ทองลงจากดอลลาร์แข็งค่า - พันธบัตรสหรัฐฯขึ้นขานรับความหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ
· ราคาทองคำปิดปรับตัวลงโดยวานนี้ลงไปทำต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ในช่วงต้นตลาด โดยตลาดได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ที่ปรับขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ได้รับอานิสงส์จากความหวังจะเห็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.1% ที่ระดับ 1,846.61 เหรียญ หลังทำต่ำสุดตั้งแต่ 2 ธ.ค. ที่ 1,816.53 เหรียญโดยประมาณ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนก.พ. ปิด +0.8% ที่ 1,850.80 เหรียญ
· กองทุนทองคำ SPDR เทขายทองคำออก 0.4 ตัน ปัจจุบันถือครองทองคำที่ 1,181.71 ตัน
· กรรมการผู้จัดการจาก High Ridge Futures กล่าวว่า ตลาดรอการสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของนายโจ ไบเดน อย่างเป็นทางการ เพื่อเห็นการผลักดันนโยบายของพรรคเดโมแครตได้มากขึ้น ที่จะเป็นตัวชี้นำเรื่องอัตราดอกเบี้ย, สภาพคล่อง และการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ จึงเข้ากดดันทองคำระยะสั้น
· นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Kitco มองว่า หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงปรับขึ้นก็จะยิ่งทำให้เกิดความต่างมากขึ้น โดยเฉพาะค่าเงินดอลลาร์ที่ดูจะปรับแข็งค่าอย่างแข็งแกร่ง แม้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับใหม่จะถูกคาดว่าเกิดขึ้นนับล้านล้านเหรียญ
· นายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า จะทำการเผยแผนค่าใช้จ่ายแพ็คเกจ Covid-19 นับล้านล้านเหรียญ
· ราคาซิลเวอร์ปิด -1% ที่ 25.12 เหรียญ หลังจากที่ช่วงต้นตลาดทำต่ำสุดรอบ 1 เดือนบริเวณ 24.30 เหรียญ
· นักวิเคราะห์จาก Julius Baer กล่าวว่า ซิลเวอร์ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับราคาทองคำ
· ราคาแพลทินัมปิด -3.1% ที่ 1,031.70 เหรียญ ขณะที่ราคาพลาเดียมปิด -0.5% ที่ 2,358.75 เหรียญ
· เม็ดเงินจากตลาด Cryptocurrency ดิ่ง หลังจากที่มีรายงานเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในเดือนธ.ค. โดยสัปดาห์แรกของเดือนม.ค. มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าตลาดเพียง 29 ล้านเหรียญ ลดลงจากสัปดาห์ก่อนคริสต์มาสที่อยู่ที่ 1.09 พันล้านเหรียญ ที่เป็นสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ด้าน Bitcoin วานนี้ร่วงลงกว่า 19% ปรับตัวลงรายวันมากสุดนับตั้งแต่มี.ค. หลังจากที่ขึ้นไปทำ 42,000 เหรียญในสัปดาห์ที่แล้ว
· ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกทะลุ 91.27 ล้านราย มีการติดเชื้อรายวันทั่วโลกรวม 549,618ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตทั่วโลกรวามสะสมที่ 1.95 ล้านราย
ยอดติดเชื้อสหรัฐฯพุ่งแตะ 23.11 ล้านราย มียอดติดเชื้อรายวันอยู่ที่ 188,966 ราย ยอดเสียชีวิตสะสมในประเทศ 385,088 ราย
