากขึ้นดูจะช่วยควบคุมสถานการณ์ด้านสาธารณะได้
อังกฤษเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหาร เนื่องจากหลายๆประเทศทั่วโลกมีการปิดพรมแดนระหว่างประเทศ เพื่อจำกัดการระบาดของไวรัสสายพันธ์ใหม่
ปริมาณการซื้อขายในตลาดค่อนข้างเบาบาง ตอกย้ำถึงความเสี่ยงที่จะเห็นการเข้า Short ในค่าเงินดอลลาร์ จากมุมมองการระบาดของยอดติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น และอาจมีผลต่อสินค้าโภคภัณฑ์ แต่เอื้อประโยชน์ต่อการส่งออก และค่าเงินที่แพงกว่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์
มูลค่าโดยรวมของดอลลาร์ค่อยๆผ่อนคลายลง จากข้อมูลส่วนใหญ่ แต่ก็ยังคงใกล้กับระดับสูงสุดที่ทำไว้ในเดือนส.ค.
ภาพขาลงของดอลลาร์ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติดต่อกันและมีการปรับอ่อนค่ามาแล้วกว่า 12.5% เมื่อวัดจากสูงสุดที่ทำไว้ในเดือนมี.ค. มาทำต่ำสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.2% ที่ 90.259 จุด โดยวานนี้ทำ High ที่ 90.978 จุด
และเพิ่มกว่า 0.6% ที่ทำต่ำสุดรอบ 2 ปีครึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วบริเวณ 89.723 จุดในสัปดาห์ที่แล้ว
Bank of America กล่าวว่า ระยะกลาง แนวโน้มดอลลาร์ยังเหมาะแก่การทำสถานะ Short รวมถึงการ Short ในผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ควบคู่กับการเปิด Long ในสินค้าโภคภัณฑ์ โดยจะเห็นได้จากสภาวะที่ดอลลาร์ร่วงลงหลุด 90 จุดลงมา และยิ่งตอกย้ำภาพขาลงในปี แต่การขึ้นครั้งใหญ่ ก็มาจากการที่ออสเตรเลียดอลลาร์, สวิสฟรังก์ และค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงมา
ค่าเงินหยวนแข็งค่ามาเกือบ 10% เมื่อเทียบดอลลาร์ตั้งแต่ที่ทำอ่อนค่าไว้มากสุดเดือนมี.ค. ภาพรวมคาดว่าจะทรงตัว โดยล่าสุดอ่อนค่ามาที่ 6.5433 หยวน/ดอลลาร์
· วุฒิสภาสหรัฐฯผ่านร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจช่วง Covid-19 วงเงิน 8.92 แสนล้านเหรียญ - ยื่นส่งมอบให้ "ทรัมป์" ลงนาม
สภาคองเกรสโหวตผ่านร่างแพ็คเกจ Covid-19 ด้วยวงเงินเกือบ 9 แสนล้านเหรียญ - งบประมาณรัฐบาล 1.4 ล้านล้านเหรียญถึง 30 ก.ย.
สมาชิกสภาคองเกรสโหตผ่านด้วยคะแนน 359 ต่อ 53
วุฒิสภาผ่านด้วย 92 ต่อ 6
ทั้งนี้ ในการผลักดันแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจจะเห็นได้ว่าสภาคองเกรสก็มีการดันร่างงบของภาครัฐร่วมด้วยสำหรับการเป็นกฎหมายเพื่อบังคับใช้ระยะยาวโดยให้นายทรัมป์ ลงนามบังคับใช้
· รัฐแคลิฟอร์เนียพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์กว่า 5 แสนรายในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ยอดผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเกือบ 100,000 รายในเดือนหน้า
นายเกวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ระบุหลังได้รับทราบตัวเลขคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยดังกล่าวา รัฐแคลิฟอร์เนียอาจมีการขยายเวลาการใช้คำสั่งให้ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่แต่ในบ้านในช่วงสัปดาห์หน้า
· รัฐบาลสหรัฐฯกำลังพิจารณาออกกฎข้อบังคับให้ผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางมาจากอังกฤษต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาภายใน 72 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง
รายงานระบุว่า หน่วยงานด้านการรับมือกับไวรัสของทำเนียบขาวกำลังหารือกันเกี่ยวกับการออกกฎข้อบังคับให้ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากอังกฤษต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อนออกเดินทาง หลังจากที่มีรายงานพบการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในอังกฤษ ซึ่งได้ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกพากันประกาศระงับเที่ยวบินจากอังกฤษด้วยเช่นกัน
ทางด้านเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เปิดเผยว่า กฎข้อบังคับดังกล่าวต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐบาล และขณะนี้ทำเนียบขาวก็ยังไม่มีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในประเด็นนี้
· อังกฤษเผชิญการเก็บตัวจากมาตรการคุมเข้มพรมแดนจากทั่วโลกเพื่อจำกัดไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่
นานาประเทศทั่วโลกมีการปิดพรมที่เชื่อมต่อกับอังกฤษตั้งแต่เมื่อวานนี้ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับยอดติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และโอกาสการขาดแคลนอาหารที่เพิ่มมากขึ้นก่อนอังกฤษจะก้าวออกจากอียู
