หัวหน้านักวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์จาก BNP Paribas ระบุว่า ราคาทองคำมีการชะลอตัวหลังจากไม่สามารถยืนได้เหนือ 1,900 เหรียญก่อนปีใหม่ แต่ก็มีโอกาสพอที่จะเห็นทองคำขึ้นไปได้เหนือ 2,000 เหรียญ เฉลี่ยแตะ 2,010 เหรียญ ก่อนที่ตลาดจะลดความร้อนแรงลงในช่วงประมาณไตรมาสที่ 2 ของปี 2021
ทั้งนี้ ทองคำจะค่อยๆปรับขึ้น โดยเฉลี่ยที่ 1,945 เหรียญในปีหน้า
สำหรับปี 2022 BNP Paribas คาดทองคำจะมีราคาเฉลี่ยที่ 1,900 เหรียญโดยประมาณ
ทองคำระยะสั้นๆมีแนวโน้มเชิงบวกจาก
- การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆทั่วโลก
- การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลต่างๆทั่วโลก
โดยทั้งหมดนี้จะเป็น “ ปัจจัยที่กดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตร” และอาจเห็นอัตราผลตอบแทนดิ่งลงสู่แดนลบได้ ซึ่งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ติดลบ อาจเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากไม่น้อยกว่าช่วง 2 ไตรมาสจากนี้
แต่หลังจากนั้น สถานการณ์อาจเปลี่ยนไปเนื่องจาก “ประชาชนมีมุมมองทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง”
ทองคำจะยังเป็นสินทรัพย์ Safe-Haven ในช่วงครึ่งปีแรกที่ดูจะเริ่มค่อยๆชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 3/2021 อันเป็นผลจากการที่ “นักลงทุนมีแนวโน้มเชิงบวกมากขึ้น” จากคาดการณ์เรื่องทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจนสามารถฟื้นตัวได้จากความเสียหายที่ได้รับในปี 2020 อันเนื่องจากการระบาดของ Covid-19 ท่ามกลางช่วงก่อนปีใหม่หลายๆประเทศทั่วโลกเริ่มที่จะมีการกระจายวัคซีน ที่น่าจะกระจายได้เป็นวงกว้างมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2021
แนวโน้มที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อัตราผลตอบแทนอายุ 10 ปี” อาจปรับตัวสูงขึ้นได้ และนี่จะเป็นข่าวร้ายต่อทองคำ
ขณะที่ปี 2022 คาดความเสี่ยงจากการระบาดของ Covid-19 จะถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง และอาจทำให้ ความต้องการทองคำในฐานะ Safe-Haven ปรับตัวลดลงตาม จึงทำให้บรรดานักลงทุนกลับเข้าถือครองสินทรัพย์เสี่ยงมากยิ่งขึ้น
สำหรับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ พบว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาได้ส่งผลอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก ที่อาจทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวสูงขึ้นจากจำนวนเงินมหาศาลในการอัดฉีดของรัฐบาลและธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกที่มีแนวโน้มจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อก็ไม่อาจทำให้เศรษฐกิจเผชิญกับผลเสียได้
“แรงกดดันเงินเฟ้อ”, “อัตราผลตอบแทนที่อยู่ในภาวะปกติ”, “การฟื้นตัวมากขึ้นของเศรษฐกิจ” จะทำให้ “อัตราดอกเบี้ยแท้จริง” ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
แต่เงินเฟ้อที่ปรับขึ้นในปี 2021 ถือเป็นความเสี่ยงสำหรับทองคำ ที่อาจยังทำให้เกิดความต้องการลงทุนเพิ่มจากราคาที่เคยทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือนส.ค. ขณะที่กองทุนทองคำ ETFs ปรับขึ้นเป็นประวัติการณ์เช่นกัน และทั้งหมดนี้อาจส่งผลต่อตลาดในปี 2021 หากนักลงทุนเลือกจะเริ่มต้นปิดสถานะเพื่อทำกำไร
ผลที่ตามมาอาจเห็นแรงขายครั้งใหญ่ของทองคำ ETFs เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 2013 และอาจทำให้เราเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยการลดลงเหมือนในปีดังกล่าวได้
หนึ่งในปัจจัยที่จะหนุนตลาดทองคำ คือ “ดอลลาร์อ่อนค่า”
โดยเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่จะกดดันราคาให้ทองคำขึ้นหรือลง ซึ่งหากภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวและความเชื่อมั่นนักลงทุนมากขึ้นก็จะกดดันดอลลาร์ได้