• มุมมองเงินบาท vs เศรษฐกิจไทยปี 2564

    5 มกราคม 2564 | SET News
 




·         อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

เงินบาทแข็งค่า ท่ามกลาง Covid-19 แพร่ระบาดในประเทศเพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและกระจายออกไปในหลายจังหวัด คาดเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 29.86-30.00 บาท/ดอลลาร์  เคลื่อนไหวไปในทิศทางกับสกุลเงินในเอเชีย ขณะที่ดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่า

นอกจากนั้นการคาดการณ์ที่ว่ารัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำของนายโจ ไบเดน จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค. เป็นปัจจัยกดดันดอลลาร์ให้อ่อนค่าด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของนายไบเดน จะราบรื่นหรือไม่ นักลงทุนยังคงต้องจับตาการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภารอบสองในรัฐจอร์เจียในวันที่ 5 ม.ค. ซึ่งจะสามารถตัดสินได้ว่าพรรคเดโมแครตหรือพรรครีพับลิกันจะครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา ซึ่งหากพรรคเดโมแครตชนะการเลือกตั้ง ก็จะส่งผลให้พรรคเดโมแครตครองอำนาจเบ็ดเสร็จในทำเนียบขาว วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะเอื้อต่อการผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

- นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข เผยว่า ไทยจะได้รับวัคซีน Covid-19 ภายในเดือน ก.พ.-เม.ย. นี้จำนวน 2 ล้านโดสแรกจากจีน (ทยอยเป็น 2 แสนโดสภายในเดือน ก.พ. 8 แสนโดสภายในเดือน มี.ค. และ 1 แล้านโดสภายในเดือน เม.ย.) ส่วนที่เหลือตั้งเป้าซื้อจากวัคซีนที่ไทยจองกับแอสตราเซนเนกามีจำนวน 26 ล้านโดส และบริษัทอื่น ๆ จนครบ

โดยตั้งเป้าหมายว่า ประชากร 50% จะได้รับวัคซีนฟรีจากรัฐบาลภายในปีนี้

 

เศรษฐกิจ ปี64 ผันผวนหนัก วิกฤตเลิกจ้างลามไม่หยุด

ประธานสมาคมธนาคารไทย” ประเมินครึ่งปีแรกเจอศึกหนัก โควิดรอบใหม่ฉุดทุกอย่างลากยาว ลุ้นตัวช่วยวัคซีน

ทีเอ็มบี” ประเมินรัฐไม่ล็อกดาวน์สนิท จีดีพีโต 3.7% ส่งออก-บริโภค” ตัวหลักขับเคลื่อน ท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น การลงทุนต้องพึ่ง รายใหญ่-ต่างชาติ

กรุงศรีฯ” จับตามาตรการรัฐ หวั่น แรงงาน” เจอผลกระทบเลิกจ้างระลอกใหม่

 

·         อ้างอิงจากไทยรัฐ

- ศบค.เห็นชอบต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึงสิ้น ก.พ. คุมโควิด-19 หลังระบาดต่อเนื่อง โดยที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ มีมติเห็นชอบขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั่วราชอาณาจักรต่อไปอีก ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. - 28 ก.พ. 2564


Covid-19 ระลอกใหม่คือปัจจัยเสี่ยง บลจ.บัวหลวง หวังเศรษฐกิจไทยปี 64 ขยายตัว 3.8% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ยังไม่กลับไปสู่ระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ในปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนโควิด-19 แพร่ระบาด โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะใช้เวลาฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ได้ ในปี 2565-2566

สำหรับประเด็นสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ ได้แก่ ความเสี่ยงจากการที่โควิด-19 กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง ซึ่งอาจจะไปตอกย้ำผลกระทบด้านลบกับธุรกิจในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยว และการบิน

ทั้งยังอาจส่งผลต่อเนื่องไปยังการจ้างงานและการบริโภคในประเทศด้วย ส่วนอีกประเด็นที่ต้องจับตา คือ ความเสี่ยงด้านการเมืองภายในประเทศ ที่มีการประท้วงเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งอาจจะมีผลต่อเสถียรภาพของประเทศ กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้