อินเดีย, ปากีสถาน, โปแลนด์, สเปน, สวิสเซอร์แลนด์, สวีเดน, รัสเซีย, จอร์แดน และฮ่องกง สั่งระงับเที่ยวบินจากอังกฤษ หลังจากที่นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เปิดเผยถึงการพบการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ภายในประเทศ
ซาอุดิอาระเบีย, คูเวต และโอมาน ประกาศปิดพรมแดนเป็นที่เรียบร้อย
หลายๆประเทศมีการสั่งห้ามการเดินทางจากอังกฤษตลอดสัปดาห์นี้ ประกอบด้วย ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, ออสเตรีย, ไอร์แลนด์, เบลเยียม และแคนาดา
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ ระบุว่า มีบางประเทศที่พบการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่บ้างแล้ว
ฝรั่งเศสสั่งปิดพรมแดนไม่ให้ผู้ที่เดินทางหรือรถบรรทุกที่มาจากเส้นทางจากอังกฤษ ถือเป็นการถูกตัดหนึ่งในเส้นทางกาค้าที่สำคัญที่สุดกับยุโรป
· อังกฤษ-ฝรั่งเศส จะกำหนดแผนการกลับมาเปิดพรมแดนระหว่างกัน ซึ่งมาตรการนี้อาจมีผลบังคับใช้ในวันพรุ่งนี้
· ข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมนีปรับตัวลงต่อเนื่อง 3 เดือน และคาดว่าจะมีแนวโน้มเช่นนี้ต่อในเดือน ม.ค. ปีหน้า จากมาตรการ Lockdown เพื่อจำกัดการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้เกิดคาดการณ์ด้านรายได้ลดลง รวมทั้งแนวโน้มที่จะประหยัดมากขึ้น
สถาบันวิจัย GfK กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากการสำรวจชาวเยอรมันราว 2,000 คนลดลงเหลือ -7.3 จุดจากเดิมที่ -6.8 ในเดือนก่อนหน้า
นับเป็นการอ่านที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.และดีกว่าการคาดการณ์ของสำนักข่าว Reuters ที่ -8.8
· นายกฯญี่ปุ่น มีเป้าหมายจะเข้าพบกับนายไบเดนเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อหารือถึงความมั่นคงถึงชาติพันธมิตร, การระบาดของไวรัสโคโรนาและภาวะโลกร้อน
· น้ำมันดิบฟื้นตัว ได้รับแรงหนุนจากคืบหน้าวัคซีน แต่แนวโน้มเชิงบวกดูจะลดลง
ตลาดน้ำมันปรับขึ้นเกือบ 40% ในระยะเวลาเกือบ 2 เดือน และมีการทำสูงสุดในรอบเกือบ 9 เดือน ท่ามกลางคืบหน้าวัคซีน Covid-19 ที่ส่งผลให้บรรดานักลงทุนคิดว่าจะสามารถยุติการระบาดได้
ราคาน้ำมันดิบเผชิญแรงเทขายทำกำไรจากยอดติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ในอังกฤษ ที่พบว่ามีอัตราการระบาดที่ค่อนข้างรวดเร็ว และสถานการณ์ในอังกฤษเข้าขั้นวิกฤต และการเตรียมวัคซีนไวรัสอาจเป็นไปได้อย่างล่าช้า จึงทำให้วัฎจักรการ Lockdown และการคุมเข้มด้านการเดินทางจะต้องมีอยู่ต่อไป และนี่เป็นปัจจัยกดดันอุปสงค์น้ำมันเป็นเวลาหลายเดือน
เทรดเดอร์และโบรกเกอร์ กล่าวว่า ทั้งหมดนี้ เปรียบเหมือนกระจกสะท้อนภาวการณ์เคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน โดยน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้นทำสูงสุดรอบ 9 เดือน ที่ 52.48 เหรียญ/บาร์เรล เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่ราคาปรับลงกว่า 4% ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปรับตัวมาแถว 49 เหรียญ/บาร์เรลก่อนที่จะย่อตัวลง
นักวิเคราะห์จากตลาดน้ำมันของ Rystad Energy กล่าวว่า แม้เทรดเดอร์จะมองว่าราคาน้ำมันมีเสถียรภาพ แต่ทั้งหมดก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เสมอไป ซึ่งราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นก็มีโอกาสที่จะปรับตัวตกลงมาได้
น้ำมันปรับลดลงเนื่องจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวต่ออุปสงค์น้ำมัน
· ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง โดยปรับลดลงต่อเนื่องจากเมื่อวานเนื่องจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดอยู่ในอังกฤษทำให้เกิดความกังวลต่อความต้องการใช้เชื้อเพลิง
เนื่องจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้อังกฤษประกาศ shut down และนำไปสู่ข้อจำกัดในการเดินทางและการขนส่งสินค้า
น้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 54 เซนต์ หรือ 1.1% ที่ระดับ 50.37 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 59 เซนต์ หรือ 1.2% ที่ระดับ 47.38 เหรียญ/บาร์เรล
โดยที่น้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิด ปรับลดลงเกือบ 3% จากเมื่อวาน โดยราคาฟื้นตัวขึ้นล่าสุดจากการเปิดตัววัคซีน COVID-19 ซึ่งเป็นเป็นปัจจัยสำคัญในการคลายข้อจำกัดของการเคลื่อนไหว