อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับขึ้นมาแล้วราว 0.2% นับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นปีมานี้ ( 1 basis point = 0.01% ) โดยทรงตัวแตะ 1.13% เมื่อวานนี้ เป็นสูงสุดตั้งแต่มี.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่มุมมองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ได้สร้างปัญหาให้แก่อัตราผลตอบแทน แต่กำลังส่งสัญญาณถึง
- ความผันผวนที่เพิ่มมากขึ้นแก่ตลาดหุ้น
- แรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นต่อกลุ่มบริษัท FANG (Facebook, Amazon, Netflix และ Google) และบริษัทอื่นๆที่เป็นตัวหนุนตลาดให้ปรับตัวสูงขึ้นปีที่แล้ว อาทิ มูลค่า และบริษัทในกลุ่มวัฏจักรที่ขานรับข่าววัคซีนที่จะเป็นปัจจัยนำเศรษฐกิจฟื้นตัว
-----------------------------
นักกลยุทธ์ส่วนใหญ่ ไม่คิดว่าระดับอัตราผลตอบแทนปัจจุบันจะระงับการขึ้นของตลาดหุ้น แต่กลับมองว่า “การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด” อาจกดดันนักลงทุนในตลาดหุ้นมากกว่า
หัวหน้าที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจจาก Allianz กล่าวว่า การปรับขึ้นทดสอบแนวต้าน และแรงสนับสนุนในทางเทคนิคยังแกร่ง แต่หากพิจารณาดีๆจะเห็นได้ว่านี่คือสัญญาณเตือนถึงการออกจากตลาดสินทรัพย์ถาวร
ทั้งนี้ ถึงอัตราผลตอบแทนระยะยาวทั้ง 10 ปี และ 30 ปีจะปรับตัวขึ้น แต่ผลตอบระยะสั้นอายุ 2 ปี กลับไม่ได้ปรับขึ้นตามและยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งผลตอบแทนระยะสั้นนี้เป็นตัวตอกย้ำเรื่องดอกเบี้ยเฟดที่อยู่ใกล้ระดับศูนย์ แต่ผลตอบแทนระยะยาวได้รับอิทธิพลจาก QE และเงินกู้ต่างๆ
แต่การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในเวลานี้อาจเป็นเหตุผลที่ไม่ถูกต้องนัก เนื่องด้วยไม่ได้เป็นผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เป็นเพราะปัจจัยหลายอย่างทั้งจากกลุ่มผู้ซื้อที่มีความกังวลและไม่แน่ใจเกี่ยวกับเรื่องเงินเฟ้อ มากกว่าการปรับขึ้นของเงินเฟ้อ
อย่างไรก็ดี ภาพรวมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ยืนได้เหนือระดับสำคัญทางจิตวิทยา 1% ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว เกิดขึ้นจากการที่ผู้แทนสมาชิกพรรคเดโมแครตทั้ง 2 ราย เอาชนะการเลือกตั้งส.ว.ในรัฐจอร์เจียได้ทั้งคู่ ทำให้มีเสียงในการควบคุมสภาสูงมากขึ้น และทำให้เกิดแรงเทขายเข้ามามากขึ้นในตลาดพันธบัตร
ขณะเดียวกันกลุ่มนักลงทุนก็คาดหวังว่า การมาของนายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่อาจสามารถผลักดันแผนค่าใช้จ่ายนับล้านล้านเหรียญของเขาได้
“การกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น” คือการ “เพิ่มหนี้สิน” และการออกพันธบัตรที่มากขึ้นเพื่อใช้จ่ายค่าตอบแทนที่เพิ่มสูงขึ้น
*** อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมักตรงกันข้ามกับราคาพันธบัตร ***
ที่มา: CNBC