 

·         อ้างอิงจาก Brand Inside

กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ เศรษฐกิจไทย ปี 64 ฟื้นตัวที่ 3.5-4.5% ช่วงครึ่งปีหลังการท่องเที่ยวดีขึ้น การส่งออกขยายตัวในกลุ่มสินค้าที่ได้ประโยชน์จากโควิด รัฐมีงบประมาณเพียงพอต่อการเยียวยา สัดส่วนหนี้สาธารณะยังไม่เกินกรอบ 60% ของ GDP คาดเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวกลับมาเท่าช่วงก่อนโควิดภายใน ปี

ทั้งนี้ ทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 64 นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์การว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวที่ 3.5-4.5% โดยเป็นผลมาจาก

1. การปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคและการลงทุนในประเทศ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังปี 63 และความสามารถในการควบคุมการระบาดในระยะแรกของรัฐบาล

2. การขยายตัวของการส่งออก ตามภาวะเศรษฐกิจโลกและการขยายตัวในกลุ่มสินค้าประเภทยา เวชภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ ถุงมือยาง และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์โควิดและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไป work from home

3. การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศในปีหน้า

 

·         อ้างอิงจากข่าวสด

- อดีต รมว.พลังงาน พยากรณ์เศรษฐกิจไทย ปี 64 "อ่วมและเสื่อมถอยหนัก!"

วันนี้ (3 ม.ค.) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ และอดีต รมว.พลังงาน กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจปี 2564 ระบุว่า การคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2564 น่าเป็นห่วงว่าเศรษฐกิจไทยจะยิ่งย่ำแย่เสื่อมถอยกว่าปีที่แล้วที่ว่าแย่แล้ว ทั้งนี้เพราะสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิดระลอกใหม่ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วมาถึงปีนี้ได้เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น รัฐบาลได้ประกาศล็อกดาวน์ในพื้นที่กรุงเทพและอีก 8 จังหวัด

และอาจจะต้องล็อกดาวน์เพิ่มขึ้นอีกมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และไม่แน่ใจว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ ถ้าหากยาวนานและหากไวรัสเกิดกลายพันธ์ุก็จะย่ิงสร้างความลำบากให้กับประชาชนมากขึ้น และอาจส่งผลกระทบที่คาดกันว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นได้บ้างในปีนี้ก็อาจจะไม่ฟื้นเลยก็เป็นได้

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้คาดกันว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจจะฟื้นตัวเป็นบวกได้บ้างประมาณ 3-3.5% ซึ่งก็ยังไม่ดีนัก เพราะยังฟื้นได้ประมาณครึ่งหนึ่งของที่เศรษฐกิจติดลบไปในปีที่แล้ว แต่ถึงกระนั้นความรู้สึกของประชาชนจะไม่รู้สึกว่าฟื้นเลย ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจได้ย่ำแย่มาเป็นเวลานานแล้ว แต่พอมาเจอการระบาดระลอกใหม่และทำท่าจะร้ายแรงและแพร่กระจายไปมากกว่าครั้งแรก

ผลกระทบจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจยิ่งย่ำแย่ ประชาชนที่แบกภาระทางเศรษฐกิจหนักอยู่แล้วทั้งภาระหนี้สินที่พอกพูนจนหนี้ครัวเรือนจะทะลุ 90% ของจีดีพีตามที่ได้เตือนไว้แล้ว รายได้ที่ลดลง เงินเก็บที่ร่อยหรอและกำลังจะหมด จะยิ่งส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถทนต่อภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ต่อไปได้

ปีนี้จึงคาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในระดับที่ต่ำมากหรืออาจจะเรียกได้ว่าเกือบไม่ฟื้นเลยก็ว่าได้ แต่สำหรับคนส่วนใหญ่อาจจะรู้สึกว่าติดลบก็เป็นได้ อีกทั้งยังไม่เห็นหนทางที่เศรษฐกิจไทยจะฟื้นได้เลยจากการบริหารของรัฐบาลในปัจจุบันที่ยังจมอยู่ในกรอบคิดเก่าๆแบบเดิมๆ

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com