• Credit Suisse - แนวโน้มการลงทุนปี 2021

    5 มกราคม 2564 | SET News
 

Credit Suisse - แนวโน้มการลงทุนปี 2021

 

หนึ่งในปัจจัยบดบังเศรษฐกิจโลกคือ "การระบาดของไวรัส Covid-19" ที่เป็นบทเรียนที่ท้าทายและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดการ Lockdown และสร้างความกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อครอบครัวและคนสำคัญ

 

วิกฤตครั้งนี้ได้ส่งผลต่อการสร้างประสบการณ์สำหรับนักลงทุนในการหาวิธีพลิกฟื้นเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างหนักนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะการที่ ตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างหนักตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมี.ค.  ก่อนจะฟื้นตัวได้จากแรงหนุนของภาครัฐและธนาคารกลางต่างๆ

 

ทั้งนี้ การระบาดยังคงลุกลามมาสู่ปี 2021 นี้ ท่ามกลางรัฐบาลต่างๆที่พยายามจะจัดการกับการระบาดของสายพันธุ์ใหม่ ประกอบกับความจำเป็นในการกระจายวัคซีนสู่ประชาชน ขณะที่ประชาชนและภาคธุรกิจมีการปรับตัวและเชื่อว่าการระบาดครั้งนี้จะนำไปสู่ "การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตการทำงาน และการศึกษา"

 

สำหรับ  เศรษฐกิจโลกอาจยังมี "ความเสี่ยง" ในการกลับสู่ภาวะปกติ ขณะที่แนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆก็มีความแตกต่างกันไป

 

ทิศทางเศรษฐกิจโลก

ปี 2020 ไม่เหมือนกับปีไหนๆที่เคยผ่านมา

การ Lockdown ทั่วโลกครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เคยเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาได้กระตุ้นให้เศรษฐกิจหดตัวมากสุดครั้งประวัติศาสตร์ แต่หลายๆประเทศก็ดูจะฟื้นตัวได้หลังจากรอบแรกเหมือนจะจบลง

 

เข้าสู่การระบาดรอบสองก็ดูจะทำให้เศรษฐกิจดิ่งกลับอีกครั้ง  ขณะที่  ปี 2021 ดูจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยปราศจากแรงกระตุ้นทางด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น หรืออัตราดอกเบี้ย ในขณะที่ระดับหนี้สินของรัฐบาลอยู่ในระดับที่สูงมาก

 

ตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นดูจะมีผลตอบแทนที่เป็นตัวดึงดูดนักลงทุนในปี 2021 โดยภาวะทางการเมืองถือเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนเรื่องของการใช้มาตรการเชิงผ่อนคลายทางการเงิน ที่ทั่วโลกไปในรูปแบบผ่อนคลายทางการเงินเช่นเดียวกัน และการสนับสนุนทางการเงินต่างๆ

 

ผลประกอบการที่ดิ่งลงเหวในปี 2020 อาจฟื้นตัวได้ในปีนี้ ที่อาจใกล้เคียงระดับเดียวกับปี 2019 ดังนั้น ตลาดหุ้นจึงเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่น่าสนใจในปีนี้

 

ค่าเงิน

Credit Suisse คาดว่า ค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าต่อในปี 2021 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแท้จริงสหรัฐฯที่อ่อนแอ คู่กับยอดขาดดุลทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น และการอัดฉีดเงินจำนวนมหาศาล

 

ขณะที่ "ยูโร" และ "เยน" จะได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มดังกล่าวของดอลลาร์

ทางด้าน "หยวน" ก็มีโอกาสแข็งค่าต่อ และสนับสนุนเม็ดเงินลงทุนได้

 

อสังหาริมทรัพย์

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับต่ำอาจเป็ฯตัวหนุนการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างแท้จริงในปี 2021 แม้ว่าจะมีความท้าทายจาก Covid-19  แต่การลงทุนในการเติบโตทางด้านโครงสร้างต่างๆภาคอุตสาหกรรม และอสังหาฯดูจะเติบโตได้ดี

 

Hedge Funds

คาดว่าบรรดา Hedge Funds จะมีผลประกอบการลดลง จากความผันผวนที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบการลงทุน IG ของพันธบัตรสหรัฐฯและอังกฤษ จึงเชื่อว่า Hedge Funds หรือ HFs จะมีการปรับสมดุลของพอร์ตการลงทุน "แต่ก็มีแนวโน้มจะฟื้นตัวได้ต่อในปี 2021"

 

สินค้าโภคภัณฑ์

สินค้าโภคภัณฑ์ค่อนข้างผันผวนในปี 2020

ทองคำทำ New All-Time Highs

ตลาดวัฎจักรดิ่งลงจากวิกฤตที่เกิดขึ้น แต่ก็มีการฟื้นตัวกลับได้บางส่วน

 

ดังนั้น ปี 2021 ปัจจัยต่างๆน่าจะเป็นตัวหนุนสินทรัพย์ในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ได้ด้วย

 

อุปสงค์น้ำมันกับอุปทานที่เพิ่มขึ้น

สิ่งที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนน้ำมันคืออุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับช่วงก่อนการเกิด Covid-19 แต่ทั้งหมดก็ดูจะยังไม่เกิดขึ้นในปี 2021

 

แต่ถ้าวิกฤต Covid-19 จบลง ก็อาจช่วยเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านต้นทุน และมีโอกาสช่วยลดอุปทานที่สูงกว่าอุปสงค์ได้

 



จับตาเงินเฟ้อ

ขณะที่เงินเฟ้อยังมีแรงกดดันทำให้อยู่ในทิศทางอ่อนค่า แต่ก็ดูจะไม่สร้างปัญหาใดๆใน "ระยะสั้น"  ท่ามกลางการหารือถึงแนวทางการใช้มาตรการต่างๆและระดับหนี้สินที่เพิ่มขึ้น ที่ดูจะมีผลต่อทิศทางเงินเฟ้อ

 

แต่เชื่อได้ว่า "ทองคำ" จะเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงได้เป็นอย่างดีเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ยิ่งหากธนาคารกลางเดินหน้าหนุนเงินเฟ้อด้วย ก็จะยิ่งไปได้ดีกว่าสินค้าในหมวดพลังงานและเกษตร

 

ความเสี่ยงที่ยังมีอยู่

ความเสี่ยงหลักต่อทิศทางเชิงบวกของสินค้าโภคภัณฑ์ อาจมาจากความอ่อนแอทางด้านการเติบโตมากกว่าที่คาดไว้ อันเนื่องจากการ LOCKDOWN ที่กระตุ้นให้เกิดสภาวะเชิงลบ

 

ขณะเดียวกันก็ต้องจับตาในเรื่องความรวดเร็วของวัคซีนว่าจะปรับกระบวนการได้อย่างสมดุลหรือไม่

ข้อพิพาทการการค้าและการขึ้นภาษีก็เป็นอีกตัวทีกดดันกิจกรรทางธุรกิจและอุปสงค์สินค้าโภคภัณฑ์ ดังที่เคยเกิดขึ้นและเห็นได้ชัดในปี 2019

 

ที่มา: Credit Suisse


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com