การระบาดของไวรัสโคโรนาได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก และเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะการฟื้นตัวได้อย่างเต็มรูปแบบจะเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่?
ความคืบหน้าของวัคซีน Covid-19 ดูจะช่วยจุดประกายความสดใสองแนวโน้มเศรษฐกิจ แต่นักเศรษฐศาสตร์บางราย ก็ระบุถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดการใช้วัคซีนได้ทั่วกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาที่อาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการกลับมาฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ได้เท่าก่อนช่วงเกิดการระบาดของไวรัส
นอกจากนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า หลายๆประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วก็ดูจะมีการเกิดการกลับมา Lockdown รอบใหม่โดยเฉพาะในแถบยุโรป จากการเพิ่มขึ้นของยอดติดเชื้อระบาดของไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นจึงอาจกดดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้
นักเศรษฐศาสตร์จาก Citi กล่าวว่า การค้นพบวัคซีนก็อาจจะไม่แล้วเสร็จจนถึงปี 2022 ได้ แต่การมีวัคซีนก็อาจช่วยให้เศรษฐกิจโลกปี 2021 สามารถฟื้นตัวได้ชัดเจนมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ดีกว่าปี 2020
การปรับตัวลดลงของกิจกรรมต่างๆ
การระบาดของไวรัสโคโรนาดูที่มีจุดเริ่มต้นจากจีน ดูจะทำให้หลนายๆประเทศมีการเลือกใช้มาตรการ Lockdown ในช่วงปี 2020 ซึ่งตอกย้ำถึง การปรับตัวลดลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ผลที่ตามมาคือ จีดีพีของแต่ละประเทศมีการปรับตัวลงทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในหลายๆประเทศเศรษฐกิจ
ขณะที่ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะหดตัว -4.4% ก่อนจะดีดกลับได้ที่ 5.2% ในปี 2021
ขณะเดียวกันในรายงานของ IMF เดือนต.ค. ระบุว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเริ่มฟื้นตัว แต่เตือนว่าการจะกลับสู่ช่วงก่อนการระบาดอาจใช้เวลานาน และยังมีความไม่แน่นอน
การจำกัดการเดินทางยังมีอยู่
หนึ่งในปัญหาจากการ Lockdown ทั่วโลก ส่วนหนึ่งคือการปิดพรมแดนที่มีผลต่อการระงับการเดินทางทั่วโลก
หน่วยงานท่องเที่ยวระดับโลกของทาง UN (UNWTO) เผยว่า นับตั้งแต่ 1 พ.ย. 2020 จะพบว่า มากกว่า 150 ประเทศและจังหวัดต่างๆมีการคลายมาตรการจำกัดการเดินทาง
แต่หลายๆพื้นที่ก็ยังมีการใช้มาตรการที่เข้มงวดอยู่บ้าง เพื่อจำกัดการเข้าประเทศ เช่น:
- อนุญาตการเข้าพรมแดนเพียงเฉพาะผู้มีสัญญาณ หรือกำหนดปลายทางที่แน่นอน
- เรียกร้องให้กลุ่มผู้เดินทางที่ต้องมีผลตรวจเชื้อ Covid-19 เป็นลบ ก่อนปล่อยตัวให้เข้าสู่ประเทศ
- เรียกร้องให้กลุ่มผู้เดินทางมีการกักกันตันเองก่อนได้รับอนุญาตเข้าสู่ประเทศ
คนว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น
การระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจและทำให้เกิดคนว่างงานเพิ่มขึ้นทั่วโลก
องค์การ OECD ระบุว่า บางประเทศได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ตั้งแต่ต้นที่กระทบกับตลาดแรงงาน ทำให้เกิดการปรับลดแรงงานครั้งใหญ่กว่า 10 ครั้ง เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตทางการเงินระดับโลก และภาพรวมส่งผลกระทบเชิงลบไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียงานหรือรายได้
ระดับหนี้รัฐบาลพุ่งสูงขึ้น
ระดับหนี้รัฐบาลต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อปกป้องแรงงานและสนับสนุนแรงงาน โดยมาตรการของรัฐบาลต่างๆทั่วโลกดูจะส่งผลให้ ณ เวลานี้ มีระดับหนี้ทั่วโลกรวมกันสูงกว่า 12 ล้านล้านเหรียญ (อ้างอิงจากรายงานของ IMF เดือนต.ค.)
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นผลักดันให้ระดับหนี้สาธารณะปรับตัวสูงขึ้นทำ All-Time High แต่รัฐบาลก็ไม่ควรถอนมาตรการสนับสนุนในเร็วๆนี้ เนื่องจากยังมีแรงงานอีกจำนวนมากที่ยังว่างงาน และภาคธุรกิจขนาดเล็กชะลอตัว และประชาชนอีกกว่า 80-90 ล้านคนกลับสู่ภาวะยากจนในปีนี้ อันเป็นผลจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
ธนาคารกลางเดินหน้าสนับสนุนเศรษฐกิจเพิ่ม
ธนาคารกลางต่างๆเองก็ไม่ต่างจากรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการใช้นโยบายปรับลดดอกเบี้ย ที่ส่วนใหญ่ต่างแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อสนับสนุนรัฐบาลในการจัดการกับระดับหนี้ที่เกิดขึ้น
ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด เป็นธนาคารกลางรายใหญ่ที่มีอิทธิพลและส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจทั่วโลก มีการหั่นดอกเบี้ยติดลบใกล้ระดับศูนย์ และยังไม่มีแนวโน้มจะปรับขึ้นดอกเบี้ยใดๆเพิ่มจนกว่าเงินเฟ้อจะปรับขึ้นเหนือเป้าหมาย 2%
ขณะที่ธนาคารกลางในประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเฟดและอีซีบี ต่างก็มีการเพิ่มการเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบการเงิน และธนาคารกลางในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ยังหาวิธีสนับสนุนเพิ่มเติมทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้าได้รับผลเชิงลบอย่างหนัก