ยอดติดเชื้อในแถบเอเชียก็ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นำโดยญี่ปุ่นที่มียอดติดเชื้อรายวันเกือบ 6,000 ราย รวมสะสม 286,752 ราย, ยอดติดเชื้อในจีนพบทำสูงสุดครั้งใหม่ 103 ราย รวมสะสม 87,536 ราย
· ล่าสุดมีรายงานว่า ญี่ปุ่นมีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโรนาสายพันธุ์ใหม่
· ไทยพบผู้ติดเชื้อ 'Covid-19' เพิ่ม 249 ราย ติดเชื้อในประเทศ 224 ราย ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยสะสม 10,547 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม
ยังคงพบผู้ป่วยใน 58 จังหวัด ยังไม่มีจังหวัดใหม่เข้ามาเพิ่ม โดยมี 19 จังหวัดที่ผ่านมาแล้ว 7 วัน ไม่พบผู้ป่วยเพิ่ม และอีก 19 จังหวัด ยังไม่พบผู้ป่วย ภาพรวมผู้ป่วยระลอกใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 63 - 10 ม.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อรวมสะสม 5,866 คน อันดับ 1 สมุทรสาคร 2. ชลบุรี 3. ระยอง 4. กรุงเทพมหานคร 5. สมุทรปราการ
· BioNTech ระบุว่า วัคซีน Covid-19 มีประสิทธิภาพช่วยต้านเชื้อไวรัส Covid-19 สายพันธ์ใหม่ คาดจะใช้เวลามากขึ้นก่อนเปิดเผยต่อสาธารณชน
ทั้งนี้ CEO ของ BioNTech แสดงความเชื่อมั่นเกี่วกับวัคซีนที่สามารถสร้างภูมิเพิ่มเพื่อป้องกันสายพันธุ์ใหม่จากอังกฤษและแอฟริกาใต้ แต่ก็ยังต้องรอการตอบรับสนองและผลเพิ่มเติม
· CDC เผย สหรัฐฯฉีดวัคซีนให้ประชาชนในประเทศได้แล้วราว 9 ล้านราย
· ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า ชี้ ความเป็นไปได้ในการขึ้นดอกเบี้ย โดยเร็วสุดอาจเกิดขึ้นช่วงครึ่งหลังของปีหน้า ซึ่งอาจขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หากว่าเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่เราคาดหวังไว้จากที่ได้รับความเสียหายจาก Covid-19
แต่ภาพรวมปี 2021 ยังไม่คิดว่าจะเห็นอะไรคืบหน้ามากขึ้น ซึ่งอาจต้องรอจนถึงปี 2022 โดยคาดว่าอาจเป็นช่วงครึ่งหลังของปี 2022 หรือช่วงต้น 2023 ที่เราจะปรับนโยบายดอกเบี้ยได้
· ประธานเฟดสาขาดัลลัส หวังเฟดจะเริ่มลด QE ได้ในปีนี้ หากมีการกระจายวัคซีนได้ทั่วประเทศและชุบเศรษฐกิจให้กลับมาแข็งแกร่ง จึงจะทำให้เฟดเริ่มลดการใช้นโยบายสนับสนุนทางการเงิน
· ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ ชี้ เขาให้ความสนใจกับแรงงานมากกว่าเรื่องเงินเฟ้อ และกังวลว่าตลาดแรงงานอาจไม่แข็งแกร่งพอที่จะผลักดันให้เงินเฟ้อปรับขึ้นได้ เนื่องจากการระบาดของไวรัส การกระจายวัคซีน และเรื่องนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ผ่านมาและในอนาคตที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
· สหรัฐฯจ่อขึ้นภาษีใหม่สำหรับไวน์ และชิ้นส่วนเครื่องบินของฝรั่งเศสและเยอรมนี โดยจะเริ่มต้นเก็บภาษีใหม่เพิ่มในวันนี้ หลังจากที่ล้มเหลวในการแก้ไขข้อพิพาทนานกว่า 16 ปีกับทางอียู โดยสหรัฐฯจะเก็บภาษีชิ้นส่วนเครื่องบินเพิ่ม 15% และสินค้าอื่นๆพวกไวน์จะเก็บเพิ่ม 25%
อย่างไรก็ดี อียูกำลังรอให้เกิดการรับตำแหน่งใหม่ของนายโจ ไบเดน เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพิ่มเติม ขณะที่ทีมบริหารนายไบเดนยังไม่มีใครให้ถ้อยแถลงเรื่องภาษีดังกล่าว
· รีพับลิกันเผชิญแรงกดดันเพิ่มหลังบริษัทต่างๆลดการสนับสนุนจากเหตุจลาจลในรัฐสภาที่เกิดขึ้น เพื่อค้านชัยชนะไบเดน
· ศาลสูงสุดสหรัฐฯปิดรับคำร้องที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทผลเลือกตั้งจากนายทรัมป์และพันธมิตร ที่พยายามกล่าวหาว่าถูกโกงการเลือกตั้ง
· นายทรัมป์อนุมัติฉุกเฉินประกาศพิธีสาบานตนรับตำแหน่งของนายไบเดนอย่างเป็นทางการ 20 ม.ค. นี้
· FBI ออกคำเตือนกลุ่มผู้ประท้วงในการพกอาวุธสำหรับพิธีสาบานตนของนายไบเดนที่จะมีผลในทางกฎหมาย
· อังกฤษออกกฎหมายเข้มงวดขึ้นเรื่องการนำเข้าตอบโต้จีนเรื่องสิทธิมนุษยชน
· นักบริหารการเงิน มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 30.00-30.30 บาท/ดอลลาร์ และระบุว่าเงินบาทช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาอ่อนค่ากว่าสกุลเงินเอเชียเนื่องจากมีความกังวลเรื่องภาพรวมเศรษฐกิจและการระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศ ขณะเดียวกันก็มีแรงขายบอนด์กดดันเพิ่มเติม แม้ช่วงหลังจะมีแรงซื้อหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติบ้างแต่ก็ไม่ได้ทำให้เงินบาทแข็งค่า ดังนั้น การลงทุนในฝั่งเอเชียจึงไม่น่าสนใจเท่าสหรัฐฯ และสัปดาห์นี้แนะจับตาทิศทางของตลาดหุ้นเป็นหลัก คาดว่าจะเงินทุนเริ่มเคลื่อนกลับมาในฝั่งเอเชียก็ต่อเมื่อหุ้นสหรัฐฯพักฐานหรือตลาดกลับมาสนใจเรื่องการอ่อนค่าของดอลลาร์อีกครั้ง
โดยดัชนีสำคัญของตลาดหุ้น Wall Street ยังคงทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยมูลค่า 5.3 พันล้านบาท และขายพันธบัตร 2.5 พันล้านบาท
ตลาดให้ความสนใจกับ
- การแถลงแผนใช้จ่ายทางการคลังของว่าที่ประธานธิบดีโจ ไบเดน
- ความเห็นของประธานเฟด ในงานสัมมนาออนไลน์วันที่ 14 ม.ค. หลังรายงานการประชุมนโยบายครั้งล่าสุดของเฟดระบุว่ามีมติใกล้เคียงเอกฉันท์ในการคงโครงการซื้อพันธบัตรไว้ตามเดิมจนกว่าจะมีความคืบหน้าเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมาย โดยเฟดไม่ได้แสดงท่าทีสนับสนุนอย่างชัดเจนสำหรับการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวมากขึ้น แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะข้างหน้าหากจำเป็น
- สำหรับปัจจัยในประเทศ หลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 63 บ่งชี้ว่าการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งหากสถานการณ์รุนแรงจะกระทบต่อประมาณการเศรษฐกิจมาก ขณะที่มาตรการด้านการคลังมีบทบาทสำคัญในการช่วยพยุงเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่วนระดับหนี้สาธารณะที่ปรับสูงขึ้น กนง.เห็นว่าไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ กรุงศรีจึงคาดว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ในปีนี้ แต่การเริ่มต้นปีอย่างอึมครึมทำให้มีความกังวลมากขึ้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม